เมนู

การพรรณนาบทภาชนีย์


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงองค์แห่งอทินนาทานที่
ตรัสไว้ ด้วยอำนาจแห่งกิริยาที่ให้เคลื่อนจากฐาน ในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นดิน
เป็นต้นนั้น ๆ และความต่างแห่งอาบัติ กับความต่างกันแห่งวัตถุ จึงตรัสคำ
เป็นต้น ว่า ปญฺจหากาหิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจหากาเรหิ ได้แก่ ด้วยเหตุ 5 อย่าง
มีคำอธิบายว่า ด้วยองค์ 5. ในคำว่า ปญฺจหากาเรหิ เป็นต้นนั้น มีเนื้อ-
ความย่อ ดังต่อไปนี้:- คือ ปาราชิก ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของ
ไม่ได้ให้ ด้วยอาการ 5 อย่างที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ทรัพย์อันผู้อื่น
หวงแหน 1; เพราะไม่ครบองค์ 5 นั้น จึงไม่เป็นปาราชิก. ในคำนั้น มี
อาการ 5 อย่างเหล่านี้ คือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน 1 เข้าใจว่าทรัพย์อันผู้
อื่นหวงแหน 1 ความที่บริขารเป็นครุภัณฑ์ 1 มีไถยจิต 1 การทำให้เคลื่อน
จากฐาน 1. ส่วนในบริขาร ที่เป็นลหุภัณฑ์ ท่านแสดงถุลลัจจัยและทุกกฏไว้
โดยความต่างกันแห่งวัตถุ ด้วยวาระทั้ง 2 อื่นจากอาการ 5 อย่างนั้น.

[

อาการ 6 อย่างที่ให้ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก

]
แม้ในวาระทั้ง 3 ที่ท่านตรัสไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า ฉหากาเรหิ
ก็ควรทราบอาการ 6 อย่างนั้น คือ มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน 1 มิใช่
ถือเอาด้วยวิสาสะ 1 มิใช่ขอยืม 1 ความที่บริขารเป็นครุภัณฑ์ 1 มีไถยจิต 1
การทำให้เคลื่อนจากฐาน 1. ก็บรรดาวารทั้ง 3 แม้นี้ในปฐมวาร ท่านปรับ
เป็นปาราชิก ทุติยวาร และตติยวารท่านปรับเป็นถุลลัจจัย และทุกกฏ โดย
ความต่างกันแห่งวัตถุ. ส่วนในความต่างกันแห่งวัตถุ แม้ที่มีอยู่ในวารทั้ง 3

อื่นจาก 3 วารนั้น ท่านปรับเป็นทุกกฏอย่างเดียว เพราะเป็นวัตถุอันชน
เหล่าอื่นไม่ได้หวงแหน. วัตถุที่ท่านกล่าวใน 3 วารนั้นว่า มิใช่ของอันผู้อื่น
หวงแหน จะเป็นวัตถุที่ยังมิได้ครอบครองก็ตาม จะเป็นของที่เขาทิ้งแล้วหมด
ราคา หาเจ้าของมิได้ หรือจะเป็นของ ๆ ตนก็ตาม, วัตถุแม้ทั้ง 2 ย่อมถึง
ความนับว่า มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน. ก็ในทรัพย์ 2 อย่างนี้ มีความสำคัญ
ว่า ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหนไว้ 1 ถือเอาด้วยไถยจิต 1; เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงไม่กล่าวอนาบัติไว้ ฉะนั้นแล.

[

อรรถาธิบายในอนาปัตติวาร

]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความต่างแห่งอาบัติ ด้วยอำนาจ
แห่งวัตถุและด้วยอำนาจแห่งจิต อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอนาบัติ
จึงตรัสดำว่า อนาปตฺติ สกสญฺญิสฺส ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกสญฺญิสฺส ได้แก่ ภิกษุผู้มีความ
สำคัญว่าเป็นของตน คือ ผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ภัณฑะนี้เป็นของเรา เมื่อ
ถือเอาแม้ซึ่งภัณฑะของผู้อื่น ไม่เป็นอาบัติ เพราะการถือเอา, ควรให้ทรัพย์
ที่ตนถือเอาแล้วนั้นคืน ถ้าถูกพวกเจ้าของทวงว่า จงให้. เธอไม่ยอมคืนให้
เป็นปาราชิก ในเมื่อเจ้าของทรัพย์เหล่านั้นทอดธุระ.
บทว่า วิสฺสาสคฺคาเห ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติ เพราะการถือเอาด้วย
วิสาสะ. แต่ควรรู้ลักษณะแห่งการถือเอาด้วยความวิสาสะ โดยสูตร*นี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เอาอนุญาตให้ถือวิสาสะ แก่บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์
5 คือ เคยเห็นกันมา 1 เคยคบกันมา 1 เคยบอกอนุญาตกันไว้ 1 ยังมี
ชีวิตอยู่ 1 รู้ว่าเราถือเอาแล้ว เขาจักพอใจ 1.
//* วิ. มหา 5/218.