เมนู

กถาว่าด้วยด่านภาษี


ชนทั้งหลาย ย่อมตระบัดภาษีจากที่นั้น เหตุนั้น ที่นั้น ชื่อว่า
สุงกฆาฏะ ที่เป็นแดนตระบัดภาษี. คำว่า สุงกฆาฏะ นั่น เป็นชื่อของ
ด่านภาษี. จริงอยู่ ด่านภาษีนั้น ท่านเรียกว่า สุงกฆาฏะ เพราะเหตุที่ชน
ทั้งหลาย เมื่อไม่ยอมให้ของควรเสียภาษี เป็นด่านภาษีนำออกไปจากที่นั้น ชื่อว่า
ตระบัด คือ ยังภาษีของพระราชาให้สูญหายไป.
สองบทว่า ตตฺร ปวิสิตฺวา มีความว่า เข้าไปในด่านภาษีที่พระราชา
ทรงทำกำหนดตั้งไว้ในที่ทั้งหลาย มีเขาขาดเป็นต้นนั้น.
สองบทว่า ราชคฺฆํ ภณฺฑํ ได้แก่ ภัณฑะที่ควรแก่พระราชา.
อธิบายว่า ภาษีมีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก เป็นของที่ตนควร
ถวายแด่พระราชา จากภัณฑะใด, ภัณฑะนั้น. ปาฐะว่า ราชกํ บ้าง. เนื้อ
ความอย่างนี้เหมือนกัน. ภิกษุมีไถยจิต คือ ยังไถยจิตให้เกิดขึ้นว่า เราจะไม่
ให้ภาษีแก่พระราชาจากภัณฑะนี้ แล้วลูบคลำภัณฑะนั้น ต้องทุกกฏ, หยิบ
จากที่ที่วางไว้ใส่ในย่าม หรือผูกติดกับขาไว้ในที่ปิดบัง ต้องถุลลัจจัย, กิริยา
ที่ให้เคลื่อนจากฐาน ชื่อว่ายังไม่มี เพราะเขตแห่งปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกำหนดด้วยด่านภาษี. ภิกษุยังเท้าที่ 2 ให้ก้าวข้ามเขตกำหนดด่านภาษีไป
ต้องปาราชิก.
สองบทว่า พหิ สุงฺกฆาฏํ ปาเตติ มีความว่า ภิกษุอยู่ภายใน
นั่นเอง เห็นราชบุรุษทั้งหลาย เมินเหม่อเสีย จึงขว้างไป เพื่อต้องการให้ตก
ไปภายนอก ถ้าภัณฑะนั้น เป็นของจะตกได้แน่นอน พอหลุดจากมือ เธอต้อง
ปาราชิก. ถ้าภัณฑะนั้น กระต้นไม่ หรือตอไม้ หรือถูกกำลังลมแรงหอบไป

ตกในภายในนั่นแลอีก ยังคุ้มได้. เธอหยิบขว้างไปอีก ต้องปาราชิก ตามนัย
ที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. ถ้าภัณฑะนั้นตกที่พื้นดิน แล้วกลิ้งเข้ามาข้างใน
อีก เธอต้องปาราชิกเหมือนกัน. ส่วนในกุรุนที และสังเขปอรรถกถากล่าวว่า
ถ้าภัณฑะนั้นตกข้างนอก หยุดแล้วจึงกลิ้งเข้าไป เธอต้องปาราชิก ถ้ายังไม่
ทันหยุดเลยกลิ้งเข้าไป ยังคุ้มได้. ภิกษุอยู่ภายในใช้มือ หรือเท้า หรือไม้เท้า
เขี่ยกลิ้งไป หรือว่าให้ผู้อื่นกลิ้งไป, ถ้าภัณฑะนั้นไม่หยุด กลิ้งออกไปต้อง
ปาราชิก. ภัณฑะนั้นหยุดข้างในแล้ว จึงออกไปข้างนอก ยังคุ้มได้. ภัณฑะ
ที่ภิกษุวางไว้ภายใน ด้วยคิดว่า จักกลิ้งออกไปเอง หรือว่าผู้อื่นจักให้มันกลิ้ง
ออกไป ภายหลังกลิ้งเอง หรือผู้อื่นกลิ้งออกไปข้างนอก ยังคุ้มได้เหมือนกัน.
แต่ในภัณฑะที่ภิกษุวางไว้ด้วยจิตบริสุทธิ์ และกลิ้งออกไปอย่างนั้น ไม่มีคำที่
จะพึงกล่าวเลย. ภิกษุทำห่อสองห่อให้ติดกันเป็นพวงเดียว วางไว้ระหว่างแดน
ของด่านภาษี แม้ว่าด่าภาษีในห่อนอกจะได้ราคาบาทหนึ่ง ก็จริง ถึงกระนั้น
ห่อในยังคุ้มไว้ได้ เพราะเนื่องเป็นพวงเดียวกันกับห่อนอกนั้น. แต่ถ้าเธอย้าย
ห่อที่อยู่ภายในไปวางไว้ข้างนอก ต้องปาราชิก. แม้ในหาบที่ภิกษุทำให้เนื่อง
เป็นอันเดียวกันวางไว้ ก็มีนัยเหมือนกัน . แต่ถ้าภัณฑะนั้น เป็นของไม่ได้ผูก
สักว่าพาดไว้บนปลายคานเท่านั้น เป็นปาราชิก. ภิกษุวางไว้ในยาน หรือบน
หลังม้าเป็นต้น ซึ่งกำลังไป ด้วยทำในใจว่า ภัณฑะนี้มันจักนำออกไปใน
ภายนอก เมื่อภัณฑะนั้นถูกนำออกไปแล้ว อวหารย่อมไม่มี แม้ภัณฑไทยก็
ไม่มี. เพราะเหตุไร ? เพราะพระราชาพิกัดไว้ว่า จงเก็บภาษีแก่คนผู้เข้ามา
ในที่นี้, จริงอยู่ ภัณฑะนี้ ภิกษุตั้งไว้นอกด่านภาษี และเธอมิได้นำไป;
เพราะฉะนั้น จึงไม่มีภัณฑไทย ไม่เป็นปาราชิก. แม้ในภัณฑะที่วางไว้ใน
ยานที่จอดอยู่เป็นต้น ครั้นเมื่อยานเป็นต้นนั้นไป เว้นประโยคของภิกษุนั้น

