เมนู

กถาว่าด้วยน้ำ


ก็ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในน้ำดังนี้ :- บทว่า ภาชนคตํ ได้แก่
น้ำที่เขารวมใส่ไว้ในภาชนะทั้งหลายมีไหใส่น้ำเป็นต้น ในเวลาที่หาน้ำได้ยาก.
เมื่อภิกษุเอียงภาชนะที่เขาใส่น้ำนั้นก็ดี ทำให้เป็นช่องทะลุก็ดี แล้วสอดภาชนะ
ของตนเข้าไปรับเอาน้ำที่มีอยู่ ในภาชนะของเขาเหล่านั้น กับในสระโบกขรณี
และบ่อ ก็พึงทราบวินิจฉัยโดยนัยดังที่กล่าวไว้ในเนยใสและน้ำมันนั่นแล. ส่วน
ในการเจาะคันนา มีวินิจฉัยดังนี้ :- เมื่อภิกษุเจาะคันนาแม้พร้อมทั้งภูตคาม
ซึ่งเกิดขึ้นในคันนานั้น เป็นทุกกฏ เพราะเป็นประโยคแห่งอทินนาทาน. ก็แล
ทุกกฏนั้น ย่อมเป็นทุก ๆ ครั้งที่ขุดเจาะ. ภิกษุยืนอยู่ข้างใน แล้วหันหน้าไป
แล้วหันหน้าเข้าไปข้างในเจาะอยู่ พึงปรับอาบัติด้วยส่วนข้างใน, เมื่อเธอเจาะ
หันหน้าไปทั้งข้างในและข้างนอก คือ ยืนอยู่ที่ตรงกลางทำลายคันนานั้นอยู่
พึงปรับอาบัติด้วยส่วนตรงกลาง.
ภิกษุทำคันนาให้ชำรุดแล้ว จึงร้องเรียกฝูงโคมาเอง หรือใช้ให้พวก
เด็กชาวบ้านร้องเรียกมาก็ตาม, ฝูงโคเหล่านั้นพากันเอากีบเล็บตัดคันนา เป็น
อันว่าภิกษุรูปนั้นนั่นเองตัดคันนา. ภิกษุทำคันนาให้ชำรุดแล้ว ต้อนฝูงโคเข้า
ไปในน้ำ หรือสั่งพวกเด็กชาวบ้านให้ต้อนเข้าไปก็ตาม, ระลอกคลื่นที่โค
เหล่านั้นทำให้เกิดขึ้นซัดทำลายคันนาไป. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุพูดชวนพวกเด็ก
ชาวบ้านว่า จงพากันเล่นน้ำเถิด หรือตวาดพวกเด็กผู้เล่นอยู่ให้สะดุ้งตกใจ,
ระลอกคลื่นที่เด็กเหล่านั้นทำให้ตั้งขึ้น ทำลายคันนาไป. ภิกษุตัดต้นไม้ที่เกิด
อยู่ภายในน้ำเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นตัดก็ตาม, ระลอกคลื่นแม้ที่ต้นไม้ซึ่งล้มลงนั้น

