เมนู

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่อยู่ในกลางแจ้ง


พึงทราบวินิจฉัยในภัณฑะที่ตั้งอยู่ในกลางแจ้ง. ภัณฑะที่เขาวางไว้บน
เตียงและตั่งเป็นต้น จะเป็นของควรจับต้องหรือไม่ควรจับต้องก็ตาม เมื่อภิกษุ
จับต้องด้วยไถยจิต เป็นทุกกฎ. ก็แลในภัณฑะที่เขาวางไว้บนเตียงและตั่งนี้
ควรทราบวินิจฉัยตามนัยที่กล่าวไว้ในภัณฑะที่ตั้งอยู่บนบก. ส่วนความแปลกกัน
พึงทราบดังนี้ :-
ถ้าผ้าสาฎกที่แข็งด้วยแป้ง ซึ่งเขาขึงไว้ที่เตียงหรือตั่ง ตรงกลางไม่ถูก
พื้นเตียง ถูกแต่เท้าเตียงเท่านั้น, พึงทราบฐานด้วยอำนาจแห่งเท้าทั้ง 4 ของ
เตียงนั้น. จริงอยู่ เมื่อผ้าสาฎกนั้น สักว่าอันภิกษุให้ล่วงเลยโอกาสที่ถูก
เบื้องบน แห่งเท้าเตียงเท่านั้น ย่อมเป็นปาราชิก ในเพราะเหตุให้ก้าวล่วงนั้น.
แต่เมื่อภิกษุลักไปพร้อมทั้งเตียงและตั่ง พึงทราบฐาน ด้วยอำนาจโอกาสที่
เท้าเตียงและตั่งตั้งจดอยู่.
บทว่า จีวรวํเส วา มีความว่า บนราวหรือบนขอไม้ที่เขาผูกตั้งไว้
เพื่อประโยชน์แก่การพาดจีวร. เฉพาะโอกาสที่ถูกกับโอกาสที่ตั้งอยู่ เป็นฐาน
ของจีวรที่พาดไว้บนราวนั้น ซึ่งเอาชายไว้ข้างนอก เอาขนดไว้ข้างใน, ราว
จีวรทั้งหมด หาได้เป็นฐานไม่. เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุจับจีวรนั้นที่ขนด
ดึงมาด้วยไถยจิต ให้โอกาสที่ตั้งอยู่บนราวด้านนอก ล่วงเลยประเทศที่ราวจีวร
ถูกด้านในไป เป็นปาราชิก ด้วยการดึงมาเพียงนิ้วเดียวหรือสองนิ้วเท่านั้น.
นัยแม้แห่งภิกษุผู้จับที่ชายดึงมา ก็เหมือนกันนี้. แต่เมื่อภิกษุรูดลงข้างซ้าย
หรือข้างขวาบนราวจีวรนั้นนั่นเอง ครั้นเมื่อจีวรนั้นสักว่าล่วงเลยฐานแห่งชาย
ข้างขวาด้วยชายข้างซ้าย หรือสักว่าล่วงเลยฐานแห่งชายข้างซ้ายด้วยชายข้างขวา

ไป เป็นปาราชิก ด้วยการรูดไปเพียง 10 นิ้ว หรือ 12 นิ้วเท่านั้น. เมื่อ
ภิกษุยกขึ้นข้างบน เป็นปาราชิก ด้วยการยกขึ้นเพียงปลายเส้นผม. เมื่อภิกษุ
แก้จีวรที่เขาเอาเชือกผูกแขวนไว้ จะถูกราวจีวรหรือไม่ก็ตาม เป็นถุลลัจจัย,
เมื่อแก้ออกแล้ว เป็นปาราชิก. จริงอยู่ จีวรนั้นพอสักว่าแก้ออกเท่านั้น ย่อม
ถึงความนับว่า พ้นจากฐาน. เมื่อภิกษุคลายจีวรที่เขาพันไว้ที่ราวออก เป็น
ถุลลัจจัย, ครั้นเมื่อจีวรนั้นสักว่าคลายออกเสร็จแล้ว ก็ต้องปาราชิก. ในจีวร
ที่เขาทำเป็นห่วงเก็บไว้ ภิกษุตัดห่วงออกก็ดี แก้ออกก็ดีปลดปลายราวข้างหนึ่ง
แล้วรูดออกก็ดี ต้องถุลลัจจัย, ครั้นเมื่อห่วงนั้น สักว่าขาดก็ดี สักว่าแก้ออก
แล้วก็ดี สักว่ารูดออกแล้วก็ดี ต้องปาราชิก. ภิกษุไม่ได้ทำอย่างนั้นเลย รูดไป
รูดมาบนราวจีวร, ยังรักษาอยู่ก่อน. จริงอยู่ ราวจีวรแม้ทั้งหมดเป็นฐานของ
ห่วง. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุที่การรูดหมุนไปบนราวจีวรนั้นเป็นของ
ธรรมดา. แต่ถ้าภิกษุเอามือจับจีวรนั้นทำให้ลอยไปในอากาศ ต้องปาราชิก.
เพียงโอกาสที่ถูกกับโอกาสที่ตั้งอยู่ เป็นฐานของจีวรที่เขาคลี่พาดไว้. วินิจฉัย
ในจีวรชนิดนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในจีวรที่พับพาดไว้. ส่วนจีวร
ใด เป็นของถูกพื้นด้วยชายข้างหนึ่ง, ฐานจีวรนั้นมี 2 ฐาน ด้วยอำนาจโอกาส
ที่จดราวจีวรและพื้น. ในจีวรที่จดพื้นด้วยชายข้างหนึ่งนั้น พึงทราบวินิจฉัย
ตามนัยที่กล่าวแล้วในผ้าสาฎกไม่แข็งนั่นแหละ. แม้ในสายระเดียงจีวร ก็พึง
ทราบวินิจฉัยดังนี้แล. ส่วนภัณฑะที่เขาวางแขวนไว้บนขอ จะเป็นหม้อยาหรือ
ถุงยาก็ตาม, ถ้าตั้งอยู่ไม่ถูกฝาหรือพื้น, เมื่อภิกษุรูดหูที่คล้องปลดออก เมื่อ
ภัณฑะนั้นสักว่าออกจากปลายขอไป, เป็นปาราชิก. หูสำหรับคล้องเป็นของแข็ง
เมื่อภิกษุยกขึ้นพร้อมทั้งหลักหู ทำให้ลอยไปในอากาศ ถึงเมื่อหูที่คล้องนั้น
ยังไม่หลุดออกจากปลายขอ ก็เป็นปาราชิก. ภัณฑะเป็นของพิงติดอยู่กับฝา,

