เมนู

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเรือ


พึงทราบวินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเรือ :- พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ
ทรงแสดงเรือเป็นอันดับแรกก่อน จึงตรัสว่า นาวา นาม ยาย ตรติ ดังนี้.
เพราะฉะนั้น ในอธิการว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเรือนี้ พาหนะสำหรับข้ามน้ำ
โดยที่สุด จะเป็นรางย้อมผ้าก็ตาม แพไม้ไผ่ก็ตาม พึงทราบว่า เรือ ทั้งนั้น.
ส่วนในการสมมติสีมา เรือประจำที่ภิกษุขุดภายใน หรือต่อด้วยแผ่นกระดาน
จัดทำไว้ โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุด บรรทุกคนข้ามฟากได้ถึง 3 คน จึงใช้ได้.
แต่ในนาวัฎฐาธิการนี้ บรรทุกคนได้แม้คนเดียว ท่านก็เรียกว่า เรือ เหมือนกัน.
ภัณฑะอย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องกับตัวเรือก็ตาม ไม่เนื่องกับตัวเรือ
ก็ตาม ชื่อว่าภัณฑะที่เก็บไว้ในเรือ. ลักษณะการลักภัณฑะที่เก็บไว้ในเรือนั้น
พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในภัณฑะที่ตั้งอยู่บนบก นั่นแล. การแสวงหาเพื่อน
การเดินไป การจับต้อง และการทำให้ไหว ในคำเป็นต้นว่า นาวํ อวหริสฺสามิ
มีนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแล. ส่วนในคำว่า พนฺธนํ โมจติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
เรือลำใด เมื่อแก้เครื่องผูกแล้ว ก็ยังไม่เคลื่อนจากฐาน, เครื่องผูกของเรือ
ลำนั้น ยังแก้ไม่ออกเพียงใด, เป็นทุกกฏเพียงนั้น, แต่ครั้นแก้ออกแล้ว
เป็นถุลลัจจัยก็มี เป็นปาราชิกก็มี. คำนั้น จำมีแจ้งข้างหน้า. คำที่เหลือมีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. พรรณนาเฉพาะบาลีมีเท่านี้ก่อน.
ส่วนวินิจฉัยนอกบาลี ในนาวัฏฐาธิการนี้ มีดังต่อไปนี้ :- สำหรับ
เรือที่ผูกจอดไว้ในกระแสน้ำเชี่ยว มีฐานเดียว คือ เครื่องผูกเท่านั้น. เมื่อ
เครื่องผูกนั้น สักว่าแก้ออกแล้วต้องปาราชิก. ความยุกติในเครื่องผูกนั้น ได้
กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้นนั่นแล. ส่วนในเรือที่เขาล่มไว้ ตั้งแผ่ไปตลอดประเทศ

แห่งน้ำใด ๆ ประเทศแห่งน้ำนั้น ๆ เป็นฐานของเรือนั้น. เพราะเหตุนั้น เมื่อ
ภิกษุกู้เรือนั้นข้างบนก็ดี กดให้จมลงในเบื้องต่ำก็ดี ให้ล่วงเลยโอกาสที่เรือ
ถูกในทิศทั้ง 4 ไปก็ดี ก็เป็นปาราชิกในขณะที่พอเลยไป. เรือไม่ได้ผูกจอด
อยู่ตามธรรมดาของเรือในน้ำนิ่ง เมื่อภิกษุฉุดลาก ไปข้างหน้าก็ดี ไปข้างหลัง
ก็ดี ข้างซ้ายและข้างขวาก็ดี ครั้นเมื่อสักว่าส่วนที่ตั้งอยู่ในน้ำอีกข้างหนึ่ง ล่วง
เลยโอกาสที่ส่วนข้างหนึ่งถูกไป เป็นปาราชิก. เมื่อยกขึ้นข้างบนให้พ้นจากน้ำ
เพียงปลายเส้นผม เป็นปาราชิก เมื่อกดลงข้างล่างให้ขอบปากล่วงเลยโอกาสที่
พื้นท้องเรือถูกต้องไป เป็นปาราชิก. สำหรับเรือที่ผูกไว้ริมตลิ่งจอดอยู่ในน้ำนิ่ง
มีฐาน 2 คือ เครื่องผูก 1 โอกาสที่จอด 1. ภิกษุแก้เรือนั้นออกจากเครื่อง
ผูกก่อน ต้องถุลลัจจัย. ภายหลังให้เคลื่อนจากฐาน โดยอาการอันใดอันหนึ่ง
แห่งอาการ 6 อย่าง ต้องปาราชิก. แม้ในการให้เคลื่อนจากฐานก่อน แก้
เครื่องผูกทีหลัง ก็มีนัยเหมือนกันนี้. โอกาสที่ถูกเทียว เป็นฐานของเรือที่เข็น
ขึ้นวางหงายไว้บนบก. กำหนดฐานของเรือนั้น พึงทราบโดยอาการ 5 อย่าง.
แต่โอกาสที่ขอบปากถูกเท่านั้น เป็นฐานของเรือที่เขาวางคว่ำไว้. ผู้ศึกษา พึง
ทราบการกำหนดฐานของเรือแม้นั้นไปโดยอาการ 5 อย่าง แล้วทราบว่าเป็น
ปาราชิก ในเมื่อเรือสักว่าล่วงเลยโอกาสที่ถูกข้างใดข้างหนึ่งและเบื้องบนไป
เพียงปลายเส้นผม. ก็แลโอกาสที่ไม้หมอนถูกเท่านั้นเป็นฐานของเรือที่เขาเข็น
ขึ้นบกแล้ววางบนไม้หมอนสองอัน. เพราะฉะนั้น วินิจฉัยในเรือที่เขาวางบน
ไม้หมอนนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในผ้าสาฎกเนื้อแข็งที่พาดไว้เฉพาะ
บนปลายเท้าเตียง และในหลาว แส้หางสัตว์เขาพาดไว้บนไม้ฟันนาค. แต่
ว่าเมื่อเรือผูกเชือกไว้ ไม่ใช่เพียงแต่โอกาสที่ถูกต้องเท่านั้นเป็นฐาน แห่งเรือ
ที่เขายังมิได้แก้เชือกซึ่งยาวประมาณ 60 - 70 วา ไว้เลยแล้วเหนี่ยวมาคล้องไว้

