เมนู

กถาว่าด้วยด่านภาษี


ชนทั้งหลาย ย่อมตระบัดภาษีจากที่นั้น เหตุนั้น ที่นั้น ชื่อว่า
สุงกฆาฏะ ที่เป็นแดนตระบัดภาษี. คำว่า สุงกฆาฏะ นั่น เป็นชื่อของ
ด่านภาษี. จริงอยู่ ด่านภาษีนั้น ท่านเรียกว่า สุงกฆาฏะ เพราะเหตุที่ชน
ทั้งหลาย เมื่อไม่ยอมให้ของควรเสียภาษี เป็นด่านภาษีนำออกไปจากที่นั้น ชื่อว่า
ตระบัด คือ ยังภาษีของพระราชาให้สูญหายไป.
สองบทว่า ตตฺร ปวิสิตฺวา มีความว่า เข้าไปในด่านภาษีที่พระราชา
ทรงทำกำหนดตั้งไว้ในที่ทั้งหลาย มีเขาขาดเป็นต้นนั้น.
สองบทว่า ราชคฺฆํ ภณฺฑํ ได้แก่ ภัณฑะที่ควรแก่พระราชา.
อธิบายว่า ภาษีมีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก เป็นของที่ตนควร
ถวายแด่พระราชา จากภัณฑะใด, ภัณฑะนั้น. ปาฐะว่า ราชกํ บ้าง. เนื้อ
ความอย่างนี้เหมือนกัน. ภิกษุมีไถยจิต คือ ยังไถยจิตให้เกิดขึ้นว่า เราจะไม่
ให้ภาษีแก่พระราชาจากภัณฑะนี้ แล้วลูบคลำภัณฑะนั้น ต้องทุกกฏ, หยิบ
จากที่ที่วางไว้ใส่ในย่าม หรือผูกติดกับขาไว้ในที่ปิดบัง ต้องถุลลัจจัย, กิริยา
ที่ให้เคลื่อนจากฐาน ชื่อว่ายังไม่มี เพราะเขตแห่งปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกำหนดด้วยด่านภาษี. ภิกษุยังเท้าที่ 2 ให้ก้าวข้ามเขตกำหนดด่านภาษีไป
ต้องปาราชิก.
สองบทว่า พหิ สุงฺกฆาฏํ ปาเตติ มีความว่า ภิกษุอยู่ภายใน
นั่นเอง เห็นราชบุรุษทั้งหลาย เมินเหม่อเสีย จึงขว้างไป เพื่อต้องการให้ตก
ไปภายนอก ถ้าภัณฑะนั้น เป็นของจะตกได้แน่นอน พอหลุดจากมือ เธอต้อง
ปาราชิก. ถ้าภัณฑะนั้น กระต้นไม่ หรือตอไม้ หรือถูกกำลังลมแรงหอบไป