เมนู

โอณิรักขวิภาค


[117] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขา
นำมาฝากไว้.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องทรัพย์นั้น มีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5
มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก.

สังวิธาวหารวิภาค


[118] ที่ชื่อว่า การชักชวนกันไปลัก ได้แก่ภิกษุหลายรูปชักชวน
กันแล้ว รูปหนึ่งลักทรัพย์มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป.

สังเกตกัมมวิภาค


[119] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย มีอธิบายว่า ภิกษุทำการนัดหมายว่า
ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามคำนัดหมายนั้น ในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น ในเวลา
กลางคืนหรือกลางวัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ๆ ทรัพย์นั้นได้ ตามคำ
นัดหมายนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ภิกษุผู้ลัก ๆ ทรัพย์นั้นได้ก่อน
หรือหลังคำนัดหมายนั้น ภิกษุผู้นัดหมายไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติ
ปาราชิก.

นิมิตตกัมมวิภาค


[120] ที่ชื่อว่า การทำนิมิต มีอธิบายว่า ภิกษุทำนิมิตว่า เราจัก
ขยิบตา จักยักคิ้ว หรือจักผงกศีรษะ ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามนิมิตนั้น
ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ๆ ทรัพย์นั้นได้ ตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติ
ปาราชิกทั้ง 2 รูป ภิกษุลัก ๆ ทรัพย์นั้นได้ก่อนหรือหลังนิมิตนั้น ภิกษุผู้ทำ
นิมิตไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติปาราชิก.