เมนู

กถาปรารภเรื่องทั่วไป


ก็พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย กล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า การ
แจกจีวรอย่างเดียวเท่านั้น มาแล้วด้วยอำนาจการสับเปลี่ยนสลากในที่นี้, แต่
ควรนำความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยทั้ง 4 และการแจกมาแสดงไว้ด้วย. ก็แล ครั้น
กล่าวไว้อย่างนั้นแล้ว จึงกล่าวกถาปรารภจีวรที่เกิดขึ้น เริ่มต้นแต่เรื่องหมอ
ชีวกนี้ว่า พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับคู่ผ้าที่ทอในแคว้นสีพี
ของข้าพระองค์เถิด, และขอทรงอนุญาตคฤหบดีจีวร แก่ภิกษุสงฆ์ด้วยเถิด1
ดังนี้ โดยพิสดารในจีวรขันธกะ, กล่าวบิณฑบาตกถา เริ่มต้นแต่สูตรนี้ว่า
ก็โดยสมัยนั้นแล กรุงราชคฤห์มีภิกษาฝืดเคือง มนุษย์ทั้งหลายไม่อาจทำ
สังฆภัต นิมันตนภัต สลากภัต ปีกขิกภัต อุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต2 ดังนี้
โดยพิสดารในเสนาสนขันธกะ กล่าวอาคตเสนาสกถา เริ่มต้นแต่เรื่องภิกษุ
ฉัพพัคคีย์นี้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ ซ่อมแซมวิหารซึ่ง
ตั้งอยู่ปลายแดนหลังใดหลังหนึ่ง ด้วยหมายใจว่า พวกเราจักอยู่จำพรรษาใน
วิหารนี้ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ได้เห็นพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ กำลังซ่อมแซม
วิหารแล3 ดังนี้ โดยพิสดารในเสนาสนขันธกะนั่นเอง, และกล่าวกถาปรารภ
เภสัชมีเนยใสเป็นต้น ในที่สุดแห่งเสนาสนกถานั้น โดยพิสดาร. ส่วนข้าพเจ้า
จักกล่าวกถานั้นทั้งหมด ในอาคตสถานแห่งกถานั่น ๆ นั่นแล. เมื่อข้าพเจ้า
กล่าวอย่างนั้น เหตุเป็นอันข้าพเจ้ากล่าวไว้เสร็จแล้วในเบื้องต้นทีเดียว.
เรื่องเรือนไฟถัดจากเรื่องนี้ไป มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
//1. วิ. มหา. 5/191. 2. วิ. จุลฺล. 7/146. 3. วิ. จุลฺล. 7/124

ในวิฆาสวัตถุ 5 เรื่อง มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น
ให้อนุปสัมบันทำให้เป็นของควร แล้วฉัน. แต่เมื่อภิกษุจะถือเอาเนื้อซึ่งเป็น
เดน พึงถือเอาเนื้อที่สัตว์เหล่านั้นกินเหลือทิ้งแล้ว. ถ้าอาจจะให้สัตว์เหล่านั้น
ซึ่งกำลังกินอยู่ให้ทั้งไปแล้วถือเอา, แม้เนื้อที่เป็นเดนนั้น ก็ควร. แต่ไม่ควร
ถือเอา เพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองตน และเพื่อความเป็นผู้มีความเอ็นดูใน
สัตว์อื่น.
ในเรื่องแจกข้าวสุก ของควรเคี้ยว ขนม อ้อย และผลมะพลับ มี
วินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุอ้างบุกดลซึ่งไม่มีตัวว่า ท่านจงให้ส่วนแก่ภิกษุรูปอื่นอีก.
สองบทว่า อมูลกํ อคฺคเหสิ ความว่า เธอได้กล่าวมุสาวาท ถือ
เอาส่วนที่ไม่มีตัวบุคคลเป็นมูลอย่างเดียว. เธอหาได้ถือเอาส่วนนั้นด้วยไถยจิต
ไม่. เพราะเหตุนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัสถามว่า เธอมีจิตอย่างไร ?
ตรัสว่า เป็นปาจิตตีย์ จริงอยู่ เมื่อเธอกล่าวว่า ท่านจงให้ส่วนแก่ภิกษุอีกรูป
หนึ่ง วัตถุแห่งปาราชิก ย่อมไม่ปรากฏ และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่
ตรัสถามในฐานะเช่นนี้. แต่ถ้าคำนั้น จะพึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิกไซร้, พึง
ทราบว่า พึงเป็นทุกกฏเท่านั้น เหมือนเป็นทุกกฏ เพราะการตู่เอาสวน ฉะนั้น.
ความสังเขป เรื่องนี้ มีเท่านี้.
ส่วนความพิสดาร พึงทราบดังนี้;- ก็สิ่งใดเป็นของมีอยู่แห่งสงฆ์
เท่านั้น เมื่อสิ่งนั้น อันภิกษุซึ่งสงฆ์สมมติ หรือมิได้สมมติก็ตาม แจกอยู่,
เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านจงให้ส่วนแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง คืออ้างบุคคลที่ไม่มีตัว
อย่างนั้น ถือเอาด้วยการกล่าวเท็จอย่างเดียว เป็นปาจิตตีย์ด้วย เป็นภัณฑไทย
ด้วย. เมื่อภิกษุถือเอาด้วยไถยจิต ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ภิกษุรูปใด ไม่ได้อ้าง
บุคคล กล่าวว่า ท่านจงให้อีกส่วนหนึ่ง แล้วถือเอาก็ดี นับพรรษาโกงถือ

เอาก็ดี ภิกษุรูปนั้น พึงปรับตามราคาของ. ส่วนสิ่งใด เป็นของพวกคฤหัสถ์
ที่เขาแจกถวายสงฆ์ในเรือน หรือในอาคารของคฤหัสถ์เหล่านั้น ครั้นเมื่อสิ่ง
ของนั้น อันเจ้าของก็ดี ชนอื่นซึ่งเจ้าของวาน อย่างนี้ว่า ท่านจงถวายแก่
ภิกษุนี้ ก็ดี ถวายอยู่ แม้เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านจงให้อีกส่วนหนึ่ง แล้วถือ
เอาด้วยไถยจิต ไม่เป็นทั้งปาราชิก ไม่เป็นทั้งภัณฑไทย. แต่เป็นภัณฑไทย
แก่ภิกษุผู้ถือเอา ด้วยโกงพรรษา. เมื่อสิ่งของนั้น อันชนอื่นซึ่งเจ้าของมิได้
วาน อย่างนี้ว่า ท่านจงถวายแก่ภิกษุนี้ ถวายอยู่ เมื่อภิกษุอ้างบุคคลถือเอา
ตามนัยก่อนนั่นแล เป็นปาจิตตีย์ด้วย เป็นภัณฑไทยด้วย เมื่อภิกษุกล่าวว่า
ท่านจงให้อีกส่วนหนึ่ง แล้วถือเอาด้วยไถยจิตก็ดี ถือเอาด้วยนับพรรษาโกง
ก็ดี พึงปรับความราคาของ ก็วินิจฉัยนี้ใคร ๆ ก็อาจรู้ได้ในอรรถกถา ชื่อ
กุรุนที, แต่ในอรรถกถาอื่น ๆ รู้ได้ยาก ทั้งมีพิรุธด้วย.
สองบทว่า อมูลกํ อคฺคเหสิ ความว่า เมื่อพวกเจ้าของถวายภิกษุ
ถือเอาได้.
หลายบทว่า อนาปตฺติ ภิกฺขุ ปาราชิกสฺส ความว่า สิ่งของที่
พวกเจ้าของถวายแล้ว ภิกษุถือเอาได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้น ไม่เป็นอาบัติ.
หลายบทว่า อาปตฺติ สมฺปชานมุสาวาเท ปาจิตฺติยสฺส ความว่า
เพราะสัมปชานมุสาวาทที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงปรับเป็น
ปาจิตตีย์ ดุจในเรื่องข้าวยาคูที่ปรุงด้วยของ 3 อย่างข้างหน้า.
ส่วนในการถือเอา พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- อาหารมีข้าวสุกเป็นต้น
ของสงฆ์ อันภิกษุซึ่งสงฆ์สมมติ หรือชนทั้งหลายมีอารามิกะเป็นต้น ซึ่งสงฆ์
สั่งไว้ กำลังถวาย และอาหารมีข้าวสุกเป็นต้น เป็นของพวกคฤหัสถ์ อัน

เจ้าของหรือชนอื่น ซึ่งเจ้าของวาน กำลังถวาย เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านจงให้
ส่วนแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แล้วถือเอาเป็นภัณฑไทย. เมื่อภิกษุถือเอาอาหารมี
ข้าวสุกเป็นต้นที่ชนอื่นกำลังถวาย พึงปรับตามราคาสิ่งของ เมื่ออาหารมีข้าวสุก
เป็นต้นอันภิกษุซึ่งสงฆ์มิได้สมมติ หรือคนที่เจ้าของมิได้วาน ถวายอยู่ ภิกษุ
เมื่อกล่าวว่า ท่านจงให้อีกส่วนหนึ่ง แล้วถือเอาก็ดี นับพรรษาโกง ถือเอาก็ดี
พึงปรับตามราคาสิ่งของ ในขณะที่ยกส่วนนั้นขึ้นทีเดียว ดุจในปัตตจตุกกะ
ฉะนั้น. อาหารมีข้าวสุกเป็นต้น ที่เหล่าชนนอกนี้ถวายอยู่ เมื่อภิกษุถือเอา
ด้วยอาการอย่างนั้น เป็นภัณฑไทย. ส่วนสิ่งของ ๆ คฤหัสถ์ที่เจ้าของเขาวาน
ไว้ว่า ท่านจงถวายแก่ภิกษุนี้ ก็ดี เจ้าของเขาถวายเองก็ดี ก็เป็นอันถวาย
แล้ว ฉะนี้แล. ในอธิการว่าด้วยวัตถุมีข้าวสุกเป็นต้นนี้ มีสาระจากคำวินิจฉัย
ใน อรรถกถาทั้งปวงเพียงเท่านี้.
ในเรื่องทั้งหลายทีเรื่องร้านขายข้าวสุกเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- เรือน
สำหรับหุงข้าวสวยขาย ชื่อโอทนิยฆระ (คือร้านขายข้าวสุก). เรือนสำหรับ
แกงเนื้อขาย ชื่อสูนาฆระ* (คือร้านขายแกงเนื้อ). เรือนสำหรับเจียวทอด
ของขบเคี้ยวขาย ชื่อปูวฆระ (คือร้านขายขนม). คำที่เหลือในเรื่องร้านขาย
ข้าวสุกเป็นต้น มีปรากฏชัดแล้วในเรื่องบริขารนั่นแล
ในเรื่องตั่ง มีวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุรูปนั้น กำหนดหมายถุงไว้ แล้ว
จึงให้ตั่งเลื่อน ป ด้วยคิดว่า เราจัก ถือเอาถุง ซึ่งมาถึงที่นี้. เพราะเหตุนั้น
ในการเลื่อนตั่งไป อวหารจึงไม่มีแก่ภิกษุรูปนั้น แต่ท่านปรับเป็นปาราชิก
ในการให้เลือนไปแล้วถือเอา จากโอกาสที่กำหนดหมายไว้ ก็ภิกษุเมื่อนำไป
อย่างนั้น ถ้าไม่มีไถยจิตในตั่ง พระวินัยธรพึงให้ตีราคาถุง ปรับอาบัติ. ถ้ามี
แม้ในตัวตั่ง ควรให้ราคาทั้ง 2 อย่าง ปรับอาบัติ.
//* บาลีเดิมเป็น สูนฆรํ.

็ 3 เรื่อง มีเรื่องฟูกเป็นต้น ปรากฏชัดแล้วทีเดียว.
ใน 3 เรื่อง มีเรื่องการถือเอาด้วยวิสาสะเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ
เพราะการถือเอา, เมื่อพวกเจ้าของให้นำมาคืน เป็นภัณฑไทย ส่วนของภิกษุ
ผู้เข้าไปบิณฑบาต ภิกษุรูปที่ยังอยู่ภายในอุปจารสีมาเท่านั้นรับเอา จึงควร
แต่ถ้าพวกทายก เผดียงแม้แก่พวกภิกษุผู้อยู่ภายนอกอุปจารว่า พวกท่านรับ
เอาเถิด ขอรับ ภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จักฉัน ด้วยคำเผดียงอย่างนั้น แม้
พวกภิกษุผู้อยู่ภายในบ้านจะรับเอา ก็ควร. คำที่เหลือในเรื่องทั้ง 3 นี้ มีเนื้อ
ความตื้นทั้งนั้น.
ใน 7 เรื่อง มีเรื่องขโมยมะม่วงเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ไม่เป็น
อาบัติ เพราะถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา, เมื่อพวกเจ้าของให้นำมาคืน เป็น
ภัณฑไทย, เพราะบริโภคด้วยไถยจิต เป็นปาราชิก.
ในเรื่องทั้งหลาย มีเรื่องพวกขโมยลักมะม่วงเป็นต้นนั้น มีวินิจฉัย
ดังต่อไป:- ทั้งพวกเจ้าของก็มีความอาลัย, ทั้งพวกโจรก็มีความอาลัย,
เมื่อภิกษุฉัน ด้วยบังสุกุลสัญญา เป็นภัณฑไทย, เมื่อถือเอาด้วยไถยจิต เป็น
อวหารในขณะที่ยกขึ้นนั้นเอง, ภิกษุนั้น อันพระวินัยธร พึงให้ตีราคาสิ่งของ
ปรับอาบัติ. พวกเจ้าของยังมีความอาลัย แต่พวกโจรหมดความอาลัย ก็มีนัย
เหมือนกันนี้. พวกเจ้าของหมดความอาลัย พวกโจรยังมีความอาลัย ซ่อนไว้
ในที่รกชัฏ แห่งใดแห่งหนึ่งด้วยคิดว่า จักถือเอาอีก ดังนี้ แล้วไป มีนัยเหมือน
กันนี้. ทั้ง 2 ฝ่าย หมดความอาลัย, เมื่อภิกษุขบฉันด้วยบังสุกุลสัญญา ไม่
เป็นอาบัติ, เมื่อขบฉันด้วยไถยจิต เป็นทุกกฏ.
ส่วนในมะม่วงเป็นต้น ของสงฆ์ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ผลไม้มีมะม่วง
เป็นต้น ซึ่งเกิดอยู่ในสังฆาราม หรือที่เขานำมาถวายก็ตามที ซึ่งมีราคา 5

มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก เมื่อภิกษุลักไป เป็นปาราชิก. ในปัจจันต-
ชนบท เมื่อพวกชาวบ้านอพยพหนีไป เพราะอุปัทวะ คือโจร, พวกภิกษุ
ก็ละทิ้งวิหารไป ทั้งที่ยังมีความอุตสาหะอยู่นั่นเอง ด้วยคิดว่า เมื่อชนบทสงบ
ลงแล้ว พวกเราจักกลับมา. พวกภิกษุไปถึงวิหารเช่นนั้น คิดว่า ผลไม้
ทั้งหลายมีมะม่วงสุกเป็นต้น เป็นของที่เขาละทิ้งแล้ว จึงฉันด้วยบังสุกุลสัญญา
ไม่เป็นอาบัติ, เมื่อฉันด้วยไถยจิต เป็นอวหาร. ภิกษุรูปนั้น อันพระวินัยธร
พึงให้ตีราคาของ ปรับอาบัติ.
ส่วนในมหาปัจจรีและในสังเขปอรรถกถา ท่านกล่าวไว้โดยไม่แปลก
กันว่า เมื่อภิกษุฉันผลไม้ น้อยใหญ่ในวัดร้าง ด้วยไถยจิต ไม่เป็นปาราชิก
เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ผลไม้ทั้งหลายในวัดร้าง เป็นของ ๆ พวกภิกษุ
ที่มาแล้ว ๆ. ก็เหตุสักว่ามีความอุตสาหะเท่านั้น เป็นประมาณในผลไม้ที่เป็น
ของ ๆ คณะ และที่เป็นของจำเพาะบุคคล. แต่ถ้าภิกษุให้ผลมะม่วงสุกเป็นต้น
จากผลไม้ที่เป็นของคณะ หรือของบุคคลนั้น เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์
ตระกูล ย่อมต้องทุกกฏ เพราะกุลทูสกสิกขาบท ภิกษุเมื่อให้ด้วยไถยจิต
พึงปรับอาบัติตามราคา (สิ่งของ). แม้ในผลไม้ที่เป็นของสงฆ์ ก็มีนัยเหมือน
ก้นนี้. เมื่อภิกษุให้ผลมะม่วงสุกเป็นต้น ที่เขากำหนดไว้ เพื่อประโยชน์แก่
เสนาสนะ เพื่อต้องการแก่การสงเคราะห์ตระกูล เป็นทุกกฏ, เมื่อให้เพราะ
ความที่คนมีอิสระ เป็นถุลลัจจัย เมื่อให้ด้วยไถยจิต เป็นปาราชิก. ถ้าวัตถุ
แห่งปาราชิกยังไม้พอ, พึงปรับอาบัติตามราคา (สิ่งของ). เมื่อภิกษุนั่งฉันอยู่
ภายนอกอุปจารสีมา เพราะความที่คนมีอิสระ ก็เป็นสินใช้. ผลไม้ที่ภิกษุเคาะ
ระฆังประกาศเวลา แล้วขบฉันด้วยทำใน ใจว่า ของนี้ถึงแก่เรา ดังนี้ ก็เป็น
อันขบฉันดีแล้ว. ผลไม้ที่ภิกษุไม่เคาะระฆัง เป็นแต่ประกาศเวลาอย่างเดียว

แล้ว ฉันก็ดี เคาะระฆังอย่างเดียว แต่ไม่ประกาศเวลา ฉันก็ดี ไม่เคาะทั้ง
ระฆัง ไม่ประกาศทั้งเวลา ฉัน ก็ดี รู้ว่าไม่มีภิกษุเหล่าอื่นแล้ว ฉันด้วยคิดว่า
ผลไม้นี้ถึงแก่เรา ดังนี้ก็ดี เป็นอันฉันดีแล้วเหมือนกัน.
เรื่องสวนดอกไม้ 2 เรื่อง ปรากฏชัดแล้วทีเดียว.
ใน 3 เรื่องของภิกษุผู้พูดตามคำบอก มีวินิจฉัยดังนี้:-
สองบทว่า วุตฺโต วชฺเชมิ ความว่า ผมเป็นผู้อันท่านบอกแล้ว
จะบอกตามคำของท่าน.
หลายบทว่า อนาปตฺติ ภิกฺขุ ปาราชิกสฺส ความว่า ผ้าสาฎก
อันพวกเจ้าของถวายแล้ว จึงไม่เป็นอาบัติ.
หลายบทว่า น จ ภิกฺขเว วุตฺโต วชฺเชมีติ วตฺตพฺโพ ความว่า
ภิกษุรูปอื่น อันภิกษุอีกรูปหนึ่ง ไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผมเป็นผู้อันท่านบอก
แล้ว จะบอกตามคำของท่าน. ก็ภิกษุจะทำความกำหนดพูดว่า ผมจักถือเอา
ผ้าสาฎกอันนี้ ตามคำของท่าน ควรอยู่.
สองบทว่า วุตฺโต วชฺเชหิ ความว่า ท่านเป็นผู้อันผมบอกแล้ว
จงบอกตามคำของผม. คำที่เหลือออมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ภิกษุจะทำความ
กำหนดพูดใน 2 เรื่องแม้นี้ ก็ควร. จริงอยู่ ภิกษุย่อมเป็นผู้พ้นจากการข้อน
ขอด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
ในเรื่องซึ่งมีอยู่ท่ามกลาง แห่งเรื่องแก้วมณี 3 เรื่อง มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า นาหํ อกลฺลโก ความว่า ผมหาได้เป็นผู้อาพาธไม่
คำที่เหลือปรากฏชัดแล้วทีเดียว.
ในเรื่องสุกร 2 เรื่อง พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ชื่อว่า ไม่เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุรูปที่หนึ่ง เพราะค่าที่เธอเห็นว่า มันมีความหิวครอบงำ แล้วปล่อยไป

ด้วยความเป็นผู้มีกรุณา แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น เมื่อพวกเจ้าของไม่ยินยอม
ย่อมเป็นภัณฑไทย ควรจะนำสุกรที่คาย ที่ใหญ่เท่านั้นมาใช้ให้ หรือให้สิ่ง
ของทีมีราคาเท่านั้นก็ได้. ถ้าเธอไม่เห็นพวกเจ้าของบ่วงแม้ในที่ไหน ๆ พึง
วางผ้ากาสาวะ หรือถาด ซึ่งมีราคาเท่านั้น ไว้ในที่ซึ่งพวกเจ้าของนั้นมาแล้ว
จะเห็นได้โดยรอบแห่งบ่วง แล้วจึงไป. แต่เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ปล่อยไปถวาย
ไถยจิตแท้. ก็บรรดาสุกรเหล่านั้น สุกรบางตัวเอาเท้าดึงบ่วง พอบ่วงขาดแล้ว
ยืนอยู่ ด้วยกิริยายืน ซึ่งมีอันให้เคลื่อนจากฐานได้เป็นธรรมดา เหมือนเรือที่
ผูกไว้ที่กระแสน้ำเชี่ยวฉะนั้น บางตัวยืนอยู่ตามธรรมดาของตน บางตัวนอน.
บางด้วยเป็นสัตว์อันบ่วงโกงมัดไว้แล้ว ที่ชื่อว่าบ่วงโกง ได้แก่ บ่วงที่มีไม้
คันธนู หรือขอ หรือท่อนไม้อื่นบางอย่าง ติดไว้ที่ปลาย, และเป็นบ่วงที่
คล้องไว้ที่ต้นไม้เป็นต้น ในที่ นั้น ๆ กันมิให้สุกรเดินไปได้ ในสุกรเหล่านั้น
สุกรที่ดึงบ่วงยืนอยู่ มีฐานเดียวเท่านั้น คือ ที่ผูกบ่วง จริงอยู่ สุกรนั้นเมื่อ
บ่วงหลุด หรือพอบ่วงขาด ย่อมหนีไปได้ สุกรที่ยืนอยู่ตามธรรมคาของตน
มีฐาน 5 คือ ที่ผูก และเท้าทั้ง 4 สุกรที่นอนอยู่ มีฐาน 2 คือ ที่ผูก 1
ที่นอน 1. สุกรที่ติดบ่วง มันไปในที่ใด ๆ ที่นั้น ๆ แลเป็นฐาน, เพราะเหตุ
นั้น ภิกษุ 10 รูปก็ดี 20 รูปก็ดี 100 รูปก็ดี เมื่อปล่อยสุกรนั้นพ้นไปจาก
ฐานนั้น ๆ ย่อมต้องปาราชิก เหมือนภิกษุหลายรูป เห็นทาสคนเดียวเท่านั้น
มาแล้วในที่นั้น ๆ แล้วให้หนีไปเสีย ต้องปาราชิก ฉะนั้น. ส่วนการให้
สุกรทั้ง 3 ข้างต้น ดิ้นรนไป และให้เคลื่อนจากฐาน พึงทราบตามนัยที่กล่าว
ไวแล้ว ในกถาว่าด้วยสัตว์ 4 เท้า. แม้เมื่อภิกษุให้ปล่อยสุกรที่สุนัขกัดไป
ด้วยการุญญาธิบาย เป็นภัณฑไทย ด้วยไถยจิต เป็นปาราชิก. แต่ไม่เป็น
อวหาร แก่ภิกษุผู้เดินสวนทางไป แล้วยังสุกรซึ่งยังไม่ทันถึงที่ตั้งบ่วง หรือที่

ใกล้สุนัข ให้หนีไปเสียก่อน. แม้ภิกษุรูปใด ให้เหยื่อและน้ำแก่สุกรที่ติดแล้ว
ให้มันได้กำลังแล้ว ทำการตะเพิด ด้วยตั้งใจว่า มันจักตกใจ แล้วหนีไปเสีย,
ถ้ามันหนีไป, ภิกษุนั้นต้องปาราชิก. แม้เมื่อภิกษุทำบ่วงให้ชำรุด แล้วไล่ให้
หนีไป ด้วยเสียงตะเพิด ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ฝ่ายภิกษุใด ให้เหยื่อและน้ำ
แล้วไปเสีย ด้วยทำในใจว่า มันจักได้กำลงแล้วหนีไปเสีย, ถ้ามันหนีไป,
เป็นภัณฑไทยแก่ภิกษุรูปนั้น แม้เมื่อภิกษุทำบ่วงให้ชำรุดแล้วไปเสีย, ก็มีนัย
เหมือนกันนี้. ภิกษุวางมีด หรือก่อไฟไว้ใกล้บ่วง ด้วยคิดว่า เมื่อบ่วงถูกมีด
ตัดขาด หรือถูกไฟไหม้ มันจักหนีเอง. สุกรให้บ่วงเคลื่อนไปมา แล้วหนีไปได้
ในเมื่อบ่วงถูกตัดขาดหรือถูกไฟไหม้, เป็นภัณฑไทยแก่ภิกษุรูปนั้นโดยแท้.
ภิกษุทำให้บ่วงพร้อมทั้งคันล้มลง, ภายหลังสุกรเหยียบย้ำบ่วงนั้นไปเสีย เป็น
ภัณฑไทย. สุกรเป็นสัตว์ถูกหินฟ้าถล่มทั้งหลายทับแล้ว. เมื่อภิกษุใคร่จะให้
สุกรนั้นหนีไป จึงยกฟ้าถล่มขึ้นด้วยความกรุณา เป็นภัณฑไทย. ยกขึ้นด้วย
ไถยจิต เป็นปาราชิก. ถ้าเมื่อฟ้าถล่มนั้น พอภิกษุยกขึ้นแล้ว สุกรยังไม่ไป
ภายหลังจึงไป, เป็นภัณฑไทยเท่านั้น. ภิกษุยังฟ้าถล่มที่เขายกขึ้นค้างไว้ ให้
ตกลง, ภายหลังสุกรเหยียบฟ้าถล่มนั้น ไปเสีย เป็นภัณฑไทย. เมื่อภิกษุ
ช่วยยกขึ้น แม้ซึ่งสุกรที่ตกหลุมพรางแล้ว ด้วยความกรุณา เป็นภัณฑไทย,
ยกขึ้นด้วยไถยจิต เป็นปาราชิก. ภิกษุยังหลุมพรางให้เต็ม ให้ใช้ไม่ได้,
ภายหลังสุกรเหยียบย้ำหลุมพรางนั้นไปเสีย เป็นภัณฑไทย, ภิกษุช่วยสุกรที่
ถูกหลาวแทงแล้ว ด้วยความกรุณา เป็นภัณฑไทย, ยกขึ้นด้วยไถยจิต เป็น
ปาราชิก. ภิกษุซักหลาวทิ้งเสีย เป็นภัณฑไทย.
อนึ่ง เมื่อพวกชาวบ้านดักบ่วง หรือฟ้าถล่มไว้ในพื้นที่วัด ภิกษุควร
ห้ามว่า ที่นี้เป็นสถานที่พึ่งอาศัยของพวกเนื้อ, พวกท่านอย่าทำอย่างนี้ในที่นี้

เลย ถ้าพวกชากล่าวว่า ท่านจงให้นำออกไปเสียขอรับ ภิกษุจะให้นำออก
ไปเสีย ก็ควร. ถ้าเขานำออกไปเสียเอง เป็นความดีแท้. ถ้าเจ้าของเขาไม่นำ
ออกไปเอง ทั้งไม่ยอมให้ผู้อื่นนำออก, จะขออารักขา แล้วให้นำออกเสีย
ก็ควร. ในเวลารักษาข้าวกล้า พวกชาวบ้านย่อมทำบ่วง และเครื่องดักสัตว์
ทั้งหลาย มีฟ้าถล่มเป็นต้น ไว้ในนา ด้วยพูดว่า พวกเราจักรักษาข้าวกล้า
กินเนื้อไปด้วย. ครั้นฤดูข้าวกล้าผ่านไปแล้ว เมื่อพวกเราไม่มีความอาลัย
หลีกไป ภิกษุจะปล่อยสุกรที่ติด หรือที่ตกแล้ว ในบ่วงและฟ้าถล่มเป็นต้น นั้น
ควรอยู่.
วินิจฉัยแม้ในเรื่องเนื้อ 2 เรื่อง ก็เป็นเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วในเรื่อง
สุกรนั่นเอง. แม้ในเรื่องปลา 2 เรื่อง ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
ส่วนความแปลกกัน มีดังต่อไปนี้:- เมื่อภิกษุเปิดปากไซออก
ภายหลังจึงแก้กระพุ้งออก หรือทำเป็นช่องไว้ที่ข้าง แล้วเคาะให้ปลาหนีออก
ไปจากไซ เป็นปาราชิก เป็นปาราชิกแม้แก่ภิกษุผู้แสดงเมล็ดข้าวสุกนั่นแล
ล่อปลาให้หนีไป. เมื่อยกปลาขึ้นพร้อมทั้งไซ ก็เป็นปาราชิ., ภิกษุเปิดปาก
ไซออกอย่างเดียว ภายหลังจึงแก้กระพุ้งออก หรือทำเป็นช่องไว้, และปลา
ทั้งหลายก็หนีไปตามธรรมดาของตน, เป็นภัณฑไทย. ภิกษุทำไว้อย่างนี้แล้ว
จึงแสดงเมล็ดข้าวสุกล่อปลา ปลาทั้งหลายหนีออกไป เพื่อต้องการอาหาร,
เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน ภิกษุเปิดปาก (ไซ) ออกแล้ว ภายหลังไม่ได้แก้
กระพุ้งออก ทั้งไม่ได้ทำเป็นช่องไว้ที่ข้าง เอาแต่เมล็ดข้าวสุกแสดงล่ออย่าง
เดียว, ส่วนปลาทั้งหลาย เพราะถูกความหิวครอบงำ จึงเอาศีรษะกระแทก
ทำช่องแล้ว หนีออกไป เพื่อต้องการอาหาร เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน.
ภิกษุเปิดปากไซเปล่าไว้ หรือภายหลังแก้กระพุ้งออก หรือทำเป็นช่องไว้,

ปลาทั้งหลายที่ว่ายมาแล้ว ๆ ถึงประตูแล้ว ก็หนีไปทางกระพุ้งและช่อง, เป็น
ภัณฑไทยเหมือนกัน. ภิกษุจับไซเปล่าโยนไปไว้บนพุ่มไม้ เป็นภัณฑไทย
เหมือนกัน ฉะนี้แล.
ภัณฑะบนยาน ก็เป็นเช่นกับภัณฑะในถุงที่วางไว้บนตั่ง.
ในเรื่องชิ้นเนื้อ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ถ้าภิกษุรับเอา (ชิ้นเนื้อ) ในอากาศ
ที่ ๆ ภิกษุรับเอานั่นเองเป็นฐาน. พึงกำหนดฐานนั้นด้วยอาการ 6 แล้วทราบ
การให้เคลื่อนจากฐาน. คำที่เหลือในเรืองชิ้นเนื้อนี้ และในเรื่องแพไม้ เรื่อง
คนเลี้ยงโค กับเรื่องผ้าสาฎกของช่างย้อม พึงวินิจฉัยโดยนัยแห่งเรื่องมีเรื่อง
พวกขโมยลักมะม่วงเป็นต้น.
ในเรื่องหม้อ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุใดถือเอาเนยใสและน้ำมันเป็นต้น
ซึ่งมีราคาไม่ถึงบาท ด้วยทำในใจว่า เราจักไม่ทำอย่างนี้อีก คงอยู่ในสังวร
แม้ในวันที่สองเป็นต้น เมื่อเกิดความคิดขึ้นอีก ก็ทำการทอดธุระเหมือนอย่าง
นั้นนั่นแล ขณะฉันก็ฉันเนยไสและน้ำมันเป็นต้นนั้นแม้ทั้งหมด ไม่เป็น
ปาราชิกเลย, เธอย่อมต้องทุกกฏหรือถุลลัจจัย และเป็นภัณฑไทยด้วย. ภิกษุ
แม้นี้ ก็ได้ทำอย่างนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก. ก็เมื่อภิกษุไม่ทำการทอดธุระ
แต่ฉันเนยใสและน้ำมันเป็นต้นนั้น แม้ที่ละน้อย ๆ ด้วยคงใจว่า เราจักฉัน
ทุกวัน ๆ ดังนี้, ในวันใดมีราคาเต็มบาท, ในวันนั้นเป็นปาราชิก.
เรื่องชักชวนกันลัก พึงทราบตมนัยแห่งการวินิจฉัยที่กล่าวแล้วใน
สังวิธาวหาร, เรื่องกำมือ พึงทราบตามนัยแห่งการวินิจฉัยที่กล่าวแล้วในเรื่อง
ทั้งหลาย มีเรื่องร้านขายข้าวสุกเป็นต้น, เรื่องเนื้อเดน 2 เรื่อง พึงทราบ

ตามนัยแห่งการวินิจฉัยที่กล่าวแล้ว ในเรื่องทั้งหลายมีเรื่องขโมยลักมะม่วง
เป็นต้น เรื่องหญ้า 2 เรื่อง มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
ในเรื่องทั้งหลาย มีเรื่องให้แบ่งมะม่วงเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
ภิกษุเหล่านั้น ได้ไปยังอาวาสใกล้หมู่บานแห่งหนึ่ง ซึ่งมีกำหนดจำนวนภิกษุไว้.
พวกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสแห่งนั้นนั่นแหละ แม้เมื่อจะฉันผลไม้น้อยใหญ่ ใน
เมื่อพระอาอันตุกะเหล่านั้นมาแล้ว ไม่ได้บอกกัปปิยการกว่า พวกเธอจงถวาย
ผลไม้ แก่พระเถระทั้งหลาย คราวนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงกล่าวว่า มะม่วง
ของสงฆ์ ไม่ถึงแก่พวกกระผมหรือ ? จึงให้เกาะระฆังแจกกัน ได้ถวายส่วน
แก่ภิกษุเจ้าถิ่นแม้เหล่านี้ ตามลำดับพรรษา แม้ตนเองก็ฉัน. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสแก่พระอาคันตุกะเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เพื่อ
ต้องการฉัน ไม่เป็นอาบัติ เพราะเหตุนั้น บัดนี้ ในอาวาสใด ภิกษุเจ้าของถิ่น
ไม่ถวายแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ และเมื่อถึงหน้าผลไม้ เห็นว่าภิกษุอาคันตุกะ
เหล่าอื่นไม่มี ตน เองก็ฉันเสีย ด้วยกิริยาที่เป็นโจร, การที่พวกภิกษุอาคันตุกะ
เคาะระฆังขึ้นแล้ว แจกกันฉันในอาวาสเช่นนั้น ย่อมควร ส่วนในต้นไม้ใด
พวกภิกษุเจ้าของถิ่นรักษาค้นไม้ทั้ง หลาย เมื่อถึงหน้าผลไม้ ก็แจกกันฉัน ทั้ง
นำไปใช้ในปัจจัย 4 โดยชอบ, พวกภิกษุอากันคุกะ ไม่มีอิสระในต้นไม้นั้น
ต้นไม้แม้เหล่า ค ที่ทายกกำหนดถวายไว้ เพื่อประโยชน์แก่จีวร พวกภิกษุ
อาคันตุกะ ไม่มีอิสระในต้นไม้แม้เหล่านั้น. แม้ในต้นไม้ทั้งหลาย ที่ทายก
กำหนดถวายไว้ เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยที่เหลือ ก็มีนัยเหมือนกันนี้ ส่วนต้นไม้
เหล่าใด ที่ทายกไม่ได้กำหนดไว้อย่างนั้น และพวกภิกษุเจ้าถิ่น ก็รักษาปกครอง
ต้นไม้เหล่านั้น ไว้ ทั้งฉันอยู่ด้วยกิริยาที่เป็นโจร*, ในต้นไม้เหล่านั้น พระ-
//* ประโยชน์นี้ อัตถโยชนา 1/354... เนว รกฺขิตฺวา น โคปิตฺวา โจรกาย ปริภุญฺชนฺติ
//แปลว่า ... ทั้งไม่ได้รักษาไม่ได้คุ้มครอง ฉันด้วยกิริยาโจร.

อาคันตุกะทั้งหลาย ไม่ควรทั้งอยู่ในข้อกติกา ของพวกภิกษุเจ้าถิ่น ต้นไม้
เหล่าใด ที่ทายกถวายไว้เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การบริโภคผล และพวกภิกษุ
เจ้าถิ่น ก็รักษาปกกรองต้นไม้เหล่านั้นไว้ นำไปใช้สอยโดยชอบ, ในต้นไม้
เหล่านั้นนั่นแหละ พระอาคันตุกะทั้งหลาย ควรตั้งอยู่ในข้อกติกา ของพวก
ภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้น.
ส่วนในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุเมื่อฉันผลไม้ ที่ทายกกำหนด
ถวายไว้เพื่อปัจจัย 4 ด้วยไถยจิต พึงให้ตีราคาสิ่งของปรับอาบัติ, เมื่อแจกกัน
ฉันด้วยอำนาจการบริโภค เป็นภัณฑไทย, ก็บรรดาผลไม้เหล่านั้น เมื่อภิกษุ
แจกกันฉันผลไม้ที่ทายกกำหนดไว้ เพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ ด้วยอำนาจ
การบริโภค เป็นถุลลัจจัยด้วย เป็นภัณฑไทยด้วย.
ผลไม้ที่ทายกอุทิศถวายไว้ เพื่อประโยชน์แก่จีวร ควรน้อมเข้าไปใน
จีวรเท่านั้น ถ้าเป็นวัดที่มีภิกษาหาได้โดยยาก ภิกษุทั้งหลาย ย่อมลำบากด้วย
บิณฑบาต ส่วนจีวรหาได้ง่าย จะทำอปโลกนกรรมเพื่อความเห็นชอบแห่งสงฆ์
แล้วน้อมเข้าไปโนบิณฑบาต ก็ควร. เมื่อลำบากอยู่ด้วยเสนาสนะ หรือคิลาน-
ปัจจัย จะทำอปโลกนกรรมเพื่อความเห็นชอบแห่งสงฆ์ แล้วน้อมเข้าไปเพื่อ
ประโยชน์แก่เสนาสนะและคิลานปัจจัยนั้น ก็ควร. แม้ในผลไม้ที่ทายกอุทิศ
ถวายไว้ เพื่อประโยชน์แก่บิณฑบาต และเพื่อประโยชน์แก่คิลานปัจจัย ก็มีนัย
เหมือนกันนี้. ส่วนสิ่งของที่ทายกอุทิศถวายไว้ เพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ
เป็นครุภัณฑ์, ควรรักษาปกกรองสิ่งนั้นไว้ แล้วน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่
เสนาสนะนั้นเท่านั้น. ก็ถ้าเป็นวัดที่ภิกษาหาได้โดยยาก ภิกษุทั้งหลายจะเลี้ยง
อัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตไม่ได้, ในวัดหรือรัฐนี้ วิหารของพวกภิกษุผู้
อพยพไปในที่อื่น เพราะราชภัย โรคภัย และโจรภัยเป็นต้น ย่อมชำรุไป ,

ชนเหล่าอื่นย่อมทำต้นตาลและต้นมะพร้าวเป็นต้น ให้เสียหายไป, ส่วนภิกษุ
อาศัยเสนาสนปัจจัยแล้ว ย่อมอาจเลี้ยงอัตภาพให้เป็นไปได้, ในกาลเห็นปานนี้
แม้จำหน่ายเสนาสนะแล้วบริโภค เพื่อประโยชน์แก่การรักษาเสนาสนะ พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้ว. เพราะฉะนั้น เว้นเสนาสนะที่ดีไว้ หนึ่งหลัง
หรือสองหลัง เสนาสนะนอกนี้ ตั้งต้น แต่เสนาสนะเลวที่สุด จะจำหน่ายเพื่อ
ประโยชน์แก่บิณฑบาต ก็ควร, แต่ไม่ควรน้อมเข้าไปทำให้วัตถุที่เป็นมูลเดิม
ขาด. ส่วนในสวนที่ทายกกำหนดถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัย 4 ไม่ควรทำ
อปโลกนกรรม, แต่จะน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยที่ยังพร่องอยู่ ย่อม
สมควร. ควรรักษาสวนไว้, แม้จะจ่ายสินจ้างไปให้รักษาไว้ ก็ควร ส่วนชน
เหล่าใดได้รับสินจ้าง สร้างเรือนอยู่รักษาในสวนนั่นเอง, ถ้าชนเหล่านั้นถวาย
มะพร้าว หรือผลตาลสุกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้ว, ชนผู้รักษาสวนเหล่านั้น
ย่อมได้เพื่อถวายผลไม้ เฉพาะที่สงฆ์อนุญาตแก่พวกเขาว่า พวกเธอจะกินผลไม้
มีประมาณเท่านี้ ได้ทุกวัน ดังนี้ การที่ภิกษุจะรับเอาผลไม้ของชนเหล่านั้น
แม้ผู้ถวายมากยิ่งขึ้นไป กว่าผลไม้ที่สงฆ์อนุญาตนั้น ย่อมไม่ควร ส่วนผู้ใด
ได้รับเช่าสวนแล้ว ย่อมถวายเฉพาะกัปปิยภัณฑ์เท่านั้นแก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์
แก่ปัจจัย 4, ผู้นี้ย่อมได้เพื่อถวายผลไม้แม้มาก. แม้สวนที่ทายกถวายไว้แก่
พระเจดีย์ เพื่อประโยชน์แก่ประทีป หรือเพื่อต้องการปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชำรุด
หักพัง สงฆ์ควรรักษาไว้, ถึงจะจ่ายสินจ้างไปบ้าง ก็ควรให้รักษาไว้ ก็แล
ในสวนที่ทายกถวายไว้แก่พระเจดีย์นี้ จะจ่ายสินจ้างที่เป็นของเจดีย์บ้าง ที่เป็น
ของสงฆ์บ้าง ควรอยู่. การถวายผลไม้ที่เกิดขึ้นในสวนนั้น (แก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้มาแล้ว ๆ) ของพวกชนผู้พักอยู่ ในสวนนั้นนั่นเอง รักษาสวนแม้นั้นอยู่
ด้วยสินจ้าง และของพวกชนผู้รับเช่าสวน แล้วถวายแค่กัปปิยภัณฑ์ (แก่สงฆ์)
พึงทราบโดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั้นนั่นแล.

ใน* คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษา ถวาย
ซึ่งมีอยู่ในเรื่องทั้งหลาย มีเรื่องคนรักษามะม่วงเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ถามว่า คนรักษาถวายเท่าไร จึงควร ? ถวายเท่าไร ไม่ควร ?
แก้ว่า พระมหาสุมัตเถระ กล่าวไว้ก่อนว่า ผลไม้ใด ซึ่งคนรักษา
กำหนดถวายด้วยคำว่า พระคุณเจ้าจงถือเอาผลไม้มีประมาณเท่านี้ ทุกวัน ๆ
ผลไม้นั้นนั่นแหละย่อมควร, เขาถวายเกินไปกว่านั้นไม่ควร. ส่วนพระมหา-
ปทุมเถระกล่าวไว้ว่า หนังสือที่พวกคนรักษาเขียนไว้ หรือทำสัญญาเครื่องหมาย
ถวายไว้ จะมีประโยชน์อะไร ? คนรักษาเหล่านั้น ก็เป็นอิสระแห่งผลไม้ที่
เขาสละแล้วในมือของพวกเขา; เพราะเหตุนั้น ผลไม้ซึ่งคนรักษาเหล่านั้นถวาย
แม้มากก็ควร.
ส่วนในอรรถกถากุรุนที ท่านกล่าวว่า พวกเด็กหนุ่มของชาวบ้าน
ย่อมรักษาสวน หรือผลไม้น้อยใหญ่อย่างอื่นไว้, ผลไม้น้อยใหญ่ที่เด็กหนุ่ม
เหล่านั้นถวาย ย่อมควร, แต่ภิกษุไม่ควรใช้ให้พวกเด็กนำมาแล้ว จึงรับ การ
ถวายผลไม้ของชนผู้รับเช่ารักษาสวนของสงฆ์และของเจ้าเจดีย์นั่นแหละ ย่อมควร,
การถวายของชนผู้รักษาด้วยสินจ้างเพียงส่วนของตน จึงควร.
ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า พวกลูกจ้างผู้รักษาสวนของคฤหัสถ์ถวาย
ผลไม้ใดแก่ภิกษุทั้งหลาย, ผลไม้นั้นย่อมควร พวกคนผู้รักษาสวนของภิกษุสงฆ์
แบ่งผลไม้ใดจากค่าจ้างของตนถวาย, ผลไม้นั้นก็สมควร, แม้ผู้ใด ได้รับค่าจ้าง
แล้ว จึงรักษาสวนเพียงกึ่งหนึ่ง หรือต้นไม้ บางชนิดเท่านั้น, การถวายผลไม้
จากต้นไม้ที่ถึงแก่ตนนั่นเอง แม้ของผู้นั้น ก็ควร, แต่สำหรับชนผู้รับเช่า
รักษาสวน จะถวายผลไม้ทั้งหมด ก็ควร. ก็คำที่ท่านกล่าวมานั่นทั้งหมด
//* แปลตามอัตถโยชนา 1/355 - 6.

ต่างกันแค่โดยพยัญชนะ โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง, เพราะฉะนั้น
ผู้ศึกษาควรทราบความอธิบายแล้ว จึงถือเอา.
ในเรื่องไม้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
หลายบทว่า ตาวกาลิโก อหํ ภควา ความว่า ภิกษุนั้นใคร่จะ
กราบทูลว่า ข้าพระองค์มีความติดจะขอยืม พระพุทธเจ้าข้า ! ดังนี้ จึงได้
กราบทูลว่า. คำว่า ตาวกาลิกจิตฺโต นี้ ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าพระ-
พุทธเจ้า มีความคิดอย่างนี้ว่า จักนำมาคืนให้อีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เธอไม่เป็นอาบัติ เพราะขอยืม.
ก็ในเรื่องไม้นี้ มีวินิจฉัยที่พ้นจากบาลี ดังต่อไปนี้ :- ถ้าสงฆ์ใช้ให้
ภิกษุทำการงานของสงฆ์ จะเป็นโรงอุโบสถหรือหอฉันก็ตาม, ภิกษุต้องถาม
การกสงฆ์เสียก่อน จึงควรขอยืมไป จากไม้ที่เป็นทัพสัมภาระ ซึ่งเก็บไว้เพื่อ
สร้างโรงอุโบสถเป็นต้นนั้น. ส่วนทัพสัมภาระที่เป็นของสงฆ์อันใด ไม่ได้
คุ้มครองไว้ ย่อมเปียกในเมื่อฝนตก, ทั้งแห้งเพราะแดดเผา, ภิกษุจะนำ
ทัพสัมภาระแม้ทั้งหมดนั้นมาสร้างเป็นที่อยู่ของตน ก็ควร, เมื่อสงฆ์ให้นำ
คืนมา ควรตกลงยินยอมกันด้วยทัพสัมภาระ หรือด้วยมูลค่าอย่างอื่น. ถ้า
ไม่อาจตกลงยินยอมกันได้, เธอควรจะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! เสนาสนะ
ที่ผมสร้างด้วยทัพสัมภาระของสงฆ์, ขอท่านทั้งหลายจงใช้สอย โดยบริโภค
เป็นของสงฆ์เถิด. แต่ภิกษุนี้ เท่านั้น เป็นอิสระแห่งเสนาสนะแล. แม้ถ้าเสาหิน
ก็ดี เสาไม้ก็ดี บานประตูก็ดี หน้าต่างก็ดี ไม่เพียงพอไซร้, จะขอยืมของสงฆ์
ทำให้เป็นปกติ ก็ควร. ในทัพสัมภาระแม้อย่างอื่น ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
ในเรื่องน้า มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในกาลใด น้ำย่อมเป็นของหาได้ยาก
ในกาลนั้น เขาย่อมนำน้ำมาไกลโยชน์หนึ่งบ้าง กึ่งโยชน์บ้าง, ในน้ำที่เขา

หวงแหนเห็นปานนั้น ย่อมเป็นอวหาร, พวกชนย่อมปรุงข้าวต้มและข้าวสวย
ให้สำเร็จได้แม้ด้วยน้ำใดที่เขานำมา หรือที่ขังอยู่ในชลาลัยทั้งหลาย มีสระ
โปกขรณีเป็นต้น ทั้งทำเป็นน้ำดื่มและนำใช้อย่างเดียว หาได้ทำเป็นน้ำสำหรับ
ใช้สอย อย่างเหลือเพื่อย่างอื่นไม่ เมื่อภิกษุถือเอาน้ำแม้นั้น ด้วยไถยจิต
ย่อมเป็นอวหาร ส่วนภิกษุถือเอาน้ำหนึ่งหม้อ หรือสองหม้อ จากน้ำใด ย่อม
ได้เพื่อล้างอาสนะ รดต้นโพธิ์ ทำการบูชาด้วยน้ำ (และ) เพื่อต้มนำย้อม
ควรปฏิบัติในน้ำนั้น ด้วยอำนาจแห่งข้อกติกาของสงฆ์ทีเดียว ภิกษุผู้รับเอา
น้ำมากเกินไป หรือใส่วัตถุทั้งหลาย มีดินเหนียวเป็นต้นปนลงด้วยไถยจิต
พระวินัยธรพึงให้ตีราคาสิ่งของปรับอาบัติ. ถ้าพวกภิกษุเจ้าของถิ่น ทำข้อ
กติกาวัตรไว้อย่างมั่นคง ไม่ยอมให้ภิกษุเหล่าอื่นใช้ล้างสิ่งของ หรือใช้ย้อมผ้า
แต่ตนเองถือเอาทำกิจทุกอย่าง เมื่อภิกษุเหล่าอื่นไม่เห็น พวกภิกษุอาคันตุกะ
ไม่ต้องตั้งอยู่ในข้อ กติกาของภิกษุเจ้าถิ่น แหล่านั้น พึงใช้ล้างสิ่งของมีประมาณเ
เท่ากับที่ภิกษุเจ้าของถิ่นใช้ล้าง. ถ้าสงฆ์สระโปกขรณี หรือมีบ่อันนำอยู่สอง
สามแห่งไซร้ และสงฆ์ก็ทำข้อกติกาไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ควรสรงน้ำในสระ
โปกขรณี และบ่อน้ำนี้, ควรรับเอาน้ำดื่มจากที่นี้, ควรทำการใช้สอยกิจทุก
อย่าง ในสระโปกขรณีและบ่อน้ำนี้, พวกภิกษุอาคันตุกะควรทำกิจทั้งหมดด้วย
ข้อ กติกาวัตรนั่นแล. ในสระโบกขรณีเป็นต้นต้นใด ไม่มีข้อกติกา, การใช้สอย
กิจทุกอย่าง ในสระโปกขรณีเป็นต้นนั้น ย่อมควร ฉะนี้แล.
ในเรื่องดินเหนียว มีวินิจฉัยดังนี้:- ในที่ใด ดินเหนียวเป็นของ
หาได้ยาก หรือดินเหนียว มีสีมีประการต่าง ๆ อันพวกชนขนมากองไว้ ,
ในที่นั้นแม้ดินเหนียวนิดหน่อย ก็มีราคาถึง 5 มาสก; เพราะเหตุนั้น จึง
เป็นไปปาราชิก. อนึ่ง เมื่อการงานของสงฆ์ และการงานในพระเจดีย์สำเร็จแล้ว

