เมนู

กถาว่าด้วยการสั่ง


บัดนี้ เพื่อความไม่ฉงนในสังเกตกรรม และนิมิตกรรมเหล่านี้นั่นเอง
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกฺขุ อาณาเปติ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า โส ตํ มญฺญมาโน ความว่า
ภิกษุผู้ลุกนั้น เข้าใจทรัพย์ที่ภิกษุผู้สั่ง บอกทำนิมิตเครื่องหมายไว้ว่า เป็น
ทรัพย์นั้น จึงลักทรัพย์นั้นนั่นแล. เป็นปาราซิกทั้ง 2 รูป.
หลายบทว่า โส ตํ มญฺญมาโน อญฺญํ ความว่า ภิกษุผู้ลักนั้น
เข้าใจทรัพย์ที่ภิกษุผู้สั่งๆ ให้ลัก ว่า เป็นทรัพย์นั่น แต่ลักทรัพย์อื่นที่เขาเก็บไว้
ในที่นั้นนั่นแล. ภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุ ไม่เป็นอาบัติ.
หลายบทว่า อญฺญํ มญฺญมาโน ตํ ความว่า ภิกษุผู้ลักเข้าใจ
ทรัพย์อื่นที่ภิกษุผู้สั่ง ทำนิมิตเครื่องหมายบอกไว้อย่างนี้ว่า ทรัพย์นี้มีราคาน้อย,
แต่ทรัพย์อย่างอื่น ที่เขาเก็บไว้ในที่ใกล้ทรัพย์นั้นนั่นเอง เป็นทรัพย์ที่มีคุณค่า
ดังนี้ จึงลักทรัพย์นั้นนั่นเอง เป็นปาราชิก ทั้ง 2 รูป
หลายบทว่า อญฺญํ มญฺญมาโน อญฺญํ ความว่า ภิกษุผู้ลักนั้น
ย่อมเข้าใจโดยนัยก่อนนั่นแลว่า ทรัพย์อย่างอื่นนี้. ที่เขาเก็บไว้ในที่ใกล้ทรัพย์
นั้นนั่นเอง เป็นทรัพย์ที่มีคุณค่า ดังนี้, ถ้าทรัพย์ที่ลักมานั้นเป็นทรัพย์อย่างอื่น
นั่นแล, เป็นปาราชิกแก่เธอผู้ลักเท่านั้น.
ในคำว่า อิตฺถนฺามสฺส ปาวท เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- พึงเห็น
อาจารย์รูปหนึ่ง อันเตวาสิก 3 รูป มีชื่อว่า พุทธรักขิต ธรรมรักขิต และ
สังฆรักขิต.

บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า ภิกขุ ภิกขุํ อาณาเปติ ความว่า
อาจารย์กำหนดทรัพย์บางอย่าง ในสถานที่บางแห่ง แล้วสั่งพระพุทธรักขิต
เพื่อต้องการลักทรัพย์นั้น.
สองบทว่า อิตฺถนฺนามสฺส ปาวท ความว่า (อาจารย์สั่งว่า) ดูก่อน
พุทธรักขิต ! คุณจงไปบอกเนื้อความนั่นแก่พระธรรมรักขิต.
หลายบทว่า อิตฺถนฺนาโม อิตฺถนฺนามสฺส ปาวทตุ ความว่า
แม้พระธรรมรักขิต จงบอกแก่พระสังฆรักขิต.
พระธรรมรักขิตถูกท่านสั่งอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้ จงลักสิ่งของชื่อนี้
แล้วสั่งพระสังฆรักขิตว่า จงลักสิ่งของชื่อนี้ ; แท้จริงบรรดาเราทั้งสอง ท่าน
สังฆรักขิต เป็นคนมีชาติกล้าหาญสามารถในกรรมนี้.
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เป็นทุกกฏ แก่อาจารย์
ผู้สั่งอย่างนี้ก่อน. แต่ถ้าคำสั่งนั้น ดำเนินไปตามความประสงค์ ถุลลัจจัยท่าน
ปร้บไว้ข้างหน้านั่นแล ย่อมมีในขณะสั่ง, ถ้าสิ่งของนั้นจะต้องลักมาได้แน่นอน,
ปาราชิกที่ตรัสไว้ข้างหน้าว่า ทุกรูปต้องปาราชิก ดังนี้ ย่อมมีแก่อาจารย์นี้ใน
ขณะนั้นนั่นเอง เพราะดำรัสที่ตรัสไว้นั้น, ความยุกตินี้ บัณฑิตพึงทราบในที่
ทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้.
หลายบทว่า โส อิตรสฺส อาโรเจติ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่งบอกว่า
พระพุทธรักขิต บอกพระธรรมรักขิต และพระธรรมรักขิต บอกพระสังฆ-
รักขิตว่า อาจารย์ของพวกเรา กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า คุณจงลักทรัพย์ชื่อนี้
ได้ยินว่า บรรดาเราทั้ง 2 ตัวท่านเป็นบุรุษผู้กล้าหาญ ดังนี้, เป็นทุกกฏ
แม้แก่เธอเหล่านั้น เพราะมีการบอกต่อกันไป ด้วยอาการอย่างนั้นเป็นปัจจัย.
สองบทว่า อวหารโก ปฏิคฺคณฺหาติ ความว่า พระสังฆรักขิต
รับว่า ดีละ ผมจักลัก.

