เมนู

จตุปทวิภาค


[114] ที่ชื่อว่า สัตว์ 4 เท้า ได้แก่ ช้าง ม้า อูฐ โค ลา
ปศุสัตว์.
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ 1 ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้ก้าวเท้าที่ 2 ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ 3 ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้ก้าวเท้าที่ 4 ต้องอาบัติปาราชิก.

พหุปทวภาค


[115] ที่ชื่อว่า สัตว์มีเท้ามาก ได้แก่สัตว์จำพวกแมลงป่อง ตะขาบ
บุ้งขน
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตว์มีเท้ามากนั้น ซึ่งมีราคา 5 มาสก หรือเกิน
กว่า 5 มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อน
จากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุคิดว่า จักเดินนำไป แล้วย่างเท้าก้าวไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทุก ๆ ก้าว ย่างเท้าก้าวหลังที่สุด ต้องอาบัติปาราชิก.

โอจรกวิภาค


[116] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้สั่ง มีอธิบายว่า ภิกษุสั่งกำหนดทรัพย์ว่า
ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งนั้น ลักทรัพย์นั้นมาได้
ต้องอาบัติปาราชิก ทั้ง 2 รูป.

โอณิรักขวิภาค


[117] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขา
นำมาฝากไว้.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องทรัพย์นั้น มีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5
มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก.

สังวิธาวหารวิภาค


[118] ที่ชื่อว่า การชักชวนกันไปลัก ได้แก่ภิกษุหลายรูปชักชวน
กันแล้ว รูปหนึ่งลักทรัพย์มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป.

สังเกตกัมมวิภาค


[119] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย มีอธิบายว่า ภิกษุทำการนัดหมายว่า
ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามคำนัดหมายนั้น ในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น ในเวลา
กลางคืนหรือกลางวัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ๆ ทรัพย์นั้นได้ ตามคำ
นัดหมายนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ภิกษุผู้ลัก ๆ ทรัพย์นั้นได้ก่อน
หรือหลังคำนัดหมายนั้น ภิกษุผู้นัดหมายไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติ
ปาราชิก.

นิมิตตกัมมวิภาค


[120] ที่ชื่อว่า การทำนิมิต มีอธิบายว่า ภิกษุทำนิมิตว่า เราจัก
ขยิบตา จักยักคิ้ว หรือจักผงกศีรษะ ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามนิมิตนั้น
ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ๆ ทรัพย์นั้นได้ ตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติ
ปาราชิกทั้ง 2 รูป ภิกษุลัก ๆ ทรัพย์นั้นได้ก่อนหรือหลังนิมิตนั้น ภิกษุผู้ทำ
นิมิตไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติปาราชิก.