เมนู

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ


พึงทราบวินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ :- หลายบทว่า อุทเก
นิกฺขิตฺตํ โหติ
ความว่า ภัณฑะที่พวกชนผู้กลัวแต่ราชภัยเป็นต้น ทำการ
ปิดเสียให้ดีในวัตถุทั้งหลายมีภาชนะทองแดง และโลหะเป็นต้นซึ่งจะไม่เสียหาย
ไปด้วยน้ำเป็นธรรมดา แล้วเก็บไว้ในน้ำนิ่ง ในสระโบกขรณีเป็นต้น. เพียง
โอกาสที่ตั้งอยู่ เป็นฐานของทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำนั้น, น้ำทั้งหมด ไม่จัดเป็นฐาน.
หลายบทว่า คจฺฉติ วา อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เมื่อภิกษุ
เดินไปในน้ำที่ไม่ลึก เป็นทุกกฎทุก ๆ ย่างเท้า. ในน้ำลึกเมื่อทำความพยายาม
ด้วยมือ หรือด้วยเท้าก็ดี ทำความพยายามทั้งมือและเท้าก็ดีเป็นทุกกฏทุก
ประโยค. ถึงในการดำลงและผุดขึ้น เพื่อลักเอาหม้อ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
แต่ถ้าภิกษุเห็นภัยบางอย่าง จะเป็นงูน้ำหรือปลาร้ายก็ตาม กลัวแล้วก็หนีไป
เสียในระหว่าง ไม่เป็นอาบัติ. ในอาการมีจับต้องเป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย
โดยนัยที่กล่าวแล้วในหม้อ ซึ่งอยู่ในแผ่นดินนั่นแล. ส่วนความแปลกกันมี
ดังต่อไปนี้ :- ในภุมมัฏฐกถานั้น ภิกษุขุดลากไปบนแผ่นดิน, ในอุทกัฏฐกถานี้
ภิกษุกดให้จมลงในโคลน. ความกำหนดฐาน ย่อมมีได้ ด้วยอาการ 6 ด้วย
ประการฉะนี้. ในดอกอุบลเป็นต้น วัตถุแห่งปาราชิก จะครบในดอกใด, เมื่อ
ดอกนั้นสักว่า ภิกษุเด็ดแล้ว ต้องปาราชิก. ก็บรรดาชาติดอกบัวเหล่านี้
เปลือกบัวแม้ที่ข้าง ๆ หนึ่งแห่งอุบลชาติทั้งหลาย ยังไม่ขาดไปเพียงใด, ยัง
รักษาอยู่เพียงนั้น. ส่วนปทุมชาติเมื่อก้านขาดแล้ว ใยข้างในแม้ยังไม่ขาด
ก็รักษาไว้ไม่ได้. ดอกอุบลเป็นต้นที่เจ้าของตัดวางไว้, ดอกใด จะยังวัตถุ
ปาราชิกให้ครบได้, เมื่อดอกนั้นอันภิกษุยกขึ้นแล้ว ก็เป็นปาราชิก. ดอกอุบล