การที่ภิกษุถามสงฆ์เสียก่อน จึงถือเอาหรือขอยืมเอา ควรอยู่. ในปูนขาวก็ดี
ในจิตรกรรมและวรรณกรรมก็ดี ก็มีนัยเหมือนกัน.
ในเรื่องหญ้าทั้งหลาย มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในหญ้าที่ภิกษุเอาไฟเผา
เป็นทุกกฏ เพราะไม่มีการให้เคลื่อนจากฐาน, แต่เป็นภัณฑไทย. สงฆ์รักษา
พื้นที่ที่ปลูกหญ้าไว้ แล้วใช้หญ้านั้นมุงที่อยู่ของสงฆ์, บางคราวสงฆ์ย่อมไม่
อาจรักษาได้อีก. ครั้งนั้น มีภิกษุอีกรูปหนึ่ง รักษาไว้ด้วยม่งวัตรเป็นใหญ่
หญ้านั่น เป็นของสงฆ์เหมือนกัน ถ้าไม่มีใครรักษา สงฆ์ควรสั่งภิกษุรูปหนึ่ง
ว่า ท่านจงช่วยรักษาให้ที, ถ้าเธอรูปนั้น ปรารถนาส่วนแบ่งไซร้, สงฆ์แม้
จะต้องเสียส่วนแบ่งให้ ก็ควรให้เธอรูปนั้นรักษา. ถ้าเธอขอเพิ่มส่วนแบ่งไซร้,
สงฆ์ควรให้โดยแท้. ภิกษุขอเพิ่ม เติมขึ้นอีก สงฆ์ควรพูดว่า ท่านจงไป รักษา
แล้ว เอาหญ้าทั้งหมด มุงเสนาสนุของตนเถิด. เพราะเหตุไร ไม่ควรให้
พร้อมทั้งพื้นที่ ที่เป็นครุภัณฑ์ ควรให้เพียงหญ้าเท่านั้น. เมื่อภิกษุรูปนั้น
รักษาไว้แล้ว ใช้มุงเสนาสนะของตน, ถ้าสงฆ์ยังจุสามารถจะรักษาได้อีก,
สงฆ์ควรจะพูดกะภิกษุรูปนั้นว่า ท่านไม่ต้องรักษา, สงฆ์จักรักษาเอง ดังนี้.
7 เรื่อง มีเรื่องเตียงเป็นต้น ปรากฏชัดแล้วแล. ก็เมื่อภิกษุลักเสา-
หินก็ดี เสาไม้ก็ดี หรือสิ่งของอะไร ๆ อย่างอื่น แม้ที่ไม่ได้มาในพระบาลี
ซึ่งมีราคาถึงบาท เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
ในเรือนสำหรับทำความเพียรเป็นต้น มีวินิจฉันดังนี้ :- แม้เมื่อภิกษุ
พังฝาก็ดี กำแพงก็ดี แห่งสถานที่มีบริเวณเป็นต้น ซึ่งถูกเจ้าของเขาทอดทิ้ง
เรี่ยราดไว้ แล้วลักเอาทัพสัมภาระมีอิฐเป็นต้นไป ก็มีนัยนั่นเหมือนกัน
เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ภิกษุทั้งหลาย บางคราวย่อมอยู่ครอบครอง

เสนาสนะ ที่ชื่อว่าเป็นของสงฆ์ บางคราวก็ไม่อยู่ครอบครอง. แม้เมื่อภิกษุ
ลักเอาบริขารบางอย่าง ในสถานที่ทั้งหลาย มีวัดที่ถูกทอดทิ้งแล้วเป็นต้น ใน
เมื่อชาวชนบทอพยพหนีไป เพราะโจรภัยในชายแดน ก็มีนัยนั่นเหมือนกัน.
ส่วนภิกษุเหล่าใดนำทัพสัมภาระไปใช้ชั่วคราว จากวัดที่เขาทอดทิ้งแล้วนั้น
และในเมื่อวัดมีภิกษุกลับมาอยู่ ภิกษุทั้งหลาย สั่งภิกษุเหล่านั้นให้นำมาคืน
ควรให้คืน. แม้ถ้าเธอทั้งหลาย นำสัมภาระไม้เป็นต้น จากวัดที่เขาทอดทิ้ง
แล้วนั้น มาสร้างเป็นเสนาสนะ, สิ่งของที่พวกเธอนำมานั้น หรือเสนาสนะที่
มีราคาเท่ากับสิ่งของนั้น ควรให้คืนเหมือนกัน. เมื่อชาวชนบท ยังไม่ตัด
ความอาลัย อพยพไป ด้วยคิดว่า พวกเราจักกลับมาอยู่ ครอบครองอีก, เสนา-
สนะที่เป็นของคณะหรือเป็นของบุคคล เป็นอันเขายังถือกรรมสิทธิ์อยู่. ถ้าเขา
เหล่านั้นอนุญาตให้, ไม่มีกิจด้วยการทำคืน. ส่วนทัพสัมภาระของสงฆ์ จัด
เป็นกรุภัณฑ์ เพราะฉะนั้น ควรจัดการให้คืนเหมือนกัน เรื่องเครื่องใช้สอย
ในวิหารมีเนื้อความกระจ่างทั้งนั้น
ในพระพุทธานุญาตนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไป
ใช้ได้ชั่วคราว ดังนี้ มีวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุใดยืมเตียงหรือตั่งของสงฆ์ไป
ใช้สอยโดยการใช้สอยอย่างของสงฆ์ หนึ่งเดือนบ้าง สองเดือนบ้าง ในสถาน
ที่ผาสุกของตน เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้แก่กว่ามาแล้วก็ถวาย, ไม่นำกลับคืน. เมื่อ
เตียงและตั่งนั้น หายไปบ้าง ชำรุดไปบ้าง คนอื่นลักไปโดยความเป็นขโมย
บ้าง ย่อมไม่เป็นสินใช้แก่ภิกษุรูปนั้น. แต่เมื่อเธออยู่แล้วจะไป ควรจะเก็บ
ไว้ในที่เติม. ส่วนภิกษุใดใช้สอย โดยการใช้สอยเป็นของบุคคล ไม่ได้ถวาย
แก่ภิกษุทั้งหลายผู้แก่กวา ซึ่งมาแล้ว ๆ (เมื่อเตียงและตั่งนั้นเสียหายไปบ้าง
ชำรุดไปบ้าง คนอื่นลักไปเคยความเป็นขโมยบ้าง) ย่อมเป็นสินใช้แก่ภิกษุรูป