หลายบทว่า มูลฏฺฐสฺส อาปตฺติ ถุลฺลจฺจยสฺส ความว่า พอ
พระสังฆรักขิตรับคำสั่ง เป็นถุลลัจจัย แก่อาจารย์, เพราะคนหลายคนถูก
อาจารย์นั้นชักชวนแล้ว ในบาปแล.
หลายบทว่า โส ตํ ภณฺฑํ ความว่า ถ้าภิกษุนั้น คือ พระสังฆรักขิต
ลักสิ่งของนั้นมาได้ไซร้, เป็นปาราชิกทั้งหมด คือ ทั้ง 4 คน, และหาเป็น
ปาราชิกแก่ 4 คน อย่างเดียวไม่, สมณะตั้งร้อย หรือสมณะตั้งพันก็ตาม
ที่สั่งโดยสืบต่อกันไป ไม่ทำให้ผิดการนัดหมาย โดยอุบายยอย่างนั้น เป็นปาราชิก
ด้วยกันทั้งหมดทีเดียว.
ในทุติยวาร พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
หลายบทว่า โส อญฺญํ อาณาเปติ ความว่า ภิกษุนั้น คือ
พระพุทธรักขิต อันอาจารย์สั่งไว้แล้ว แต่ไม่พบพระธรรมรักขิต หรือเป็นผู้
ไม่อยากจะบอก จึงเข้าไปหาพระสังฆรักขิตทีเดียว แล้วสั่งว่า อาจารย์ของ
พวกเราสั่งไว้อย่างนี้ว่า ได้ยินว่า คุณจงลักสิ่งของชื่อนี้มา.
สองบทว่า อาปตฺดิ ทุกฺกฏสฺส ความว่า พระพุทธรักขิต ชื่อว่า
เป็นทุกกฏ เพราะสั่งก่อน.
หลายบทว่า ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏฺสฺส ความว่า พึง
ทราบว่า เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้สั่ง ซึ่งเป็นต้นเติมทีเดียว ในเมื่อพระสังฆรักขิต
รับแล้ว. ก็ถ้าพระสังฆรักขิตนั้น ลักทรัพย์นั้นมาได้, เป็นปาราชิก แม้ทั้ง
สองรูป คือ พระพุทธรักขิตผู้สั่ง 1 พระสังฆรักขิตผู้ลัก 1. แต่สำหรับอาจารย์
ผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเดิม ไม่เป็นอาบัติปาราชิก เพราะผิดสังเกต. ไม่เป็นอาบัติ
ทุกอย่าง แก่พระธรรมรักขิตเพราะไม่รู้. ส่วนพระพุทธรักขิตทำความสวัสดี
แก่ท่านทั้งสองรูปแล้ว ตนเองพินาศ.

