เมนู

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า


วินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า พึงทราบดังนี้ :- พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงแสดงป่าก่อน จึงตรัสว่า อรญฺญํ นาม ยํ มนุสฺสานํ ปริคฺคหิคํ
โหติ, ตํ อรญฺญํ
(ที่ชื่อว่าป่า ได้แก่ป่าที่พวกมนุษย์หวงห้าม) ดังนี้. ในคำว่า
อรญฺญํ นั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- เพราะขึ้นชื่อว่า แม้ที่พวกมนุษย์หวงห้าม
ก็มี แม้ที่ไม่หวงห้ามก็มี, ในอธิการนี้ ท่านประสงค์เอาป่าที่เขาหวงห้าม
มีการอารักขา เป็นแดนที่พวกมนุษย์ไม่ได้เพื่อจะถือเอาไม้และเถาวัลย์เป็นต้น
โดยเว้นจากมูลค่า ; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ป่าเป็นที่
พวกมนุษย์หวงห้าม แล้วตรัสอีกว่า ชื่อว่าป่า ดังนี้.
ด้วยคำว่าป่านั้น ท่านแสดงความหมายนี้ดังนี้ว่า ความเป็นที่
หวงห้ามไม่จัดเป็นลักษณะของป่า, แต่ที่เป็นป่าโดยลักษณะของตน และพวก
มนุษย์หวงห้าม ชื่อว่าป่าในความหมายนี้. วินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่านั้น
ก็เป็นเช่นกับที่กล่าวแล้วในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในสวนเป็นต้น.
ก็บรรดาต้นไม้ที่เกิดในป่านั้น เมื่อต้นไม้ที่มีราคามากแม้เพียงต้นเดียว
ในป่านี้ สักว่าภิกษุตัดขาดแล้ว ก็เป็นปาราชิก. อนึ่ง ในบทว่า ลตํ วา นี้
หวายก็ดี เถาวัลย์ก็ดี ก็ชื่อว่าเถาวัลย์ทั้งนั้น. บรรดาหวายและเถาวัลย์เหล่านั้น
หวายหรือเถาวัลย์ใด เป็นของยาวซึ่งยื่นไป หรือเกี่ยวพันต้นไม้ใหญ่และกอไม้
เลื้อยไป เถาวัลย์นั้น ภิกษุตัดที่รากแล้วก็ดี หรือตัดที่ปลายก็ดี ไม่ยังอวหาร
ให้เกิดขึ้นได้. แต่เมื่อใดภิกษุตัดทั้งที่ปลายทั้งที่ราก เมื่อนั้น ย่อมยังอวหาร
ให้เกิดได้ หากเถาวัลย์ไม่เกี่ยวพัน (ต้นไม้) อยู่. ส่วนที่เกี่ยวพัน (ต้นไม้) อยู่