ทำให้ตั้งขึ้น ซัดทำลายคันนาไป, เป็นอันว่าภิกษุรูปนั้นนั่นเอง เป็นผู้ทำลาย
คันนา. ภิกษุทำคันนาให้ชำรุดแล้ว ปิดน้ำที่เขาไขออกไป หรือปิดลำราง
สำหรับไขน้ำออกจากสระเสีย เพื่อต้องการรักษาสระก็ดี ก่อคันหรือแต่งลำราง
ให้ตรง โดยอาการที่น้ำซึ่งไหลบ่าไปแต่ที่อื่น จะไหลเข้าไปในสระนี้ได้ก็ดี
พังสระของตนซึ่งอยู่เบื้องบนสระของคนอื่นนั้นก็ดี, น้ำที่เอ่อล้นขึ้น ไหลบ่า
พัดเอาคันนาไป, เป็นอันว่าภิกษุรูปนั้นนั่นเอง เป็นผู้ทำลายคันนา. ในที่ทุก ๆ
แห่ง พระวินัยธรพึงปรับด้วยอวหาร พอเหมาะสมแก่ราคาน้ำที่ไหลออกไป.
แม้เมื่อภิกษุรื้อถอนท่อลำรางสำหรับไขน้ำออกไปเสีย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
อนึ่ง ถ้าภิกษุนั้นทำคันนาให้ชำรุดแล้ว ฝูงโคซึ่งเดินมาตามธรรมดา
ของตนนั่นเอง หรือพวกเด็กชาวบ้านผู้ไม่ได้ถูกบังคับ ช่วยกันขับต้อนให้ขึ้น
ไปเอากีบเล็บตัดคันนาก็ดี ฝูงโคที่พวกเด็กชาวบ้านผู้ไม่ได้ถูกบังคับ ช่วยกัน
ขับต้อนให้ลงไปในน้ำตามธรรมดาของตนเอง ทำให้ระลอกคลื่นตั้งขึ้นก็ดี,
พวกเด็กชาวบ้านพากันเข้าไปเล่นน้ำเสียเอง ทำให้ระลอกคลื่นตั้งขึ้นก็ดี, ต้นไม้
(ซึ่งเกิดอยู่) ภายในน้ำ ที่ถูกชนเหล่าอื่นตัดขาดล้มลงแล้ว ทำระลอกคลื่นให้
ตั้งขึ้น, ระลอกคลื่นนั้น ๆ ซัดคันนาขาดก็ดี, แม้หากว่า ภิกษุทำคันนาให้ชำรุด
แล้ว ปิดที่ ๆ เขาไขน้ำออกไป หรือลำรางสำหรับไขน้ำแห่งสระที่แห้ง ก่อคัน
หรือแต่งลำรางที่แห้งให้ตรงทางน้ำที่จะไหลบ่าไปแต่ที่อื่น, ภายหลังในเมื่อฝน
ตก น้ำไหลบ่ามาเซาะทำลายคันนาไป, ในที่ทุก ๆ แห่ง เป็นภัณฑไทย. ส่วน
ภิกษุใด ทำลายคันบึงแห้งในฤดูแล้งให้พังลงจนถึงพื้น, ภายหลังในเมื่อฝนตก
น้ำที่ไหลมาครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ไหลผ่านไป, เป็นภัณฑไทยแก่ภิกษุรูปนั้น.
ข้าวกล้ามีประมาณเท่าใด ที่เกิดขึ้นเพราะมีน้ำนั้นเป็นปัจจัย, ภิกษุเมื่อไม่ใช้
แม้ค่าทดแทนเท่าราคาบาทหนึ่งจากข้าวกล้า (ที่เสียไป) นั้น จัดว่าไม่เป็นสมณะ
เพราะพวกเจ้าของทอดธุระ. แต่พวกชาวบ้านแม้ทั้งหมด เป็นอิสระแห่งน้ำใน
บึงทั่วไปแก่ชนทั้งปวง และปลูกข้าวกล้าทั้งหลายไว้ภายใต้แห่งบึงนั้นด้วย.

น้ำก็ไหลออกจากลำรางใหญ่แต่บึงไปโดยท่ามกลางนา เพื่อหล่อเลี้ยงข้าวกล้า.
แม้ลำรางใหญ่นั้น ก็เป็นสาธารณะแก่ชนทั้งปวง ในเวลาน้ำไหลอยู่เสมอ.
ส่วนพวกชนชักลำรางเล็ก ๆ ออกจากลำรางใหญ่นั้น แล้วไขน้ำให้เข้าไปในนา
ของตน ๆ. ไม่ย่อมให้คนเหล่าอื่นถือเอาน้ำในลำรางเล็กของตนนั้น, เมื่อมี
น้ำน้อย ในฤดูแล้ง จึงแบ่งปันน้ำให้กันตามวาระ. ผู้ใด เมื่อถึงวาระน้ำ
ไม่ได้น้ำ, ข้าวกล้าของผู้นั้นย่อมเหี่ยวแห้งไป, เพราะเหตุนั้น ผู้อื่นจะรับเอา
น้ำในวาระของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่ได้. บรรดาลำรางเล็กเป็นต้นนั้น ภิกษุใด
ไขน้ำจากลำรางเล็ก หรือจากนาของชนเหล่าอื่น ให้เข้าไปยังเหมืองหรือนา
ของตน หรือของคนอื่นด้วยไถยจิตก็ดี ให้น้ำไหลบ่าปากดงไปก็ดี, ภิกษุนั้น
เป็นอวหารแท้. ฝ่ายภิกษุใด คิดว่า นาน ๆ เราจักมีน้ำสักคราวหนึ่ง และ
ข้าวกล้านี้ก็เหี่ยวแห้งจึงปิดทางไหลของน้ำที่กำลังไหลเข้าไปในนาของชนเหล่า
อื่นเสีย แล้วให้ไหลเข้าไปยังนาของตน, ภิกษุนั้นเป็นอวหารเหมือนกัน. ก็ถ้า
ว่าเมื่อน้ำยังไม่ไหลออกจากบึง หรือยังไม่ไหลไปถึงปากเหมืองของชนเหล่าอื่น,
ภิกษุก่อลำรางแห้งนั่นเองไว้ในที่นั้น ๆ โดยอาการที่น้ำซึ่งกำลังไหลมา จะไม่
ไหลเข้าไปในนาของชนเหล่าอื่น ไหลเข้าไปแต่ในนาของตนเท่านั้น, เมื่อน้ำ
ยังไม่ไหลออกมา แต่ภิกษุได้ก่อคันไว้ก่อนแล้ว ก็เป็นอันเธอก่อไว้ดีแล้ว, เมื่อ
น้ำไหลออกมาแล้ว ถ้าภิกษุก่อคันไว้ เป็นภัณฑไทย. แม้เมื่อภิกษุไปยังบึง
แล้วรื้อถอนท่อลำรางสำหรับไขน้ำออกเสียเอง ให้น้ำไหลเข้าไปยังนาของตน
ไม่เป็นอวหาร. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่าตนอาศัยบึงจึงได้ทำนา. แต่ไม่
สมด้วยลักษณะนี้ว่า วัตถุกาละและเทสะเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น คำที่ท่าน
กล่าวไว้ในมหาอรรถกถานั่นแหละ ชอบแล้ว ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยน้ำ

