เมนู

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า


วินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า พึงทราบดังนี้ :- พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงแสดงป่าก่อน จึงตรัสว่า อรญฺญํ นาม ยํ มนุสฺสานํ ปริคฺคหิคํ
โหติ, ตํ อรญฺญํ
(ที่ชื่อว่าป่า ได้แก่ป่าที่พวกมนุษย์หวงห้าม) ดังนี้. ในคำว่า
อรญฺญํ นั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- เพราะขึ้นชื่อว่า แม้ที่พวกมนุษย์หวงห้าม
ก็มี แม้ที่ไม่หวงห้ามก็มี, ในอธิการนี้ ท่านประสงค์เอาป่าที่เขาหวงห้าม
มีการอารักขา เป็นแดนที่พวกมนุษย์ไม่ได้เพื่อจะถือเอาไม้และเถาวัลย์เป็นต้น
โดยเว้นจากมูลค่า ; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ป่าเป็นที่
พวกมนุษย์หวงห้าม แล้วตรัสอีกว่า ชื่อว่าป่า ดังนี้.
ด้วยคำว่าป่านั้น ท่านแสดงความหมายนี้ดังนี้ว่า ความเป็นที่
หวงห้ามไม่จัดเป็นลักษณะของป่า, แต่ที่เป็นป่าโดยลักษณะของตน และพวก
มนุษย์หวงห้าม ชื่อว่าป่าในความหมายนี้. วินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่านั้น
ก็เป็นเช่นกับที่กล่าวแล้วในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในสวนเป็นต้น.
ก็บรรดาต้นไม้ที่เกิดในป่านั้น เมื่อต้นไม้ที่มีราคามากแม้เพียงต้นเดียว
ในป่านี้ สักว่าภิกษุตัดขาดแล้ว ก็เป็นปาราชิก. อนึ่ง ในบทว่า ลตํ วา นี้
หวายก็ดี เถาวัลย์ก็ดี ก็ชื่อว่าเถาวัลย์ทั้งนั้น. บรรดาหวายและเถาวัลย์เหล่านั้น
หวายหรือเถาวัลย์ใด เป็นของยาวซึ่งยื่นไป หรือเกี่ยวพันต้นไม้ใหญ่และกอไม้
เลื้อยไป เถาวัลย์นั้น ภิกษุตัดที่รากแล้วก็ดี หรือตัดที่ปลายก็ดี ไม่ยังอวหาร
ให้เกิดขึ้นได้. แต่เมื่อใดภิกษุตัดทั้งที่ปลายทั้งที่ราก เมื่อนั้น ย่อมยังอวหาร
ให้เกิดได้ หากเถาวัลย์ไม่เกี่ยวพัน (ต้นไม้) อยู่. ส่วนที่เกี่ยวพัน (ต้นไม้) อยู่

