เมนู

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ


พึงทราบวินิจฉัยในของที่อยู่ในอากาศ. สำหรับนกยูง พึงทราบการ
กำหนดฐานโดยอาการ 6 อย่าง คือ ข้างหน้ากำหนดด้วยจะงอยปาก ข้างหลัง
กำหนดด้วยปลายลำแพนหาง ข้างทั้ง 2 กำหนดด้วยปลายปีก เบื้องต่ำกำหนด
ด้วยปลายเล็บเท้า เบื้องบนกำหนดด้วยปลายหงอน. ภิกษุคิดว่า จักจับนกยูง
ซึ่งมีเจ้าของ อัน (บิน) อยู่ในอากาศ ยืนอยู่ข้างหน้า หรือเหยียดมือออก.
นกยูงกางปีกอยู่ในอากาศนั่นแหละ กระพือปีกแล้วหยุดบินยืนอยู่ เป็นทุกกฏ
แก่ภิกษุนั้น, ไม่ให้นกยูงนั้นไหว เอามือลูบคลำ เป็นทุกกฎเหมือนกัน,
ไม่ให้เคลื่อนจากฐาน ให้ไหวอยู่ เป็นถุลลัจจัย. ส่วนจะเอามือจับหรือไม่จับ
ก็ตาม ให้ปลายลำแพนหางล่วงเลยโอกาสที่จะงอยปากถูก หรือให้จะงอยปาก
ล่วงเลยโอกาสที่ปลายลำแพนหางถูก, ถ้านกยูงนั้น ได้ราคาบาทหนึ่งไซร้,
เป็นปาราชิก. อนึ่ง ให้ปลายปีกข้างขวา ล่วงเลยโอกาสที่ปลายปีกข้างซ้ายถูก
หรือให้ปลายปีกข้างซ้าย ล่วงเลยโอกาสที่ปลายปีกข้างขวาถูก ก็เป็นปาราชิก.
อนึ่ง ให้ปลายหงอน ล่วงเลยโอกาสที่ปลายเล็บเท้าถูก หรือให้ปลายเล็บเท้า
ล่วงเลยโอกาสที่ปลายหงอนถูก ก็เป็นปาราชิก. นกยูงบินไปทางอากาศ จับที่
บรรดาอวัยวะมีศีรษะเป็นต้น อันใด, อวัยวะอันนั้น เป็นฐานของนกยูงนั้น.
เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นแม้เมื่อทำนกยูงตัวนั้น ซึ่งเกาะอยู่ที่มือให้ส่ายไปข้าง
โน้นและข้างนี้ ชื่อว่าทำให้ไหวแท้. และถ้าเธอเอามืออีกข้างหนึ่งจับให้เคลื่อน
จากฐาน เป็นปาราชิก. ภิกษุยื่นมืออีกข้างหนึ่งเข้าไปใกล้, นกยูงโดดไปเกาะ
ที่มือนั้นเสียเอง ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุมีไถยจิต รู้ว่านกยูงจับที่อวัยวะ ย่างเท้า
ก้าวแรก เป็นถุลลัจจัย, ก้าวที่สอง เป็นปาราชิก. นกยูงจับอยู่บนพื้นดิน