ภิกษุดึงภัณฑะนั้นออกจากปลายขอครั้งแรก ต้องถุลลัจจัย, ภายหลังจึงปลด
ฝาออก ต้องปาราชิก. นัยแม้แห่งภิกษุผู้ปลดฝาออกครั้งแรกแล้ว ภายหลังจึง
นำออกจากขอ ก็เหมือนกันนี้. ก็ถ้าภิกษุไม่อาจปลดภัณฑะที่หนักออกได้
ตนเองจึงทำให้พิงฝาแล้วปลดออกจากขอ, เมื่อภัณฑะนั้น แม้ภิกษุไม่ให้ห่างฝา
สักว่าปลดออกจากขอได้เท่านั้น เป็นปาราชิก. เพราะว่าฐานที่ตนทำ ไม่จัด
เป็นฐาน. แต่สำหรับภัณฑะที่ตั้งจดพื้นมี 2 ฐานเท่านั้น. วินิจฉัยในภัณฑะที่
ตั้งจดพื้นนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วแล. ก็แลภัณฑะใด เขาใส่สาแหรก
แขวนไว้. เมื่อภิกษุปลดภัณฑะนั้นออกจากสาแหรกก็ดี ปลดภัณฑะนั้นทั้ง
สาแหรกออกจากขอก็ดี เป็นปาราชิก. และถึงความต่างกันแห่งฐานในภัณฑะ
ที่เขาใส่สาแหรกแขวนไว้นี้ ก็พึงทราบอย่างภัณฑะที่ชิดฝาและพื้น.
ตะปูที่เขาตอกฝาไว้ตรง ๆ ก็ดี เดือยที่เกิดในฝานั้นนั่นเองก็ดี ชื่อว่า
ภิตติขีละ ตะปูฝา. ส่วนตะปูงอนที่เขาตอกไว้นั้นแหละ ชื่อ ฟันนาค. ภัณฑะ
ที่เขาแขวนไว้บนตะปูฝาและฟันนาคนั้น พึงทราบวินิจฉัยตามนัยที่กล่าวแล้ว
ในภัณฑะที่แขวนไว้บนขอ. ก็หอกหรือหลาวหรือแส้หางสัตว์ ซึ่งเขายกขึ้น
พาดไว้บนตะปูฝาหรือฟันนาค 2-3 อัน ซึ่งติดเรียงกันเป็นลำดับ ภิกษุจับที่
ปลายหรือที่ด้ามลากมา, เพียงแต่โอกาสที่ตะปูฝาหรือฟันนาคอันหนึ่ง ๆ ถูก
ล่วงเลยไปเท่านั้น ต้องปาราชิก. เพราะว่าเพียงโอกาสที่ถูกเท่านั้น ย่อมเป็น
ฐานของหอกหลาวและแส้หางสัตว์เหล่านั้น, ตะปูฝาหรือฟันนาคทั้งหมด ไม่
จัดเป็นฐาน. ภิกษุยืนหันหน้าเข้าฝา จับตรงกลางลากมา เพียงแต่ส่วนด้านนอก
ล่วงเลยโอกาสที่ส่วนด้านในถูก ต้องปาราชิก. แม้เมื่อภิกษุเลื่อนไปข้างหน้า
ก็มีนัยเหมือนกันนี้. เมื่อภิกษุเอามือจับยกขึ้น ทำให้ลอยไปในอากาศ แม้
เพียงปลายเส้นผม ต้องปาราชิก. ภิกษุลากหอกเป็นต้นนั้นที่เขาวางไว้ชิดฝา
ครูดฝามา, เมื่อเธอให้ด้ามล่วงเลยโอกาสที่ปลายถูก หรือให้ปลายล่วงเลย

โอกาสที่ด้ามถูกไป ต้องปาราชิก. ภิกษุยืนหันหน้าเข้าฝา ลากมาให้ส่วนที่สุด
ข้างอื่นล่วงเลยโอกาสที่ส่วนอีกข้างหนึ่งถูกไป ต้องปาราชิก. เมื่อยกขึ้นตรง ๆ
ทำให้ลอยไปในอากาศเพียงปลายเส้นผม ต้องปาราชิก.
สองบทว่า รุกฺเข วา ลคฺคิตํ ได้แก่ ภัณฑะที่เขายกขึ้นแขวนไว้
ที่ต้นตาลเป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยตามนัยที่กล่าวแล้วในภัณฑะที่แขวนไว้บน
ขอเป็นต้น. ก็แลเมื่อภิกษุเขย่าทะลายตาลที่เกิดอยู่บนต้นตาลนั้น วัตถุแห่ง
ปาราชิกจะเต็มในผลใด. เมื่อผลนั้นสักว่าหลุดจากขั้ว ต้องปาราชิก. ภิกษุตัด
ทะลายตาล ต้องปาราชิก. ส่วนทะลายตาลที่เขายกขึ้นเอาปลายพาดไว้ในง่ามใบ
ได้ 2 ฐาน คือฐานที่พาดไว้ 1 ฐานคือขั้ว 1. วินิจฉัยใน 2 ฐานนั้น พึง
ทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว. ส่วนภิกษุใด ยกปลายพาดที่ง่ามใบเองแล้วจึงตัด
เพราะกลัวว่า พอตัดขาดตกลงมา จะพึงทำเสียง สักว่าตัดเสร็จ, ภิกษุนั้น
ต้องปาราชิก. เพราะว่าฐานที่ตนทำ ไม่จัดเป็นฐาน. ในดอกและผลของต้นไม้
ทั้งปวง พึงทราบวินิจฉัยโดยอุบายนี้.
ในคำว่า ปตฺตาธารเกปิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- จะเป็นเชิงไม้ก็ตาม
เชิงวลัยก็ตาม เชิงท่อนไม้ก็ตาม ที่ตั้งบาตรชนิดใดชนิดหนึ่ง แม้เป็นกระเช้า
ก็ช่าง ทุกอย่างถึงความนับว่า เชิงรองบาตร ทั้งนั้น เพียงโอกาสที่บาตรถูก
นั่นเอง เป็นฐานของบาตรที่เขาตั้งไว้บนเชิงรองบาตรนั้น. ในเชิงไม้ของบาตร
นั้น มีกำหนดฐานโดยอาการ 5 อย่าง. ภิกษุจับบาตรที่ตั้งอยู่บนเชิงไม้นั้น
ที่ขอบปาก แล้วลากไปข้างใดข้างหนึ่งในทิศทั้ง 4 ให้ส่วนข้างอื่นล่วงเลย
โอกาสที่ส่วนข้างหนึ่ง ๆ ถูกไป ต้องปาราชิก. เมื่อยกขึ้นข้างบน เพียงปลาย
เส้นผม ต้องปาราชิก. แต่พึงให้ตีราคาของปรับอาบัติทุก ๆ แห่ง. แม้เมื่อ
ภิกษุลักบาตรไปพร้อมทั้งเชิงรอง ก็มีนัยนี้เหมือนกัน ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในกลางแจ้ง