แม้เมื่อมีไถยจิต อวหารย่อมไม่มีเหมือนกัน. แต่ถ้าภิกษุวางแล้ว ขับยาน
เป็นต้นไปอยู่ ให้ก้าวล่วงไปก็ดี ยืนข้างหน้าแล้ว เรียกว่า มาเถิดโว้ย ดังนี้
เพราะความที่ตนสั่งสมไว้ในมนต์ทั้งหลาย มีมนต์เรียกช้างเป็นต้นก็ดี ต้อง
ปาราชิก ในขณะก้าวล่วงแดนไป. ในเอฬกโลมสิกขาบท ไม่เป็นอาบัติใน
ฐานะนี้ คือ ภิกษุให้ผู้อื่นนำขนเจียมไป, ในสิกขาบทนี้เป็นปาราชิก. ใน
เอฬกโลมสิกขาบทนั้น ภิกษุใส่ขนเจียมในยานหรือภัณฑะเองชนอื่นผู้ไม่รู้ ให้
ก้าวล่วงสามโยชน์ไป. ขนเจียมเป็นนิสสัคคีย์ เพราะเหตุนั้น ภิกษุต้อง
ปาจิตตีย์, ในสิกขาบทนี้หาเป็นอาบัติไม่. ภิกษุเสียภาษีที่ด่านภาษีก่อนแล้ว
จึงไป ควรอยู่.
ภิกษุรูปหนึ่ง ทำความผูกใจไว้แล้วไป ด้วยคิดว่า ถ้าเจ้าพนักงานภาษี
ทวงว่า ท่านจงให้ค่าภาษี, เราก็จักให้, ถ้าพวกเขาไม่ทวง. เราจักไป ดังนี้
เจ้าพนักงานภาษีคนหนึ่ง ได้เห็นภิกษุรูปนั้น จึงกล่าวว่า ภิกษุรูปนี้ จะไป,
พวกท่านจงเก็บด่าภาษีภิกษุนั้น. เจ้าพนักงานภาษีอีกนายหนึ่ง พูดขึ้นว่า
บรรพชิตจักมีค่าภาษีแต่ที่ไหนเล่า นิมนต์ไปเถิด ดังนี้. เป็นอันได้ข้ออ้าง
ภิกษุควรไป. ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่เสียค่าภาษีเสียก่อน ไป ไม่ควร, ก็เพราะ
เหตุนั้น เมื่อภิกษุพูดว่า รับเอาเถิด อุบาสก ดังนี้ก็ดี เมื่อเจ้าพนักงานภาษี
พูดว่า เมื่อเราจะเก็บค่าภาษีของภิกษุ ก็จะต้องเอาบาตรและจีวร จะมีประโยชน์
อะไรด้วยบาตรและจีวรนั้น นิมนต์ไปเถิด ดังนี้ก็ดี เป็นอัน ได้ข้ออ้างทีเดียว.
ถ้าพวกเจ้าพนักงานภาษี นอนหลับอยู่ก็ดี เล่นสกาอยู่ก็ดี หรือไปในที่ไหน ๆ
เสียก็ดี, และภิกษุนี้ แม้ร้องเรียกว่า พวกเจ้าพนักงานภาษี อยู่ที่ไหนกัน ?
ก็ไม่พบเห็น, เป็นอันได้ข้ออ้างเหมือนกัน. แม้ถ้าภิกษุไปถึงด่านภาษีแล้ว
เผอเรอไป คิดถึงอะไร ๆ อยู่ก็ดี สาธยายอยู่ก็ดี ตามประกอบมนสิการอยู่ก็ดี