พอภิกษุคลายออกพ้นจากต้นไม้ ย่อมยังอวหารให้เกิดได้. หญ้าก็ตาม ใบไม้
ก็ตาม ทั้งหมดนั้น ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยศัพท์ว่าหญ้า ในบทว่า ติณํ วา นี้
ภิกษุถือเอาหญ้านั้น ที่ผู้อื่นตัดไว้เพื่อประโยชน์แก่เครื่องมุงเรือนเป็นต้น หรือ
ที่ตนเองตัดเอา พระวินัยธรพึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ และจะปรับอาบัติ
แต่เฉพาะถือเอาหญ้าและใบไม้อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ ถือเอาเปลือกและสะเก็ด
เป็นต้นแม้อย่างอื่นชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ. เมื่อ
ภิกษุถือเอาวัตถุมีเปลือกไม้เป็นต้น ซึ่งพวกเจ้าของยังความอาลัยอยู่ พึงปรับ
อาบัติตามราคาสิ่งของ แม้ต้นไม้ที่เขาถากทิ้งไว้นานแล้ว ก็ไม่ควรถือเอา.
ส่วนต้นไม้ใด ซึ่งเขาตัดที่ปลายและรากแล้ว กิ่งของต้นไม้นั้นเกิดเน่าผุบ้าง
สะเก็ดทั้งหลายกะเทาะออกบ้าง, จะถือเอาด้วยคิดว่า ต้นไม้นี้ พวกเจ้าของ
ทอดทิ้งแล้ว ดังนี้ ควรอยู่. แม้ต้นไม้ที่สลักเครื่องหมายไว้เมื่อใดเครื่องหมาย
ถูกสะเก็ดงอกปิด เมื่อนั้น จะถือเอาก็ควร. มนุษย์ทั้งหลาย ตัดต้นไม้เพื่อ
ประโยชน์แก่เรือนเป็นต้น เมื่อใด เขาสร้างเรือนเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว และ
เข้าอยู่อาศัย, เมื่อนั้น แม้ไม้ทั้งหลาย ย่อมเสียหายไปเพราะฝนและแดดแผดเผา
อยู่ในป่า. ภิกษุพบเห็น ไม้แม้เช่นนี้ จะถือเอาด้วยคิดว่า เขาทอดทิ้งแล้ว ดังนี้
ควรอยู่ เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ไม้เหล่านั้นเจ้าของป่า ( เจ้าพนักงาน
ป่าไม้ ) ไม่มีอิสระ. ไม้ทั้งหลายที่ชนเหล่าใดให้ไทยธรรม ( ค่าภาคหลวง )
แก่เจ้าของป่าแล้วจึงตัด, ชนเหล่านั้นนั่นเอง เป็นอิสระแห่งไม้เหล่านั้น และ
ชนเหล่านั้น ก็ทิ้งไม้เหล่านั้น พวกเขาเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในไม้เหล่านั้นแล้ว;
เพราะเหตุนั้น ภิกษุจะถือเอาไม้เช่นนั้นก็ควร. แม้ภิกษุรูปใด ให้ไทยธรรม
(ค่าภาคหลวง) แก่พนักงานผู้รักษาป่าไม้ก่อนทีเดียวแล้วเข้าป่า ให้ไวยาวัจกร
ถือเอาไม้ทั้งปลายได้ตามความพอใจ, การที่ภิกษุรูปนั้น แม้จะไม่ไปยังที่อารักขา
(ด่านตรวจ) ของเจ้าพนักงานผู้รักษาป่าไม้เหล่านั้น ไปโดยทางตามที่ตนชอบใจ
ก็ควร. แม้ถ้าเธอเมื่อเข้าไป ยังไม้ได้ให้ไทยธรรม ทำในใจว่า ขณะออกมา

จักให้ ดังนี้ ให้ถือเอาไม้ทั้งหลาย แล้วขณะออกมาให้ไทยธรรมที่ควรให้
แก่พวกเจ้าพนักงานผู้รักษาป่าไม้เหล่านั้นแล้วไป สมควรแท้. แม้ถ้าเธอทำ
ความผูกใจไว้แล้วจึงไป เมื่อเจ้าพนักงานผู้รักษาป่าไม้ทวงว่า ท่านจงให้
ตอบว่า อาตมาจักให้ เมื่อเขาทวงอีกว่า จงให้ ควรให้ทีเดียว ถ้ามีบางคน
ให้ทรัพย์ของตนแล้ว พูด (กับเจ้าพนักงาน) ว่า พวกท่านจงให้ภิกษุไปเถิด
ดังนี้, ภิกษุจะไปตามข้ออ้างที่ตนได้แล้วนั้นแลควรอยู่. แต่ถ้าบางคนมีชาติ
เป็นอิสระ (เจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่) ไม่ได้ให้ทรัพย์เลย ห้ามไว้ว่า พวกท่านอย่าได้
รับค่าภาคหลวงสำหรับพวกภิกษุ ดังนี้ แต่พวกเจ้าพนักงานผู้รักษาป่าไม้
พูดว่า เมื่อพวกเราไม่รับเอาของพวกภิกษุและดาบส จักได้จากที่ไหนเล่า ?
ให้เถิดขอรับ ! ดังนี้, ภิกษุควรให้เหมือนกัน. ส่วนภิกษุรูปใด เมื่อเจ้า-
พนักงานผู้รักษาป่าไม้นอนหลับ หรือขลุกขลุ่ยอยู่ในการเล่น หรือหลีกไปใน
ที่ไหน ๆ เสีย มาถึงแล้วแม้เรียกหาอยู่ว่า เจ้าพนักงานผู้ควบคุมป่าไม้ อยู่ที่
ไหนกัน ดังนี้ ครั้นไม่พบ จึงไปเสีย, ภิกษารูปนั้น เป็นภัณฑไทย. ฝ่ายภิกษุ
รูปใด ครั้นไปถึงสถานที่อารักขาแล้ว แต่มัวใฝ่ใจถึงกรรมฐานเป็นต้นอยู่
หรือส่งจิตไปที่อื่นเสีย เลยผ่านไป เพราะระลึกไม่ได้ , ภิกษุรูปนั้น เป็น
ภัณฑไทยเหมือนกัน. แม้ภิกษุรูปใด ไปถึงสถานที่นั้นแล้ว มีโจร ช้าง เนื้อร้าย
หรือมหาเมฆปรากฏขึ้น, เมื่อภิกษุรูปนั้น รีบผ่านเลยสถานที่นั้นไป เพราะ
ต้องจะพ้นจากอุปัทวะนั้น, ยังรักษาอยู่ก่อน, แต่ก็เป็นภัณฑไทย. ก็ขึ้น
ชื่อว่า สถานที่อารักขาในป่านี้ เป็นของหนักมาก แม้กว่าด่านภาษี. จริงอยู่
ภิกษุเมื่อไม่ก้าวเข้าไปสู่เขตแดน ด่านภาษี หลบหลีกไปเสียแต่ที่ไกล จะต้อง
เพียงทุกกฎเท่านั้น แต่เมื่อเธอหลบหลีกที่อารักขาในป่านี้ไปด้วยไถยจิต ถึง
จะไปโดยทางอากาศก็ตาม ก็เป็นปาราชิกโดยแท้ เพราะเหตุนั้น ภิกษุไม่ควร
เป็นผู้ประมาทในสถานที่อารักขาในป่า ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า

