เมนู

กถาว่าด้วยไม้ชำระฟัน


ไม้ชำระฟัน อันผู้ศึกษาพึงวินิจฉัยตามข้อที่วินิจฉัยไว้ในภัณฑะตั้งอยู่
ในสวน. ส่วนความแปลกกันในไม้ชำระฟันนี้ มีดังต่อไปนี้ :-
ไวยาวัจกรคนใด เป็นผู้ที่สงฆ์เลี้ยงไว้ด้วยค่าบำเหน็จ ย่อมนำไม้ชำระ
ฟันมาถวายทุกวัน หรือตามวารปักษ์และเดือน. ไวยาวัจกรคนนั้น นำไม้
ชำระฟันนั้นมา แม้ตัดแล้ว ยังไม่มอบถวายภิกษุสงฆ์เพียงใด, ไม้ชำระฟันนั้น
ก็ยังเป็นของไวยาวัจกรผู้นำมานั้นนั่นเอง เพียงนั้น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อ
ถือเอาไม้ชำระฟันนั้นด้วยไถยจิต พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ. อนึ่ง มีของ
ครุภัณฑ์ซึ่งเกิดขึ้นในอารามนั้น, ภิกษุเมื่อถือเอาของครุภัณฑ์แม้นั้น ที่ภิกษุ
สงฆ์รักษาคุ้มครอง ก็พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ. ในไม้ชำระฟันที่ตัดแล้ว
และยังมิได้ตัด ซึ่งเป็นของคณะบุคคลและมนุษย์คฤหัสถ์ก็ดี ในภัณฑะที่เกิด
ขึ้นในอารามและสวนเป็นต้น ของคณะบุคคลและมนุษย์คฤหัสถ์เหล่านั้นก็ดี
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. สามเณรทั้งหลาย เมื่อนำไม้ชำระฟันมาถวายแก่ภิกษุสงฆ์
ตามวาระ ย่อมนำมาถวายแม้แก่พระอาจารย์และอุปัชฌายะ (ของตน). เธอ
เหล่านั้น ครั้นตัดไม้ชำระฟันนั้นแล้ว ยังไม่มอบถวายสงฆ์เพียงใด, ไม้ชำระ
ฟันนั้นแม้ทั้งหมด ก็ยังเป็นของเธอเหล่านั้นนั่นเองเพียงนั้น, เพราะเหตุนั้น
ภิกษุเมื่อถือเอาไม้ชำระฟันแม้นั้นด้วยไถยจิต ก็พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ.
แต่เมื่อใด สามเณรเหล่านั้นตัดไม้ชำระฟันแล้ว ได้มอบถวายสงฆ์แล้ว แต่ยัง
เก็บไว้ในโรงไม้ชำระฟัน ด้วยคิดในใจอยู่ว่า ภิกษุสงฆ์จงใช้สอยตามสบาย
เถิด ดังนี้, ตั้งแต่กาลนั้นไป ไม่เป็นอวหาร แต่ก็ควรทราบธรรมเนียม.

จริงอยู่ ภิกษุรูปใด เข้าไปในท่ามกลางสงฆ์ทุกวัน, ภิกษุรูปนั้น ควรถือเอา
ไม้ชำระฟันได้เพียงวันละอันเท่านั้น. ส่วนภิกษุรูปใด ไม่เข้าไปในท่ามกลาง
สงฆ์ทุกวัน พักอยู่ในเรือนที่บำเพ็ญเพียร จะปรากฏตัวได้ก็แต่ในที่ฟังธรรม
หรือในโรงอุโบสถ ; ภิกษุรูปนั้นควรกำหนดประมาณ แล้วเก็บไม้ชำระฟัน
4 - 5 อันไว้ในที่อยู่ของตนเคี้ยวเถิด. เมื่อไม้ชำระฟันเหล่านั้น หมดไปแล้ว
แต่ถ้าในโรงไม้ชำระฟัน ยังมีอยู่มากที่เดียว ก็ควรนำมาเคี้ยวได้อีก, ถ้าเธอ
ไม่กำหนดประมาณ ยังนำมาอยู่ไซร้, เมื่อไม้ชำระฟันเหล่านั้นยังไม่หมดสิ้น
ไปเลย, แต่ในโรงหมดไป ; คราวนั้น พระเถระทั้งหลายบางพวกจะพึงพูดว่า
พวกภิกษุผู้นำไม้ชำระฟันไป จงนำมาคืน, บางพวกจะกล่าวว่า จงเคี้ยวไปเถิด,
พวกสามเณรจักขนมาถวายอีก เพราะเหตุนั้น จึงควรกำหนดประมาณ เพื่อ
ป้องกันการวิวาทกัน แต่ไม่มีโทษในการถือเอา. แม้ภิกษุผู้จะเดินทาง ควร
ใส่ไม้ชำระฟันหนึ่งหรือสองอันในถุงย่ามแล้วจึงไป ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยไม้ชำระฟัน

