เมนู

กถาว่าด้วยการสับเปลี่ยนสลาก


[

ปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น

]
ก็ในปกิณกะนี้ คือ
สมุฏฐาน 1 กิริยา สัญญา 1
สจิตตกะ 1 โลกวัชชะ 1 กรรมและกุศล
พร้อมด้วยเวทนา 1

บัณฑิตพึงทราบคำทั้งหมด โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในปฐมสิกขาบท
นั่นเอง ว่า สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 คือ เป็นสาหัตถิกะเกิดทางกายและทาง
จิต, เป็นอาณัตติกะ เกิดทางวาจาและทางจิต, เป็นสาหัตถิกะและอาณัตติกะ
เกิดทางกาย ทางวาจาและทางจิต; และเกิดเพราะทำ; จริงอยู่ เมื่อทำเท่านั้น
จึงต้องอาบัตินั้น; เมื่อไม่ทำก็ไม่ต้อง เป็นสัญญาวิโมกข์ เพราะพ้นด้วยไม่มี
สำคัญว่า เราจะถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้, เป็นสจิตตกะ เป็นโลก
วัชชะ เป็นกายกรรม เป็นวจีกรรม เป็นอกุศลจิต, ภิกษุยินดี หรือกลัว
หรือวางตนเป็นกลาง จึงต้องอาบัตินั้น; เพราะเหตุนั้น สิกขาบทนี้ จึงชื่อว่า
มีเวทนา 3.

[

อรรถาธิบายอุทานคาถาในวินีตวัตถุ

]
ในคาถาแห่งวินีตวัตถุ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- เรื่องภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในอนุบัญญัตินั่นแล. ในเรื่องที่ 2 มีวินิจฉัย
ดังนี้ ขึ้นชื่อว่า จิตของพวกปุถุชน ละปกติไปด้วยอำนาจกิเลสมีราคะ
เป็นต้น ย่อมวิ่งไป คือ พล่านไป ได้แก่ เร่ร่อนไป. ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า