เมนู

กถาว่าด้วยผู้นำทรัพย์ไป


ในภัณฑะที่มีผู้นำไป มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภัณฑะที่ผู้อื่นนำไป ชื่อว่า
หรณกะ.
สองบทว่า เถยฺยจิตฺโต อามสติ ความว่า ภิกษุเห็นชนอื่นผู้ใช้
สีสภาระเป็นต้นทูนเอาสิ่งของเดินไป แล้วคิดอยู่ในใจว่า เราจักแย่งเอาสิ่งของ
นั่นไป จึงรีบไปลูบคลำ เพียงการลูบคลำเท่านี้ เธอเป็นทุกกฏ.
บทว่า ผนฺทาเปติ ความว่า ภิกษุทำการฉุดมาและฉุดไป แต่เจ้าของ
ยังไม่ปล่อย, เพราะทำให้ไหวนั้น เธอเป็นถุลลัจจัย.
สองบทว่า ฐานา จาเวติ ความว่า ภิกษุฉุดมาให้พ้นจากมือเจ้าของ,
เพราะเหตุที่ให้พ้นนั้น เธอเป็นปาราชิก. แต่ถ้าเจ้าของภัณฑะลุกขึ้นมาแล้วโบยตี
ภิกษุนั้น บังคับให้วางภัณฑะนั้น แล้วจึงรับคืนอีก , ภิกษุเป็นปาราชิก เพราะ
การถือเอาคราวแรกนั่นเอง. เมื่อภิกษุตัดหรือแก้เครื่องอลังการ จากศีรษะ
หู คอ หรือจากมือถือเอา พอสักว่าเธอแก้ให้พ้นจากอวัยวะมีศีรษะเป็นต้น
ก็เป็นปาราชิก. แต่เธอไม่ได้นำกำไลมือหรือทองปลายแขนที่มือออก เป็นแต่
รูดไปทางปลายแขน ให้เลื่อนไป ๆ มา ๆ หรือทำให้เชิดไปในอากาศ, ก็ยัง
รักษาอยู่ก่อน เครื่องประดับมีกำไลมือเป็นต้น ให้เกิดเป็นปาราชิกไม่ได้
ดุจวลัยที่โคนต้นไม้และราวจีวรฉะนั้น; เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า มือที่
สวมเครื่องประดับมีวิญญาณ. จริงอยู่ เครื่องประดับมีกำไลมือเป็นต้น ซึ่ง
สวมอยู่ในส่วนแห่งอวัยวะที่มีวิญญาณ ยังนำออกจากมือนั้นไม่ได้เพียงใด ก็ยัง
มีอยู่ในมือนั้นนั่นเองเพียงนั้น. ในวงแหวนที่สวมนิ้วมือ ในเครื่องประดับเท้า
และสะเอว ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนภิกษุรูปใด แย่งชิงเอาผ้าสาฎกที่ผู้อื่น