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ


พึงทราบวินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ :- หลายบทว่า อุทเก
นิกฺขิตฺตํ โหติ
ความว่า ภัณฑะที่พวกชนผู้กลัวแต่ราชภัยเป็นต้น ทำการ
ปิดเสียให้ดีในวัตถุทั้งหลายมีภาชนะทองแดง และโลหะเป็นต้นซึ่งจะไม่เสียหาย
ไปด้วยน้ำเป็นธรรมดา แล้วเก็บไว้ในน้ำนิ่ง ในสระโบกขรณีเป็นต้น. เพียง
โอกาสที่ตั้งอยู่ เป็นฐานของทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำนั้น, น้ำทั้งหมด ไม่จัดเป็นฐาน.
หลายบทว่า คจฺฉติ วา อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เมื่อภิกษุ
เดินไปในน้ำที่ไม่ลึก เป็นทุกกฎทุก ๆ ย่างเท้า. ในน้ำลึกเมื่อทำความพยายาม
ด้วยมือ หรือด้วยเท้าก็ดี ทำความพยายามทั้งมือและเท้าก็ดีเป็นทุกกฏทุก
ประโยค. ถึงในการดำลงและผุดขึ้น เพื่อลักเอาหม้อ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
แต่ถ้าภิกษุเห็นภัยบางอย่าง จะเป็นงูน้ำหรือปลาร้ายก็ตาม กลัวแล้วก็หนีไป
เสียในระหว่าง ไม่เป็นอาบัติ. ในอาการมีจับต้องเป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย
โดยนัยที่กล่าวแล้วในหม้อ ซึ่งอยู่ในแผ่นดินนั่นแล. ส่วนความแปลกกันมี
ดังต่อไปนี้ :- ในภุมมัฏฐกถานั้น ภิกษุขุดลากไปบนแผ่นดิน, ในอุทกัฏฐกถานี้
ภิกษุกดให้จมลงในโคลน. ความกำหนดฐาน ย่อมมีได้ ด้วยอาการ 6 ด้วย
ประการฉะนี้. ในดอกอุบลเป็นต้น วัตถุแห่งปาราชิก จะครบในดอกใด, เมื่อ
ดอกนั้นสักว่า ภิกษุเด็ดแล้ว ต้องปาราชิก. ก็บรรดาชาติดอกบัวเหล่านี้
เปลือกบัวแม้ที่ข้าง ๆ หนึ่งแห่งอุบลชาติทั้งหลาย ยังไม่ขาดไปเพียงใด, ยัง
รักษาอยู่เพียงนั้น. ส่วนปทุมชาติเมื่อก้านขาดแล้ว ใยข้างในแม้ยังไม่ขาด
ก็รักษาไว้ไม่ได้. ดอกอุบลเป็นต้นที่เจ้าของตัดวางไว้, ดอกใด จะยังวัตถุ
ปาราชิกให้ครบได้, เมื่อดอกนั้นอันภิกษุยกขึ้นแล้ว ก็เป็นปาราชิก. ดอกอุบล