กถาว่าด้วยไม้ชำระฟัน


ไม้ชำระฟัน อันผู้ศึกษาพึงวินิจฉัยตามข้อที่วินิจฉัยไว้ในภัณฑะตั้งอยู่
ในสวน. ส่วนความแปลกกันในไม้ชำระฟันนี้ มีดังต่อไปนี้ :-
ไวยาวัจกรคนใด เป็นผู้ที่สงฆ์เลี้ยงไว้ด้วยค่าบำเหน็จ ย่อมนำไม้ชำระ
ฟันมาถวายทุกวัน หรือตามวารปักษ์และเดือน. ไวยาวัจกรคนนั้น นำไม้
ชำระฟันนั้นมา แม้ตัดแล้ว ยังไม่มอบถวายภิกษุสงฆ์เพียงใด, ไม้ชำระฟันนั้น
ก็ยังเป็นของไวยาวัจกรผู้นำมานั้นนั่นเอง เพียงนั้น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อ
ถือเอาไม้ชำระฟันนั้นด้วยไถยจิต พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ. อนึ่ง มีของ
ครุภัณฑ์ซึ่งเกิดขึ้นในอารามนั้น, ภิกษุเมื่อถือเอาของครุภัณฑ์แม้นั้น ที่ภิกษุ
สงฆ์รักษาคุ้มครอง ก็พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ. ในไม้ชำระฟันที่ตัดแล้ว
และยังมิได้ตัด ซึ่งเป็นของคณะบุคคลและมนุษย์คฤหัสถ์ก็ดี ในภัณฑะที่เกิด
ขึ้นในอารามและสวนเป็นต้น ของคณะบุคคลและมนุษย์คฤหัสถ์เหล่านั้นก็ดี
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. สามเณรทั้งหลาย เมื่อนำไม้ชำระฟันมาถวายแก่ภิกษุสงฆ์
ตามวาระ ย่อมนำมาถวายแม้แก่พระอาจารย์และอุปัชฌายะ (ของตน). เธอ
เหล่านั้น ครั้นตัดไม้ชำระฟันนั้นแล้ว ยังไม่มอบถวายสงฆ์เพียงใด, ไม้ชำระ
ฟันนั้นแม้ทั้งหมด ก็ยังเป็นของเธอเหล่านั้นนั่นเองเพียงนั้น, เพราะเหตุนั้น
ภิกษุเมื่อถือเอาไม้ชำระฟันแม้นั้นด้วยไถยจิต ก็พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ.
แต่เมื่อใด สามเณรเหล่านั้นตัดไม้ชำระฟันแล้ว ได้มอบถวายสงฆ์แล้ว แต่ยัง
เก็บไว้ในโรงไม้ชำระฟัน ด้วยคิดในใจอยู่ว่า ภิกษุสงฆ์จงใช้สอยตามสบาย
เถิด ดังนี้, ตั้งแต่กาลนั้นไป ไม่เป็นอวหาร แต่ก็ควรทราบธรรมเนียม.