เมนู

ถามว่า เมื่อภิกษุผู้ใช้สั่งว่า จงลักในเวลาก่อนอาหาร ภิกษุผู้รับใช้
พยายามอยู่ ด้วยอันคิดว่า จักลักในเวลาก่อนอาหารนั่นเอง และสิ่งของนั้น
ย่อมเป็นอันเธอลักมาได้ ในเวลาหลังอาหาร; ในอวหารข้อนี้ เป็นอย่างไร ?
แก้ว่า พระมหาสุมเถระ กล่าวไว้ก่อนว่า นั่นเป็นประโยคในเวลา
ก่อนอาหารแท้; เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุ ย่อมไม่พ้น. ส่วน
พระมหาปทุมเถระ กล่าวว่า ชื่อว่าผิดการนัดหมาย เพราะล่วงเลยกำหนดกาล
ไป; เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุจึงรอดตัวไป.
จบกถาว่าด้วยการนัดหมาย

กถาว่าด้วยการทำนิมิต


การทำนิมิตบางอย่าง เพื่อให้เกิดความหมายรู้ ชื่อว่า นิมิตกรรม.
นิมิตกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ 3 อย่าง โคuนัยเป็นต้นว่า
เราจักขยิบตา ก็ดี. ก็การทำนิมิตแม้อย่างอื่น มีเป็นอเนกประการเป็นต้นว่า
แกว่งไกวมือ ปรบมือ ดีดนิ้วมือ เอียงคอลงไอ และกระแอม พึงสงเคราะห์
เข้าในนิมิตกรรมนี้ ส่วนคำที่เหลือในนิมิตกรรมนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในสังเกต-
กรรมนั้นทีเดียวแล.
จบกถาว่าด้วยการทำนิมิต

กถาว่าด้วยการสั่ง


บัดนี้ เพื่อความไม่ฉงนในสังเกตกรรม และนิมิตกรรมเหล่านี้นั่นเอง
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกฺขุ อาณาเปติ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า โส ตํ มญฺญมาโน ความว่า
ภิกษุผู้ลุกนั้น เข้าใจทรัพย์ที่ภิกษุผู้สั่ง บอกทำนิมิตเครื่องหมายไว้ว่า เป็น
ทรัพย์นั้น จึงลักทรัพย์นั้นนั่นแล. เป็นปาราซิกทั้ง 2 รูป.
หลายบทว่า โส ตํ มญฺญมาโน อญฺญํ ความว่า ภิกษุผู้ลักนั้น
เข้าใจทรัพย์ที่ภิกษุผู้สั่งๆ ให้ลัก ว่า เป็นทรัพย์นั่น แต่ลักทรัพย์อื่นที่เขาเก็บไว้
ในที่นั้นนั่นแล. ภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุ ไม่เป็นอาบัติ.
หลายบทว่า อญฺญํ มญฺญมาโน ตํ ความว่า ภิกษุผู้ลักเข้าใจ
ทรัพย์อื่นที่ภิกษุผู้สั่ง ทำนิมิตเครื่องหมายบอกไว้อย่างนี้ว่า ทรัพย์นี้มีราคาน้อย,
แต่ทรัพย์อย่างอื่น ที่เขาเก็บไว้ในที่ใกล้ทรัพย์นั้นนั่นเอง เป็นทรัพย์ที่มีคุณค่า
ดังนี้ จึงลักทรัพย์นั้นนั่นเอง เป็นปาราชิก ทั้ง 2 รูป
หลายบทว่า อญฺญํ มญฺญมาโน อญฺญํ ความว่า ภิกษุผู้ลักนั้น
ย่อมเข้าใจโดยนัยก่อนนั่นแลว่า ทรัพย์อย่างอื่นนี้. ที่เขาเก็บไว้ในที่ใกล้ทรัพย์
นั้นนั่นเอง เป็นทรัพย์ที่มีคุณค่า ดังนี้, ถ้าทรัพย์ที่ลักมานั้นเป็นทรัพย์อย่างอื่น
นั่นแล, เป็นปาราชิกแก่เธอผู้ลักเท่านั้น.
ในคำว่า อิตฺถนฺามสฺส ปาวท เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- พึงเห็น
อาจารย์รูปหนึ่ง อันเตวาสิก 3 รูป มีชื่อว่า พุทธรักขิต ธรรมรักขิต และ
สังฆรักขิต.