บรรดาอาณัติวาร ทั้ง 4 บท ถัดจากทุติยวารนี้ไป พึงทราบวินิจฉัย
ในอาณัติวารข้อแรกก่อน.
หลายบทว่า โส คนฺตวา ปุน ปจฺจาคจฺฉติ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่ง
นั้น ไปยังทรัพย์ตั้งอยู่แล้ว เห็นมีการอารักขาไว้ ทั้งภายในและภายนอก
ไม่อาจลักเอาได้ จึงกลับมา.
หลายบทว่า ยทา สกฺโกสิ ตทา ความว่า ภิกษุผู้สั่งนั้น สั่งใหม่ว่า
ทรัพย์ที่ท่านลักมาแล้วในวันนี้เท่านั้นหรือ จึงเป็นอันลัก, ไปเถิดท่าน ท่าน
อาจจะลักมาได้ เมื่อใด, ก็จงลักทรัพย์นั้นมา เมื่อนั้น.
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า แม้เพราะสั่งอีกอย่างนั้น
ก็เป็นทุกกฏเท่านั้น. แต่ถ้าทรัพย์นั้น ย่อมเป็นของที่จะลักมาได้แน่นอน. ชื่อว่า
เจตนาที่ให้สำเร็จประโยชน์ ก็เป็นเช่นกับผลที่เกิดในลำดับแห่งมรรค; เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุผู้สั่งนี้ เป็นปาราชิกในขณะสั่งทีเดียว. แม้ถ้าภิกษุผู้ลัก จะลัก
ทรัพย์นั้นมาได้ โดยล่วงไป 60 ปี และภิกษุผู้สั่ง จะทำกาลกิริยา หรือสึก
ไปเสียในระหว่างนั่นเอง จักเป็นผู้ไม่ใช่สมณะเลย ทำกาลกิริยา หรือจักสึกไป,
แต่สำหรับภิกษุผู้ลัก ย่อมเป็นปาราชิกในขณะที่ลักนั่นเอง.
ในทุติยวาร เพราะภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุพูดคำนั้นเบา ๆ ไม่ได้
ประกาศให้ได้ยิน หรือไม่ได้ประกาศให้ได้ยินคำสั่งนี้ว่า เธออย่าลัก เพราะ
เธอผู้เป็นต้นเหตุนั้น เป็นคนหูหนวก; ฉะนั้น ภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุ จึง
ไม่พ้น. ส่วนในตติยวารชื่อพ้น เพราะท่านประกาศให้ได้ยิน. ในจตุตถวาร
แม้ทั้งสองรูปพ้นได้ เพราะภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุนั้น ประกาศให้ได้ยิน และ
เพราะภิกษุผู้รับสั่งนอกนี้ รับคำว่า ดีละ แล้วก็งดเว้นเสีย ด้วยประการฉะนี้.
จบกถาว่าด้วยการสั่ง

การพรรณนาบทภาชนีย์


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงองค์แห่งอทินนาทานที่
ตรัสไว้ ด้วยอำนาจแห่งกิริยาที่ให้เคลื่อนจากฐาน ในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นดิน
เป็นต้นนั้น ๆ และความต่างแห่งอาบัติ กับความต่างกันแห่งวัตถุ จึงตรัสคำ
เป็นต้น ว่า ปญฺจหากาหิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจหากาเรหิ ได้แก่ ด้วยเหตุ 5 อย่าง
มีคำอธิบายว่า ด้วยองค์ 5. ในคำว่า ปญฺจหากาเรหิ เป็นต้นนั้น มีเนื้อ-
ความย่อ ดังต่อไปนี้:- คือ ปาราชิก ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของ
ไม่ได้ให้ ด้วยอาการ 5 อย่างที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ทรัพย์อันผู้อื่น
หวงแหน 1; เพราะไม่ครบองค์ 5 นั้น จึงไม่เป็นปาราชิก. ในคำนั้น มี
อาการ 5 อย่างเหล่านี้ คือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน 1 เข้าใจว่าทรัพย์อันผู้
อื่นหวงแหน 1 ความที่บริขารเป็นครุภัณฑ์ 1 มีไถยจิต 1 การทำให้เคลื่อน
จากฐาน 1. ส่วนในบริขาร ที่เป็นลหุภัณฑ์ ท่านแสดงถุลลัจจัยและทุกกฏไว้
โดยความต่างกันแห่งวัตถุ ด้วยวาระทั้ง 2 อื่นจากอาการ 5 อย่างนั้น.

[

อาการ 6 อย่างที่ให้ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก

]
แม้ในวาระทั้ง 3 ที่ท่านตรัสไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า ฉหากาเรหิ
ก็ควรทราบอาการ 6 อย่างนั้น คือ มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน 1 มิใช่
ถือเอาด้วยวิสาสะ 1 มิใช่ขอยืม 1 ความที่บริขารเป็นครุภัณฑ์ 1 มีไถยจิต 1
การทำให้เคลื่อนจากฐาน 1. ก็บรรดาวารทั้ง 3 แม้นี้ในปฐมวาร ท่านปรับ
เป็นปาราชิก ทุติยวาร และตติยวารท่านปรับเป็นถุลลัจจัย และทุกกฏ โดย
ความต่างกันแห่งวัตถุ. ส่วนในความต่างกันแห่งวัตถุ แม้ที่มีอยู่ในวารทั้ง 3