เมนู

การพรรณนาบทภาชนีย์


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงองค์แห่งอทินนาทานที่
ตรัสไว้ ด้วยอำนาจแห่งกิริยาที่ให้เคลื่อนจากฐาน ในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นดิน
เป็นต้นนั้น ๆ และความต่างแห่งอาบัติ กับความต่างกันแห่งวัตถุ จึงตรัสคำ
เป็นต้น ว่า ปญฺจหากาหิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจหากาเรหิ ได้แก่ ด้วยเหตุ 5 อย่าง
มีคำอธิบายว่า ด้วยองค์ 5. ในคำว่า ปญฺจหากาเรหิ เป็นต้นนั้น มีเนื้อ-
ความย่อ ดังต่อไปนี้:- คือ ปาราชิก ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของ
ไม่ได้ให้ ด้วยอาการ 5 อย่างที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ทรัพย์อันผู้อื่น
หวงแหน 1; เพราะไม่ครบองค์ 5 นั้น จึงไม่เป็นปาราชิก. ในคำนั้น มี
อาการ 5 อย่างเหล่านี้ คือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน 1 เข้าใจว่าทรัพย์อันผู้
อื่นหวงแหน 1 ความที่บริขารเป็นครุภัณฑ์ 1 มีไถยจิต 1 การทำให้เคลื่อน
จากฐาน 1. ส่วนในบริขาร ที่เป็นลหุภัณฑ์ ท่านแสดงถุลลัจจัยและทุกกฏไว้
โดยความต่างกันแห่งวัตถุ ด้วยวาระทั้ง 2 อื่นจากอาการ 5 อย่างนั้น.

[

อาการ 6 อย่างที่ให้ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก

]
แม้ในวาระทั้ง 3 ที่ท่านตรัสไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า ฉหากาเรหิ
ก็ควรทราบอาการ 6 อย่างนั้น คือ มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน 1 มิใช่
ถือเอาด้วยวิสาสะ 1 มิใช่ขอยืม 1 ความที่บริขารเป็นครุภัณฑ์ 1 มีไถยจิต 1
การทำให้เคลื่อนจากฐาน 1. ก็บรรดาวารทั้ง 3 แม้นี้ในปฐมวาร ท่านปรับ
เป็นปาราชิก ทุติยวาร และตติยวารท่านปรับเป็นถุลลัจจัย และทุกกฏ โดย
ความต่างกันแห่งวัตถุ. ส่วนในความต่างกันแห่งวัตถุ แม้ที่มีอยู่ในวารทั้ง 3