กถาว่าด้วยน้ำ


ก็ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในน้ำดังนี้ :- บทว่า ภาชนคตํ ได้แก่
น้ำที่เขารวมใส่ไว้ในภาชนะทั้งหลายมีไหใส่น้ำเป็นต้น ในเวลาที่หาน้ำได้ยาก.
เมื่อภิกษุเอียงภาชนะที่เขาใส่น้ำนั้นก็ดี ทำให้เป็นช่องทะลุก็ดี แล้วสอดภาชนะ
ของตนเข้าไปรับเอาน้ำที่มีอยู่ ในภาชนะของเขาเหล่านั้น กับในสระโบกขรณี
และบ่อ ก็พึงทราบวินิจฉัยโดยนัยดังที่กล่าวไว้ในเนยใสและน้ำมันนั่นแล. ส่วน
ในการเจาะคันนา มีวินิจฉัยดังนี้ :- เมื่อภิกษุเจาะคันนาแม้พร้อมทั้งภูตคาม
ซึ่งเกิดขึ้นในคันนานั้น เป็นทุกกฏ เพราะเป็นประโยคแห่งอทินนาทาน. ก็แล
ทุกกฏนั้น ย่อมเป็นทุก ๆ ครั้งที่ขุดเจาะ. ภิกษุยืนอยู่ข้างใน แล้วหันหน้าไป
แล้วหันหน้าเข้าไปข้างในเจาะอยู่ พึงปรับอาบัติด้วยส่วนข้างใน, เมื่อเธอเจาะ
หันหน้าไปทั้งข้างในและข้างนอก คือ ยืนอยู่ที่ตรงกลางทำลายคันนานั้นอยู่
พึงปรับอาบัติด้วยส่วนตรงกลาง.
ภิกษุทำคันนาให้ชำรุดแล้ว จึงร้องเรียกฝูงโคมาเอง หรือใช้ให้พวก
เด็กชาวบ้านร้องเรียกมาก็ตาม, ฝูงโคเหล่านั้นพากันเอากีบเล็บตัดคันนา เป็น
อันว่าภิกษุรูปนั้นนั่นเองตัดคันนา. ภิกษุทำคันนาให้ชำรุดแล้ว ต้อนฝูงโคเข้า
ไปในน้ำ หรือสั่งพวกเด็กชาวบ้านให้ต้อนเข้าไปก็ตาม, ระลอกคลื่นที่โค
เหล่านั้นทำให้เกิดขึ้นซัดทำลายคันนาไป. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุพูดชวนพวกเด็ก
ชาวบ้านว่า จงพากันเล่นน้ำเถิด หรือตวาดพวกเด็กผู้เล่นอยู่ให้สะดุ้งตกใจ,
ระลอกคลื่นที่เด็กเหล่านั้นทำให้ตั้งขึ้น ทำลายคันนาไป. ภิกษุตัดต้นไม้ที่เกิด
อยู่ภายในน้ำเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นตัดก็ตาม, ระลอกคลื่นแม้ที่ต้นไม้ซึ่งล้มลงนั้น