นั้น. ในสังเขปอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า ก็ภิกษุผู้นำไปสู่อาวาสอื่นแล้วใช้สอย
ถ้าในอาวาสนั้น ภิกษุผู้แก่กว่า มาบังกับให้ภิกษุนั้นออกไปเสีย ควรพูดว่า
ผมนำเตียงและตั่งนี้ มาจากอาวาสชื่อโน้น, ผมจะไป ผมจ้าจัดเตียงและตั่ง
นั้นให้เป็นปกติ. ถ้าภิกษุผู้แก่กว่านั้น พูดว่า ข้าพเจ้าจักจัดให้เป็นปกติเอง,
แม้จะทำให้เป็นภาระของภิกษุผู้เฒ่านั้น ไปเสีย ก็ควร.
ในเรื่องเมืองจัมปา มีวินิจฉัยดังนี้ :- ข้าวยาคูที่พวกชนใส่อปรัณ-
ชาติชนิดเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง รวมกับน้ำมันงา และข้าวสาร แล้วปรุงด้วย
วัตถุ 3 อย่าง คือ น้ำมันงา ข้าวสาร และถั่วเขียว, หรือน้ำมันงา ข้าวสาร
และถั่ว ราชมาษ, หรือนำมันงา ข้าวสาร และเยื่อถั่วพู ชื่อว่า เตกฏุละ*
(ข้าวยาคูปรุงด้วยวัตถุ 3 อย่าง). ได้ยินว่า พวกชนย่อมประกอบปรุงข้าวยาคู
ชื่อ เตกฏุละ นั่นด้วยวัตถุ 3 อย่าง มีเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวด
เป็นต้นเหล่านี้ ในน้ำนมที่เดือดด้วยน้ำ 4 ส่วน.
ในเรื่องเมืองราชคฤห์ มีวินิจฉัยดังนี้:- ขนมที่มีรสดียิ่ง ท่านเรียกว่า
ขนมรวงผึ้ง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า รวงผึ้ง บ้าง. คำที่เหลือ แม้ใน
2 เรื่องนี้ ก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในเรื่องแจกข้าวสุกนั่นแล้ว.
ในเรื่องพระอัชชุกะ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า เอตทโวจ ความว่า คฤหบดีนั้นเป็นไข้ ได้สั่งไว้แล้ว.
หลายบทว่า อายสฺมา อุปาลิ อายสฺนโต อชฺชุกสฺส ปกฺโข
ความว่า ท่านพระอุบาลี หาใช่เป็นฝักฝ่าย (ของท่านพระอัชชกะนั้น) ด้วย
อำนาจถึงความลำเอียงไม่ โดยที่แท้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระเถระเป็นฝักฝ่าย
(ของท่านพระอัชชุกะนั้น) ด้วยความอนุเคราะห์ผู้เป็นลัชชี และอนุเคราะห์
//* บาลีเดิมเป็น เตกฏุลฺล.

พระวินัย เพราะรู้ว่าท่านไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือในเรื่องพระอัชชุกะนี้ มี
เนื้อความตื้นทั้งนั้น.
ในเรื่องเมืองพาราณสี มีวินิจฉัยดังนี้:-.
สองบทว่า โจเรหิ อุปฺปทฺทุตํ ความว่า ถูกพวกโจรปล้น แล้ว.
หลายบทว่า อิทฺธิยา อาเนตฺวา ปาสาเท ฐเปสิ ความว่า ได้
ยินว่า พระเถระได้เห็นสกุลนั้น เพียบพร้อมอยู่ด้วยลูกศรคือความโศก วนเวียน
กลับไปกลับมาอยู่ จึงได้อธิษฐานปราสาทของตนเหล่านั้นแล ด้วยฤทธิ์ของ
ตนว่า จงปรากฏมีในที่ใกล้เด็กทั้งหลาย โดยความอนุเคราะห์ธรรม เพื่อความ
กรุณา เพื่อประโยชน์แก่การตามรักษาความเลื่อมใสแห่งสกุลนั้น. เด็กทั้ง 2
ก็จำได้ว่า ปราสาทของพวกเรา จึงได้ขึ้นไป. ลำดับนั้นพระเถระได้คลายฤทธิ์
แล้ว. แม้ปราสาทก็ได้ตั้งอยู่ในที่ของตนตามเดิม. แต่พระธรรมสังคาหกาจารย์
ทั้งหลาย กล่าวไว้ด้วยอำนาจโวหารว่า พรเถระนำเด็ก 2 นั้นมาด้วยฤทธิ์
แล้วพักไว้ในปราสาท.
บทว่า อิทฺธิวิสเย คือ ไม่เป็นอาบัติ เพราะอธิษฐานฤทธิ์เช่นนี้.
ส่วนฤทธิ์ คือการแผลต่าง ๆ ย่อมไม่ควร ฉะนี้และ. 2 เรื่องในที่สุด มีเนื้อ
ความตื้นทั้งนั้นแล.
จบทุติยปาราชิกวรรณนา ในวินัยสังวรรณนา
ชื่อสมันตปาสาทิกา

[คาถาสรูปทุติยปาราชิกสิกขาบท]
ในทุติยปาราชิกสิกขาบทนี้ มีอนุศาสนี ดังต่อไปนี้
ทุติยปาราชิกสิกขาบทนี้ใด อันพระ
ชินเจ้าผู้ไม่เป็นที่ 2 มีกิเลสอันพ่ายแพ้แล้ว

ทรงประกาศแล้วในพระศาสนานี้, สิกขาบท
อื่นไร ๆ ที่มีนัยอันซับซ้อนมากมาย มีเนื้อ
ความและวินิจฉัยลึกซึ่ง เสมอด้วยทุติย-
ปาราชิกสิกขาบทนั้น ย่อมไม่มี. เพราะเหตุ
นั้น เมื่อเรื่องหยั่งลงแล้ว ภิกษุผู้รู้ทั่วถึง
พระวินัย จะทำการวินิจฉัยในเรื่องที่หยั่งลง
แล้วนี้ ด้วยความอนุเคราะห์พระวินัย พึง
พิจารณาพระบาลีและอรรถกถาพร้อมทั้ง
อธิบาย โดยถ้วนถี่ อย่าเป็นผู้ประมาท ทำ
การวินิจฉัยเถิด. ในกาลไหน ๆ ไม่พึงทำ
ความอาจหาญในการซื้ออาบัติ, ควรใส่ใจว่า
เราจักเห็นอนาบัติ. อนึ่ง แม้เห็นอาบัติแล้ว
อย่าเพ่อพูดเพรื่อไปก่อน พึงใคร่ครวญและ
หารือกับท่านผู้รู้ทั้งหลายแล้ว จึงปรับอาบัติ
นั้น. อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็น
ปุถุชนในศาสนานี้ ย่อมเคลื่อนจากคุณ คือ
ความเป็นสมณะ ด้วยอำนาจแห่งจิต ที่มัก
กลับกลอกเร็ว ในเพราะเรื่องแม้ที่ควร.
เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้เฉลียวฉลาด เมื่อเล็ง
เห็นบริขารของผู้อื่น เป็นเหมือนงูมีพิษร้าย
และเหมือนไฟ พึงจับต้องเถิด.

ตติยปาราชิกกัณฑ์


นิทานปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุหลายรูป


[176] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-
ศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้นพระองค์ทรงแสดงอสุภกถา
ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกรรมฐาน ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภ-
กรรมฐาน ทรงพรรณนาคุณอสุภสมาบัติเนือง ๆ โดยอเนกปริยายแก่ภิกษุ-
ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะ
หลีกออกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ใคร ๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำ
บิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว ภิกษุเหล่านั้นรับ ๆ สั่งแล้ว ไม่มีใครกล้าเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันว่า พระผู้พระภาคเจ้าทรงแสดงอสุภกถา ทรง
พรรณนาคุณแห่งอสุภกรรมฐาน ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภกรรมฐาน
ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภสมาบัติเนือง ๆ โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้วพากัน
ประกอบความเพียรในการเจริญอสุภกรรมฐาน หลายอย่างหลายกระบวนอยู่
ภิกษุเหล่านั้น อึดอัด ระอา เกลียดชังร่างกายของตน ดุจสตรีรุ่นสาวหรือ
บุรุษรุ่นหนุ่ม พอใจในการกแต่งกาย อาบน้ำสระเกล้า มีซากศพงู ซากศพ
สุนัข หรือซากศพมนุษย์มาคล้องอยู่ที่คอ พึงอึดอัด สะอิดสะเอียน เกลียดชัง
ฉะนั้น จึงปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็
เข้าไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์* กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้ปลงชีวิต
พวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ครั้งนั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ อันภิกษุ
//* คนโกนผมไว้จุก นุ่งผ้ากาสาระผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ทำนองเป็นตาเถน.