เมนู

จำนวนมาก ย่อมมาสู่ที่อุปัฏฐาก โดยรวมเป็นพวกเดียวกัน เรียนเอาอุเทศ
ปริปุจฉา สาธยายอยู่, อารามย่อมปรากฏดุจรุ่งเรืองเป็นอันเดียวกัน, แต่บัดนี้
โดยล่วงไปเพียงกึ่งเดือน ภิกษุสงฆ์ดูเหมือนน้อยไป คือเป็นประหนึ่งว่าเบาบาง
เล็กน้อย ร่อยหรอ โหรงเหรงไป มีเหตุอะไรหรือ ? พวกภิกษุหลีกไปในทิศ
ทั้งหลายหรือ ?

[พระอานนท์ทูลให้ตรัสบอกกรรมฐานอย่างอื่นแก่พวกภิกษุ]


ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่กำหนดเหตุที่ภิกษุเหล่านั้นถึง
มรณภาพไป เพราะผลแห่งกรรม แต่มากำหนดเพราะความหมั่นประกอบใน
อสุภกรรมฐานเป็นปัจจัย จึงได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า ตถา หิ ปน ภนฺเต
ภควา
ดังนี้ เมื่อจะทูลขอพระกรรมฐานอย่างอื่น เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายบรรลุ
อรหัตผล จึงได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า สาธุ ภนฺเต ภควา ดังนี้. คำนั้น
มีใจความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้า โปรดตรัสบอกการณ์อย่างอื่น ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์ดำรงอยู่
ในพระอรหัตผล. อธิบายว่า า1ริงอยู่. พระกรรมฐานที่เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่
พระนิพพานดุจท่าเป็นที่หยั่งลงสู่มหาสมุทร แม้เหล่าอื่นก็มีมาก ต่างโดย
ประเภท คือ อนุสติ 10 กสิณ 10 จตุธาตุววัฏฐาน 4 พรหมวิหาร 4
และอานาปานัสสติ. ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปลอบภิกษุทั้งหลายให้เบาใจ
ในพระกรรมฐานเหล่านั้น แล้วตรัสบอกพระกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเถิด.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะทรงทำเช่นนั้น เมื่อ
จะส่งพระเถระไปจึงทรงรับสั่งว่า เตนหิ อานนฺท ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เวสาลี อุปนิสฺสาย ความว่า ภิกษุ
มีประมาณเท่าใด ซึ่งอาศัยเมืองไพศาลีอยู่ โดยรอบในที่คาวุตหนึ่งบ้าง กึ่ง-
โยชน์บ้าง, เธอจงเผดียงภิกษุเหล่านั้น ทั้งหมดให้ประชุมกัน.

ข้อว่า สพฺเพ อุปฏฺฐานสาลายํ สนฺนิปาเตตฺวา ความว่า ไปสู่
ที่ ๆ ตนควรจะไปเองแล้ว ในที่อื่น ส่งภิกษุหนุ่มไปแทน จัดพวกภิกษุให้
ประชุมกันไม่ให้เหลือ ที่อุปัฏฐานศาลาโดยครู่เดียวเท่านั้น.
ในคำว่า ยสฺสิทานิ ภนฺเต ภควา กาลํ มญฺญติ นี้มีอธิบาย
ดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ภิกษุสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว, นี้เป็นกาล
เพื่อทรงทำธรรมกถา เพื่อประทานพระอนุศาสนีแก่ภิกษุทั้งหลาย, ขอพระองค์
ทรงทราบกาลแห่งกิจที่ควรทรงกระทำในบัดนี้เถิด.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกอานาปานัสสติแก่พวกภิกษุ]


ข้อว่า อถโข ภควา ฯ เป ฯ ภิกฺขู อามนฺเตสิ อยมฺปิ โข
ภิกฺขเว
มีความว่า ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นรับสั่งตักเตือนแล้ว เมื่อ
จะตรัสบอกปริยายอย่างอื่นจากอสุภกรรมฐานที่ตรัสบอกแล้วในก่อน เพื่อบรรลุ
พระอรหัตแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงตรัสว่า อานาปานสฺสติสมาธิ เป็นต้น. บัดนี้
เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบาลีนี้ เพื่อทรงแสดงพระกรรมฐาน ที่เป็น
คุณสงบและประณีตจริง ๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย; ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักทำการ
พรรณนาในพระบาลีนี้ ตามลำดับอรรถโยชนา ไม่ละทิ้งให้เสียไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยมฺปิ โข ภิกฺขเว เป็นต้นนี้มีโยชนา
ดังต่อไปนี้ก่อนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภภาวนาอย่างเดียวเท่านั้น ย่อม
เป็นไปเพื่อละกิเลส หามิได้, อีกอย่างหนึ่ง อานาปานัสสติสมาธิ แม้นี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข
และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับเพลัน. ก็ใน
คำว่า อานาปานสฺสติสมาธิ เป็นต้นนี้ มีอรรถวรรณนาดังต่อไปนี้.