เมนู

อรัญญัฏฐวิภาค


[104] ที่ชื่อว่า ป่า ได้แก่ป่าที่มนุษย์หวงห้าม ที่ชื่อว่า ทรัพย์
อยู่ในป่า
ได้แก่ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า โดยฐาน 4 คือ ฝังอยู่ในดิน 1 ตั้ง
อยู่บนพื้นดิน 1 ลอยอยู่ในอากาศ 1 แขวนอยู่ในที่แจ้ง 1.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในป่า เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดิน
ไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี หญ้าก็ดี ซึ่งเกิดในป่านั้น
ได้ราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.

อุทกวิภาค


[105] ที่ชื่อว่า น้ำ ได้แก่น้ำที่อยู่ในภาชนะ หรือน้ำที่ขังอยู่ใน
สระโบกขรณี หรือในบ่อ.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตหย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้องน้ำ ได้ราคา 5 มาสก
หรือเกินกว่า 5 มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้ไหลเข้าไปในภาชนะของตน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุทำลายคันนา ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้นทำลายคันนาแล้วทำให้
ไหลออกไป ได้ราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก ต้องอาบัติปาราชิก
ทำให้น้ำไหลออกไป ได้ราคาเกินกว่า 1 มาสก หรือหย่อนกว่า 5 มาสก

ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้น้ำไหลออกไป ได้ราคา 1 มาสก หรือหย่อนกว่า
1 มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ.

ทันตโปณวิภาค


[106] ชื่อว่า ไม้ชำระฟัน ได้แก่ไม้ชำระฟันที่ตัดแล้ว หรือที่
ยังมิได้ตัด.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้ชำระฟัน อันมีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า
5 มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก.

วนัปปติวิภาค


[107] ที่ชื่อว่า ต้นไม้เจ้าป่า ได้แก่ต้นไม้ที่คนทั้งหลายหวงห้าม
เป็นไม้ที่ใช้สอยได้.
ภิกษุมีไถยจิตตัด ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ ครั้งที่ฟัน เมื่อการฟันอีก
ครั้งหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อการฟันนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.

หรณกวิภาค


[108] ที่ชื่อว่า ทรัพย์มีผู้นำไป ได้แก่ทรัพย์ที่ผู้อื่นนำไป.
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุคิดว่า จักนำทรัพย์พร้อมกับคนผู้นำทรัพย์ไป แล้วให้ย่างเท้า
ก้าวที่ 1 ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าก้าวที่ 2 ไป ต้องอาบัติปาราชิก.