เมนู

ก็ภิกษุรูปใดไม่ได้ไล่ให้โคที่นอนอยู่ลุกขึ้น แต่ให้ฆ่าเสียในที่นั้นนั่นเอง เป็น
ภัณฑไทยแก่ภิกษุรูปนั้น. ก็บ้านทั้งสิ้น เป็นฐานของโคตัวยืนอยู่ในบ้านที่ได้
ประกอบประตูล้อมไว้เป็นอย่างดี สำหรับโคตัวที่ยืนอยู่ หรือที่เที่ยวไปในบ้าน
ซึ่งไม่ได้ล้อม สถานที่ ๆ เท้าทั้ง 4 ย่ำไปย่ำมานั้น เอง เป็นฐาน. แม้ในสัตว์
ทั้งหลาย มีลา และปศุสัตว์เป็นต้น ก็มีวินิจฉัยเหมือนกันนี้นั่นแล.
จบกถาว่าด้วยสัตว์ 4 เท้า

กถาว่าด้วยสัตว์มีเท้ามาก


พึงทราบวินิจฉัยในสัตว์มีเท้ามากต่อไป :- ถ้าวัตถุปาราชิกเต็มด้วย
ตะขาบตัวเดียว เมื่อภิกษุลักตะขาบตัวนั้นไปด้วยเท้า เป็นถุลลัจจัย 99 ตัว,
เป็นปาราชิกตัวเดียว. คำที่เหลือ มีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบกถาว่าด้วยสัตว์มีเท้ามาก

กถาว่าด้วยภิกษุผู้สั่ง


ที่ชื่อว่าภิกษุผู้สั่ง เพราะอรรถว่า ประพฤติเลวทราม. ท่านกล่าว
อธิบายว่า ย่อมตามเข้าไปข้างใน ในสถานที่นั้น ๆ.
บทว่า โอจริตฺวา ความว่า คอยกำหนด คือ คอยตรวจดู.
บทว่า อาจิกฺขติ ความว่า ภิกษุแกล้งบอกทรัพย์ที่เก็บไว้ไม่ดี ใน
ตระกูลของชนอื่นหรือวิหารเป็นต้น ซึ่งมิได้จัดการอารักขาไว้แก่ภิกษุรูปอื่น
ผู้สามารถจะทำโจรกรรมได้.
หลายบทว่า อาปตฺติ อุภินฺนํ ปาราชิกสฺส ความว่า เธอทั้งสอง
รูป ต้องอาบัติปาราชิก อย่างนี้ คือ ในทรัพย์ที่จะต้องลักได้แน่นอน ภิกษุ
ผู้สั่ง เป็นในขณะสั่ง ภิกษุผู้รับสั่งนอกนี้ เป็นในขณะทำให้เคลื่อนจากฐาน
ส่วนภิกษุรูปใด ทำปริยายโดยนัยเป็นต้นว่า ในเรือนไม่มีผู้ชาย เขาเก็บทรัพย์
ชื่อโน้นไว้ในส่วนหนึ่ง ไม่ได้จัดการอารักขาไว้ ทั้งประตูก็ไม่ได้ปิด, อาจจะ
ลักเอาไปได้ตามทางที่ไปแล้วนั่นแหละ ชื่อว่าบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ที่จะพึงไปลัก
เอาทรัพย์นั้น มาเลี้ยงชีวิตอย่างลูกผู้ชายไม่มี. และภิกษุรูปอื่นได้ฟังคำนั้นแล้ว
คิดว่า บัดนี้เราจักลักเอา (ทรัพย์นั้น) จึงเดินไปลัก, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุรูป
นั้น ในขณะที่ทำให้เคลื่อนจากฐาน. ส่วนภิกษุรูปนี้ไม่เป็นอาบัติ. จริงอยู่
ภิกษุผู้ทำปริยายนั้น ย่อมพ้นจากอทินนาทานโดยปริยาย ฉะนั้นแล.
จบกถาว่าด้วยภิกษุผู้สั่ง