เมนู

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในยาน


พึงทราบวินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในยาน :- พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ
จะทรงแสดงยานก่อน จึงตรัสว่า ยานํ นาม วยฺหํ เป็นต้น. ในคำว่า วยฺหํ
เป็นต้นนั้นมีวินิจฉัยดังนี้ :-
ยานที่ปิดบังด้วยไม้เลียบไว้เบื้องบน คล้ายกับมณฑปก็ตาม ที่เขาทำ
ปิดคลุมไว้ทั้งหมดก็ตาม ชื่อว่า คานหาม. เตียงที่เขาใส่กลอนซึ่งสำเร็จด้วนทอง
และเงินเป็นต้นไว้ที่ข้างทั้งสอง และทำไว้โดยนัยดังปีกครุฑ ชื่อว่า เตียงหาม,
รถและเกวียนปรากฏชัดแล้วแล. ภัณฑะที่มีวิญญาณหรือไม่มีวิญญาณ ซึ่งเขา
เก็บไว้ด้วยอำนาจเป็นกองเป็นต้น ในบรรดาคานหามเป็นต้นเหล่านั้น แห่งใด
แห่งหนึ่ง เมื่อภิกษุให้เคลื่อนจากฐานด้วยไถยจิต พึงทราบว่า เป็นปาราชิก
โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในภัณฑะที่ตั้งอยู่ในเรือและที่ตั้งอยู่บนบก. ส่วนความ
แปลกกัน มีดังต่อไปนี้ :- เมื่อภิกษุเอาตะกร้ารับเอาสิ่งของมีข้าวสารเป็นต้น
ที่ตั้งอยู่ในยาน แม้เมื่อไม่ยกตะกร้าขึ้น ครั้นตบตะกร้า ทำให้วัตถุมีข้าวสาร
เป็นต้น ซึ่งเนื่องเป็นอันเดียวกัน กระจายไป เป็นปาราชิก. นัยนี้ ย่อมใช้ได้
แม้ในสิ่งของที่ตั้งอยู่บนบกเป็นต้น. กิจทั้งหลายมีการเที่ยวหาเพื่อนเป็นต้น
ในคำว่า เราจักลักยาน มีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ก็ในคำว่า ฐานา จาเวติ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- สำหรับยาน
ที่เทียมด้วยโคคู่ มี 10 ฐาน คือ เท้าทั้ง 8 ของโคทั้ง 2 และล้อ 2. เมื่อ
ภิกษุมีไถยจิตขึ้นเกวียนนั้น นั่งบนทูบขับไป เป็นถุลลัจจัย ในเมื่อโคทั้ง 2
ยกเท้าขึ้น, และเมื่อโอกาสเพียงปลายเส้นผมล่วงเลยไปจากประเทศที่ล้อทั้ง 2
จดแผ่นดิน เป็นปาราชิก. แต่ถ้าโคทั้ง 2 รู้ว่า ผู้นี้มิใช่เจ้าของ ๆ เรา แล้ว