กถาว่าด้วยต้นไม้เจ้าป่า


บทว่า วนปฺปติ ได้แก่ ต้นไม้เป็นเจ้าแห่งป่า คำว่า วนัปปติ นั่น
เป็นชื่อของต้นไม้ที่เจริญที่สุดในป่า. ก็ต้นไม้ที่พวกมนุษย์หวงห้ามแม้ทั้งหมด
มีมะม่วง ขนุนสำมะลอ และขนุนธรรมดาเป็นต้น ท่านประสงค์เอาในอธิการนี้.
ก็หรือว่า พวกมนุษย์ปลูกกระวานและเถาวัลย์เป็นต้นขึ้นไว้ที่ต้นไม้ใด, ต้นไม้
นั้น เมื่อถูกภิกษุตัด ถ้าเปลือกก็ดี ใยก็ดี สะเก็ดก็ดี กระพี้ก็ดี แม้อันเดียว
ยังติดเนื่องกันอยู่แล ล้มลงบนพื้นดิน ก็ยังรักษาอยู่ก่อน. ส่วนต้นไม้ใดแม้
ถูกตัดขาดแล้ว ก็ยังตั้งอยู่ตรง ๆ นั่นเอง เพราะมีเถาวัลย์หรือกิ่งไม้โดยรอบ
ธารไว้ หรือเมื่อล้มลงไปยังไม่ถึงพื้นดิน, ในต้นไม้นั้น ไม่มีการหลีกเลี่ยง
คือ เป็นอวหารทีเดียว. แม้ต้นไม้ใด ที่ภิกษุเอาเลื่อนตัดขาดแล้ว ก็ยังตั้งอยู่
ในทีนั้นนั่นเอง เป็นเหมือนยังไม่ขาดฉะนั้น, แม้ในต้นไม้นั้น ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. ส่วนภิกษุรูปใด ทำต้นไม้ให้หย่อนกำลัง ภายหลังจึงเขย่าให้ล้ม
ลงก็ดี ให้ผู้อื่นเขย่าก็ดี ตัดไม้ต้นอื่นใกล้ต้นไม้นั้นทับลงไว้เองก็ดี ให้ผู้อื่น
ตัดทับก็ดี ต้อนพวกลิงให้ไปขึ้นบนต้นไม้นั้นก็ดี สั่งคมอื่นให้ต้อนขึ้นไปก็ดี
ต้อนพวกค้างคาวให้ขึ้นบนต้นไม้นั้นก็ดี สั่งคนอื่นให้ต้อนขึ้นไปก็ได้ ค้างคาว
เหล่านั้น ทำต้นไม้นั้นให้ล้มลง ; อวหารย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้นเหมือนกัน.
แต่ถ้าเมื่อทำต้นไม้หย่อนกำลังแล้ว มีผู้อื่นซึ่งเธอมิได้บังคับเคย เขย่า
ต้นไม้นั้นให้ล้มลงก็ตาม เอาต้นไม้ทับไว้เองก็ตาม พวกลิงหรือค้างคาวขึ้น