กับหลักที่ตอกลงดินตั้งไว้บนบกพร้อมกับเชือก, โดยที่แท้ พึงทราบว่า ด้าน
ยาวเพียงที่ส่วนเบื้องหลังของโอกาสที่เรือจดแผ่นดิน จับแต่ปลายเชือกมา เป็น
ฐานก่อน ส่วนด้านขวางประมาณที่สุดรอบที่เรือและเชือกจดแผ่นดิน เป็นฐาน.
เมื่อภิกษุฉุดลากเรือนั้นไปตามยาวก็ดี ตามขวางก็ดี พอสักว่าให้ส่วนที่จดดิน
อีกข้างหนึ่งเลยโอกาสที่ส่วนข้างหนึ่งถูก เป็นปาราชิก. เมื่อยกขึ้นข้างบนให้พ้น
จากแผ่นดินพร้อมทั้งเชือก เพียงปลายเส้นผม เป็นปาราชิก.
อนึ่ง ภิกษุใด มีไถยจิต ขึ้นไปยังเรือที่จอดอยู่ที่ท่า เอาถ่อหรือไม้
พายแจวไป, ภิกษุนั้นต้องปาราชิก. แต่ถ้าภิกษุกางร่ม หรือเอาเท้าทั้งสอง
เหยียบจีวร และเอามือทั้งสองยกขึ้นทำต่างใบเรือให้กินลม, ลมแรงพัดมาพา
เรือไป, เรือนั้นเป็นอันถูกลักไปด้วยลมนั้นแล. อวหารไม่มีแก่บุคคล แต่ความ
พยายามมีอยู่. ก็ความพยายามนั้น หาใช่เป็นความพยายามในอันที่ให้เคลื่อน
จากฐานไม่. ก็ถ้าเรือนั้นแล่นไปอยู่อย่างนั้น ภิกษุงดไม่ให้แล่นไปตามปกติเสีย
นำไปยังทิศาภาคส่วนอื่น ต้องปาราชิก. เรือที่แล่นไปถึงท่าบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง
เสียเอง ภิกษุไม่ให้เคลื่อนจากฐานเลยขายเสียแล้วก็ไป, ไม่เป็นอวหารเลย,
แต่เป็นภัณฑไทย ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเรือ

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในยาน


พึงทราบวินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในยาน :- พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ
จะทรงแสดงยานก่อน จึงตรัสว่า ยานํ นาม วยฺหํ เป็นต้น. ในคำว่า วยฺหํ
เป็นต้นนั้นมีวินิจฉัยดังนี้ :-
ยานที่ปิดบังด้วยไม้เลียบไว้เบื้องบน คล้ายกับมณฑปก็ตาม ที่เขาทำ
ปิดคลุมไว้ทั้งหมดก็ตาม ชื่อว่า คานหาม. เตียงที่เขาใส่กลอนซึ่งสำเร็จด้วนทอง
และเงินเป็นต้นไว้ที่ข้างทั้งสอง และทำไว้โดยนัยดังปีกครุฑ ชื่อว่า เตียงหาม,
รถและเกวียนปรากฏชัดแล้วแล. ภัณฑะที่มีวิญญาณหรือไม่มีวิญญาณ ซึ่งเขา
เก็บไว้ด้วยอำนาจเป็นกองเป็นต้น ในบรรดาคานหามเป็นต้นเหล่านั้น แห่งใด
แห่งหนึ่ง เมื่อภิกษุให้เคลื่อนจากฐานด้วยไถยจิต พึงทราบว่า เป็นปาราชิก
โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในภัณฑะที่ตั้งอยู่ในเรือและที่ตั้งอยู่บนบก. ส่วนความ
แปลกกัน มีดังต่อไปนี้ :- เมื่อภิกษุเอาตะกร้ารับเอาสิ่งของมีข้าวสารเป็นต้น
ที่ตั้งอยู่ในยาน แม้เมื่อไม่ยกตะกร้าขึ้น ครั้นตบตะกร้า ทำให้วัตถุมีข้าวสาร
เป็นต้น ซึ่งเนื่องเป็นอันเดียวกัน กระจายไป เป็นปาราชิก. นัยนี้ ย่อมใช้ได้
แม้ในสิ่งของที่ตั้งอยู่บนบกเป็นต้น. กิจทั้งหลายมีการเที่ยวหาเพื่อนเป็นต้น
ในคำว่า เราจักลักยาน มีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ก็ในคำว่า ฐานา จาเวติ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- สำหรับยาน
ที่เทียมด้วยโคคู่ มี 10 ฐาน คือ เท้าทั้ง 8 ของโคทั้ง 2 และล้อ 2. เมื่อ
ภิกษุมีไถยจิตขึ้นเกวียนนั้น นั่งบนทูบขับไป เป็นถุลลัจจัย ในเมื่อโคทั้ง 2
ยกเท้าขึ้น, และเมื่อโอกาสเพียงปลายเส้นผมล่วงเลยไปจากประเทศที่ล้อทั้ง 2
จดแผ่นดิน เป็นปาราชิก. แต่ถ้าโคทั้ง 2 รู้ว่า ผู้นี้มิใช่เจ้าของ ๆ เรา แล้ว