เมนู

ไถยจิต ทั้งอวหารก็ไม่มีเลย เพราะอำนาจแห่งการเดินทาง และเมื่อมีพวก
โจรดักอยู่ในระหว่างทาง แม้เมื่อภิกษุกล่าวว่า เฮ้ย ! พวกโจรซุ่มดักแล้ว,
แกจงรีบหนีไป จงรีบมาไป ดังนี้ พระอาจารย์ทั้งหลาย ก็ไม่ปรับเป็นอวหาร
เพราะเธอกล่าวเพื่อต้องการให้พ้นจากอันตรายแต่โจร ด้วย ประการฉะนี้.
จบกถาว่าด้วยสัตว์มีชีวิต

กถาว่าด้วยสัตว์ไม่มีเท้า


บรรดาสัตว์ไม่มีเท้าทั้งหลาย ที่ชื่อว่างู มีเจ้าของ คือ งูที่พวกหมองู
เป็นต้นจับไว้ เมื่อให้เล่น ย่อมได้ค่าดูกึ่งบาทบ้าง บาทหนึ่งบ้าง กหาปณะหนึ่ง
บ้าง, แม้เมื่อจะปล่อยออก ก็รับเอาเงินและทองแล้วแลจึงปล่อยออก. เจ้าของงู
เหล่านั้น ไปยังโอกาสที่ภิกษุบางรูปนั่งแล้ววางกล่องงูไว้ นอนหลับไป หรือ
ไปในที่ไหน ๆ เสีย. ถ้าภิกษุนั้นจับกล่องนั้นในสถานที่นั้น ด้วยไถยจิต ต้อง
ทุกกฏ. ทำให้ไหวต้องถุลลัจจัย, ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องปาราชิก. แต่ถ้าเธอ
เปิดกล่องออกแล้วจับงูที่คอ ต้องทุกกฏ, ยกงูขึ้นต้องถุลลัจจัย, เมื่อเธอยกขึ้น
ให้ตรง ๆ พอเมื่อหางงูพ้นจากพื้นกล่องเพียงปลายเส้นผม ก็ต้องปาราชิก. เมื่อ
เธอดึงครูดออกไป พอหางงูพ้นจากขอบปาก (กล่อง) ไป ต้องปาราชิก.

เธอเปิดปากกล่องออกนิดหน่อยแล้ว ตี หรือร้องเรียกออกชื่อว่า เฮ้ย ! จง
เลื้อยออกมา แล้วให้เลื้อยออก ต้องปาราชิก. เธอเปิดออกเหมือนอย่างนั้นแล้ว
จึงทำเสียงกบร้อง หรือเสียงหนูร้อง หรือโปรยข้าวตอกลงตาม แล้วร้องเรียก
ออกซึ่ง หรือดีดนิ้วมือก็ตาม แม้เมื่องูเลื้อยออกไป ด้วยกิริยาที่ทำเสียงเป็นต้น
อย่างนั้น ก็ต้องปาราชิก. เมื่อเธอไม่ได้เปิดปากออก แต่ได้ทำกิริยาอย่างนั้น
งูหิวจัด จึงชูศีรษะขึ้นดันฝากล่อง ทำช่องแล้วก็เลื้อยหนีไป เป็นปาราชิก
เหมือนกัน. แต่เมื่อเธอเปิดปากออกแล้ว งูเลื้อยออกหนีไปเสียเอง ย่อมเป็น
ภัณฑไทย. แม้ถ้าเธอเปิดปากออกก็ตาม ไม่ได้เปิดออกก็ตาม แต่ได้ทำเป็น
เสียงกบและเสียงหนูร้อง หรือโปรยข้าวตอกลงเท่านั้นอย่างเดียว ไม่ได้ร้อง
เรียกระบุชื่อ หรือไม่ได้ดีดนิ้วมือ, เพราะหิวจัด งูคิดว่า จักกินกบเป็นต้น
จึงเลื้อยออกหนีไป เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน. ในอธิการนี้ ปลาอย่างเดียว
มาแล้วด้วย อปท ศัพท์. ก็คำที่จะพึงกล่าวในปลานี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว
ในภัณฑะตั้งอยู่ในน้ำนั่นเทียว ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยสัตว์ไม่มีเท้า

กถาว่าด้วยสัตว์ 2 เท้า


บรรดาสัตว์สองเท้าทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดง
จำพวกสัตว์ 2 เท้า ซึ่งใคร ๆ อาจลักเอาไปได้ จึงตรัสคำว่า มนุสฺสา
ปกฺขชาตา
เป็นต้น. ส่วนพวกเทวดา ใคร ๆ ไม่อาจลักเอาไปได้. ที่ชื่อว่า
นก เพราะอรรถว่า สัตว์เหล่านั้นมีปีกเกิดแล้ว. สัตว์มีปีกเหล่านั้น มี 3
จำพวก คือ มีขนเป็นปีกจำพวกหนึ่ง มีหนังเป็นปีกจำพวกหนึ่ง มีกระดูก
เป็นปีกจำพวกหนึ่ง, บรรดาสัตว์เหล่านั้น นกยูงและไก่เป็นต้น พึงทราบว่า
มีขนเป็นปีก, ค้างคาวเป็นต้น พึงทราบว่ามีหนังเป็นปีก, แมลงภู่เป็นต้น
พึงทราบว่า มีกระดูกเป็นปีก. ในอธิการนี้ มนุษย์และนกเหล่านั้นทั้งหมด
มาแล้วด้วยทวิปทศัพท์ล้วน ๆ. ส่วนคำที่จะพึงกล่าวในสัตว์ 2 เท้านี้ ข้าพเจ้า
ได้กล่าวไว้แล้วในภัณฑะที่อยู่ในอากาศ และสัตว์มีชีวิตนั่นเทียว ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยสัตว์ 2 เท้า