เมนู

กถาว่าด้วยต้นไม้เจ้าป่า


บทว่า วนปฺปติ ได้แก่ ต้นไม้เป็นเจ้าแห่งป่า คำว่า วนัปปติ นั่น
เป็นชื่อของต้นไม้ที่เจริญที่สุดในป่า. ก็ต้นไม้ที่พวกมนุษย์หวงห้ามแม้ทั้งหมด
มีมะม่วง ขนุนสำมะลอ และขนุนธรรมดาเป็นต้น ท่านประสงค์เอาในอธิการนี้.
ก็หรือว่า พวกมนุษย์ปลูกกระวานและเถาวัลย์เป็นต้นขึ้นไว้ที่ต้นไม้ใด, ต้นไม้
นั้น เมื่อถูกภิกษุตัด ถ้าเปลือกก็ดี ใยก็ดี สะเก็ดก็ดี กระพี้ก็ดี แม้อันเดียว
ยังติดเนื่องกันอยู่แล ล้มลงบนพื้นดิน ก็ยังรักษาอยู่ก่อน. ส่วนต้นไม้ใดแม้
ถูกตัดขาดแล้ว ก็ยังตั้งอยู่ตรง ๆ นั่นเอง เพราะมีเถาวัลย์หรือกิ่งไม้โดยรอบ
ธารไว้ หรือเมื่อล้มลงไปยังไม่ถึงพื้นดิน, ในต้นไม้นั้น ไม่มีการหลีกเลี่ยง
คือ เป็นอวหารทีเดียว. แม้ต้นไม้ใด ที่ภิกษุเอาเลื่อนตัดขาดแล้ว ก็ยังตั้งอยู่
ในทีนั้นนั่นเอง เป็นเหมือนยังไม่ขาดฉะนั้น, แม้ในต้นไม้นั้น ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. ส่วนภิกษุรูปใด ทำต้นไม้ให้หย่อนกำลัง ภายหลังจึงเขย่าให้ล้ม
ลงก็ดี ให้ผู้อื่นเขย่าก็ดี ตัดไม้ต้นอื่นใกล้ต้นไม้นั้นทับลงไว้เองก็ดี ให้ผู้อื่น
ตัดทับก็ดี ต้อนพวกลิงให้ไปขึ้นบนต้นไม้นั้นก็ดี สั่งคมอื่นให้ต้อนขึ้นไปก็ดี
ต้อนพวกค้างคาวให้ขึ้นบนต้นไม้นั้นก็ดี สั่งคนอื่นให้ต้อนขึ้นไปก็ได้ ค้างคาว
เหล่านั้น ทำต้นไม้นั้นให้ล้มลง ; อวหารย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้นเหมือนกัน.
แต่ถ้าเมื่อทำต้นไม้หย่อนกำลังแล้ว มีผู้อื่นซึ่งเธอมิได้บังคับเคย เขย่า
ต้นไม้นั้นให้ล้มลงก็ตาม เอาต้นไม้ทับไว้เองก็ตาม พวกลิงหรือค้างคาวขึ้น

เกาะตามธรรมดาของตนก็ตาม มีผู้อื่นซึ่งเธอมิได้บังคับขึ้นไปเองก็ตาม เธอ
แผ้วถางทางลมไว้เสียเองก็ตาม, ลมที่มีกำลังแรงพัดมาทำต้นไม้ให้ล้มลง ;
เป็นภัณฑไทย ในที่ทุกแห่ง. ก็ในอธิการนี้ การแผ้วถางทางลมในเมื่อลมยัง
ไม่พัดมา สมด้วยกิจทั้งหลาย มีการแต่งลำรางที่แห้งให้ตรงเป็นต้น หาสมโดย
ประการอื่นไม่. ภิกษุเจาะต้นไม้แล้วเอาศัสตราตอกก็ดี จุดไฟเผาก็ดี ตอก
เงี่ยงกระเบนที่เป็นพิษไว้ก็ดี ต้นไม้นั้นย่อมตายไป ด้วยการกระทำใด, ในการ
กระทำนั้นทั้งหมด เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยต้นไม้เจ้าป่า

กถาว่าด้วยผู้นำทรัพย์ไป


ในภัณฑะที่มีผู้นำไป มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภัณฑะที่ผู้อื่นนำไป ชื่อว่า
หรณกะ.
สองบทว่า เถยฺยจิตฺโต อามสติ ความว่า ภิกษุเห็นชนอื่นผู้ใช้
สีสภาระเป็นต้นทูนเอาสิ่งของเดินไป แล้วคิดอยู่ในใจว่า เราจักแย่งเอาสิ่งของ
นั่นไป จึงรีบไปลูบคลำ เพียงการลูบคลำเท่านี้ เธอเป็นทุกกฏ.
บทว่า ผนฺทาเปติ ความว่า ภิกษุทำการฉุดมาและฉุดไป แต่เจ้าของ
ยังไม่ปล่อย, เพราะทำให้ไหวนั้น เธอเป็นถุลลัจจัย.
สองบทว่า ฐานา จาเวติ ความว่า ภิกษุฉุดมาให้พ้นจากมือเจ้าของ,
เพราะเหตุที่ให้พ้นนั้น เธอเป็นปาราชิก. แต่ถ้าเจ้าของภัณฑะลุกขึ้นมาแล้วโบยตี
ภิกษุนั้น บังคับให้วางภัณฑะนั้น แล้วจึงรับคืนอีก , ภิกษุเป็นปาราชิก เพราะ
การถือเอาคราวแรกนั่นเอง. เมื่อภิกษุตัดหรือแก้เครื่องอลังการ จากศีรษะ
หู คอ หรือจากมือถือเอา พอสักว่าเธอแก้ให้พ้นจากอวัยวะมีศีรษะเป็นต้น
ก็เป็นปาราชิก. แต่เธอไม่ได้นำกำไลมือหรือทองปลายแขนที่มือออก เป็นแต่
รูดไปทางปลายแขน ให้เลื่อนไป ๆ มา ๆ หรือทำให้เชิดไปในอากาศ, ก็ยัง
รักษาอยู่ก่อน เครื่องประดับมีกำไลมือเป็นต้น ให้เกิดเป็นปาราชิกไม่ได้
ดุจวลัยที่โคนต้นไม้และราวจีวรฉะนั้น; เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า มือที่
สวมเครื่องประดับมีวิญญาณ. จริงอยู่ เครื่องประดับมีกำไลมือเป็นต้น ซึ่ง
สวมอยู่ในส่วนแห่งอวัยวะที่มีวิญญาณ ยังนำออกจากมือนั้นไม่ได้เพียงใด ก็ยัง
มีอยู่ในมือนั้นนั่นเองเพียงนั้น. ในวงแหวนที่สวมนิ้วมือ ในเครื่องประดับเท้า
และสะเอว ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนภิกษุรูปใด แย่งชิงเอาผ้าสาฎกที่ผู้อื่น