ถูกภยันตราย มีโจร ช้าง ราชสีห์ และเสือโคร่งเป็นต้น ลุกวิ่งไล่ติดตามไป
ก็ดี เห็นมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว ประสงค์จะเข้าไปยังศาลาข้างหน้าก็ดี ล่วงเลย
สถานที่นั้นไป; เป็นอันได้ข้ออ้างเหมือนกัน.
ในคำว่า ภิกษุหลบเลี่ยงภาษี นี้ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถากุรุนที่ว่า
ถึงภิกษุก้าวลงสู่อุปจารแล้วหลบเลี่ยงไป ก็จริง ก็เป็นอวหารทีเดียว. แต่ใน
มหาอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุเล็งเห็นโทษอย่างเดียวว่า พวกราช-
บุรุษ เบียดเบียนผู้หลบเลี่ยง ดังนี้ จึงก้าวลงสู่อุปจารแล้ว หลบเลี่ยงไปเป็น
ทุกกฏ, เมื่อไม่ได้ก้าวลงเลย แต่หลบเลี่ยงไป ไม่เป็นอาบัติ. คำในมหา
อรรถกถานี้ ย่อมสมด้วยพระบาลี. ในด่านภาษีนี้ ควรกำหนดอุปจารไว้ 2
เลฑฑุบาต ฉะนั้นแล.
จบกถาว่าด้วยด่านภาษี

กถาว่าด้วยสัตว์มีชีวิต


ถัดจากกถาด่านภาษีนี้ไป พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงสัตว์
ที่มีชีวิต ซึ่งพอควรแก่อวหารโดยส่วนเดียว จึงตรัสว่า มนุสฺสปาโณ เป็นต้น.
เมื่อภิกษุลักมนุษย์ผู้ยังมีชีวิตแม้นั้น ซึ่งเป็นไทไป ย่อมไม่เป็นอวหาร. แม้
มนุษย์ผู้เป็นไทคนใด ถูกมารดาหรือบิดาเอาไปจำนำไว้ หรือตัวเองเอาตัว
เป็นประกันไว้ แล้วได้ถือเอาทรัพย์ 50 หรือ 60 กหาปณะไป, เมื่อภิกษุลัก
เอามนุษย์ผู้เป็นไทแม้คนนั้นไป ก็ไม่เป็นอวหาร. ส่วนทรัพย์ย่อมเพิ่มดอกเบี้ย
ขึ้นในสถานที่เขาไป. แต่เมื่อภิกษุลักทาสนั่นแล ต่างโดยเป็นทาสที่เกิดใน
เรือนเบี้ย ทาสสินไถ่และทาสที่ถูกนำมาเป็นเชลย ย่อมเป็นอวหาร. จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาทาสผู้เกิดในเรือนเบี้ยเป็นต้น นั้นนั่นแล จึง
ตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ที่ชื่อว่าสัตว์มีชีวิต เราเรียกคนยังมีชีวิต ดังนี้.

[

บุคคลผู้เป็นทาส 3 จำพวก

]
ก็บรรดาทาสเหล่านั้น ทาสที่เกิดในท้องของนางทาสี ในเรือนพึงทราบ
ว่า อันโตชาตกะ ทาสที่เกิดภายใน. ทาสที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ พึงทราบว่า
ธนักกีตกะ ทาสที่ไถ่มาด้วยทรัพย์, บุคคลที่ถูกกวาดต้อนมาจากต่างประเทศ
แล้วเข้าถึงความเป็นทาส พึงทราบว่า กรมรานีตะ ทาสที่ถูกนำมาเป็นเชลย.
ภิกษุคิดว่า เราจักลักมนุษย์ที่มีชีวิตเห็นปานนี้ไป แล้วลูบคลำ ต้องทุกกฏ.
เมื่อเธอจับที่มือ หรือเท้ายกขึ้น ทำให้ไหว ต้องถุลลัจจัย. เธอใคร่จะยกหนีไป
ให้ล่วงเลยจากสถานที่ ๆ ยืนอยู่ แม้เพียงปลายเส้นผมไป ต้องปาราชิก. เธอ
จับที่ผมหรือที่แขนทั้งสอง ฉุดคร่าไป พึงปรับตามย่างเท้า. ภิกษุคิดว่า เราจัก