สลัดแอกทิ้ง ไม่ยอมเข็นไป หลุดอยู่ก็ตาม ดิ้นรนอยู่ก็ตาม, ยังรักษาอยู่ก่อน
เมื่อภิกษุจัดโคทั้งสองให้เทียมเข้าไปตรง ๆ แล้วพาดแอกเทียมให้มั่น แทง
ด้วยปฏักขับไปอีก เป็นถุลลัจจัย ในเมื่อโคเหล่านั้นยกเท้าขึ้น ตามนัยที่กล่าว
แล้วนั่นแล, เป็นปาราชิก ในเมื่อล้อเคลื่อนไป. ถ้าแม้ในทางที่มีโคลนตม
ล้อข้างหนึ่งติดแล้วในโคลน, โคลากล้อข้างที่ 2 หมุนเวียนอยู่, อวหารยังไม่
มีก่อน เพราะล้อข้างหนึ่งยังคงตั้งอยู่. แต่เมื่อภิกษุจัดโคทั้งสองให้เทียมตรง
แล้วขับไปอีก เมื่อล้อที่หยุดอยู่หมุนเลยโอกาสที่ถูกไป เพียงปลายเส้นผม เป็น
ปาราชิก. และพึงทราบความต่างกันแห่งฐานของยานที่เทียม โดยอุบายนี้ คือ
ยานที่เทียม 4 มีฐาน 18 ที่เทียม 8 มีฐาน 34. ส่วนยานใดที่มิได้เทียม เขา
ใช้ไม้ค้ำที่ตรงทูบอันหนึ่ง และค้ำข้างหลัง 2 อันจอดไว้, ยานนั้น มีฐาน 5
ด้วยอำนาจแห่งไม้ค้ำ 3 อัน และล้อทั้ง 2. ถ้าไม้ค้ำที่ตรงแอก เขาบากเป็น
ง่ามที่ตอนล่าง มีฐาน 6. ส่วนยานที่ไม่ได้ค้ำไว้ข้างหลัง ค้ำที่ทูบเท่านั้น มี
ฐาน 3 บ้าง 4 บ้าง ด้วยอำนาจแห่งไม้ค้ำ. สำหรับยานที่เขาเอาทูบพาดไว้บน
กระดานหรือบนไม้ มีฐาน 4 . ยานที่เขาเอาทูบพาดไว้ที่แผ่นดินก็เหมือนกัน.
เมื่อภิกษุลากหรือยกยานนั้น ให้เคลื่อนจากฐานไปข้างหน้าและข้างหลัง เป็น
ถุลลัจจัย, เมื่อฐานที่ล้อทั้งสองจดอยู่ ล่วงเลยไปเพียงปลายเส้นผม ก็เป็น
ปาราชิก. สำหรับยานที่เบาถอดล้อออกแล้วเอาหัวเพลาทั้ง 2 พาดไว้บนไม้
มีฐาน 2. ภิกษุเมื่อลากหรือยกยานนั้น ให้ล่วงเลยโอกาสที่ถูกไป เป็นปาราชิก.
ยานที่เขาวางไว้บนแผ่นดิน มีฐาน 5 ด้วยอำนาจแห่งที่ซึ่งจดกับทูบ และไม้
ค้ำเพลา 4 อัน. เมื่อภิกษุจับยานนั้นที่ทูบลากไป ครั้นส่วนสุดข้างหน้ากับส่วน
สุดข้างหลังแห่งไม้ค้ำเพลา คลาดจากกัน เป็นปาราชิก. เมื่อจับที่ไม้ค้ำเพลา
ลากไป เมื่อส่วนเบื้องหลังกับส่วนเบื้องหน้าของไม้ค้ำเพลาคลาดจากกัน เป็น
ปาราชิก. เมื่อจับตรงสีข้างลากไป เป็นปาราชิก ในเมื่อที่ซึ่งไม้ค้ำเพลานั่นเอง

จดอยู่ตามขวางคลาดจากกันไป. เมื่อจับตรงกลางยกขึ้น ครั้นโอกาสเพียงปลาย
เส้นผมพ้นจากแผ่นดิน เป็นปาราชิก. ถ้าไม้เดือยค้ำเพลาไม่มี, เขาทำปีกทูบ
ให้เท่ากันดีแล้ว เจาะตรงกลางสอดหัวเพลาเข้าไป. ยานนั้น ตั้งอยู่ถูกแผ่นดิน
ทั้งหมด โดยรอบพื้นเบื้องล่าง. ในยานนั้นพึงทราบว่า เป็นปาราชิกด้วย
อำนาจล่วงเลยฐานที่ถูกใน 4 ทิศ และเบื้องบน. ล้อที่เขาวางเอาดุมตั้งบน
ภาคพื้น มีฐานเดียวเท่านั้น. การกำหนดล้อนั้น พึงทราบโดยอาการ 5 อย่าง.
ล้อที่ตั้งให้ข้างกงและดุมภูมิ (ดิน) มีฐาน 2. เมื่อภิกษุเอาเท้าเหยียบส่วนที่
เชิดขึ้นแห่งกงให้ถูกที่พื้นแล้วจับที่กำหรือที่กงยกขึ้น ฐานที่ตนทำไม่จัดเป็นฐาน.
เพราะเหตุนั้น เมื่อส่วนที่เหลือแม้ที่คงตั้งอยู่นั้น สักว่าล่วงเลยไป เป็นปาราชิก.
แม้สำหรับล้อที่เขาวางพิงฝาไว้ ก็มีฐาน 2 . บรรดาฐานทั้ง 2 นั้น เมื่อภิกษุ
ปลดออกจากฝาครั้งแรก เป็นถุลลัจจัย, ภายหลังในเมื่อยกขึ้นจากแผ่นดินเพียง
ปลายเส้นผม เป็นปาราชิก. แต่เมื่อภิกษุปลดให้พ้นจากพื้นดินครั้งแรก ถ้าฐาน
ที่ล้อตั้งอยู่ใกล้ฝา ไม่กระเทือน ก็มีนัยนี้แหละ. ถ้าเมื่อภิกษุจับที่กำลากไป
ข้างล่างปลายส่วนเบื้องบนแห่งโอกาสที่ตั้งถูกฝาล่วงเลยปลายส่วนเบื้องล่างไป
เป็นปาราชิก. ในยานที่กำลังเดินทางไปเจ้าของยานลงจากยานแวะออกจากทาง
ไปด้วยกรณียะบางอย่าง ถ้ามีภิกษุรูปอื่นเดินสวนทางมา พบเห็นยานว่างจาก
การอารักขา จึงคิดว่า เราจักลักเอายาน แล้วขึ้นขี่. โคทั้งหลายพาหลีกไป
เว้นจากความพยายามของภิกษุทีเดียว ไม่เป็นอวหาร. คำที่เหลือเป็นเช่นดัง
ที่กล่าวไว้แล้วในเรือ ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในยาน

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในภาระ


ถัดจากภัณฑะที่ตั้งอยู่ในยานนี้ไป ภาระนั่นแล ชื่อว่า ภารัฏฐะ (ภัณฑะ
ที่ตั้งอยู่ในภาระ). ภาระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ 4 ประการด้วย
อำนาจแห่งสีสภาระเป็นต้น. ในภัณฑะที่ตั้งอยู่ในภาระนั้น พึงทราบการกำหนด
อวัยวะมีศีรษะเป็นต้น เพื่อความไม่ฉงนในภาระทั้งหลาย มีสีสภาระเป็นต้น.
บรรดาอวัยวะเหล่านั้น พึงทราบการกำหนดศีรษะก่อน; นี้กำหนดส่วนเบื้องล่าง
คือ ที่เบื้องหน้ามีหลุมคอ, ที่คอเบื้องหลังของคนบางพวก มีขวัญอยู่ที่
ท้ายผม, ที่ข้างทั้งสองแห่งหลุมคอนั่นเอง ผมของคนบางพวก เกิดลามลงมา,
ผมเหล่าใด เขาเรียกว่า จอนหู, ส่วนเบื้องต่ำแห่งผมเหล่านั้นด้วย. กำหนด
เบื้องบนแต่นั้นขึ้นไป พึงทราบว่าเป็นศีรษะ. ภาระที่ตั้งอยู่ในระหว่างนี้ ชื่อว่า
สีสภาระ.
อวัยวะที่ชื่อว่า คอในข้างทั้งสอง เบื้องต่ำตั้งแต่จอนหูลงไป, เบื้องบน
ตั้งแต่ข้อศอกขึ้นไป, เบื้องต่ำตั้งแต่รากขวัญที่ท้ายทอยและ หลุมคอลงไป.
เบื้องบนตั้งแต่รากขวัญกลางหลัง และหลุมตรงลิ้นปี่ ในท่ามกลางที่กำหนด
ของอกขึ้นไป. ภาระที่ตั้งอยู่ในระหว่างนี้ ชื่อว่า ขันธภาระ.
ส่วนเบื้องต่ำตั้งแต่รากขวัญกลางหลัง และหลุมตรงลิ้นปี่ลงไปจนถึง
ปลายเล็บเท้า, นี้เป็นการกำหนดแห่งสะเอว, ภาระที่ตั้งอยู่ในสรีระโดยรอบใน
ระหว่างนี้ ชื่อว่า กฏิภาระ.
ส่วนเบื้องต่ำตั่งแต่ข้อศอกลงไป จนถึงปลายเล็บมือ, นี้เป็นการกำหนด
แห่งของที่หิ้ว. ภาระที่ตั้งอยู่ในระหว่างนี้ ชื่อว่า โอลัมพกะ.
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยเป็นลำดับไป ในคำว่า สีเส ภารํ เป็นต้น
ดังต่อไปนี้ :- ภิกษุใดอันพวกเจ้าของมิได้สั่งว่า ท่านจงถือเอาภัณฑะนี้ไปใน