เมนู

เรื่องอนุบัญญัติทุติยปาราชิก


สองบทว่า รชกตฺถรณํ คนฺตฺวา ความว่า ไปสู่ท่าที่ตากผ้าของ
ช่างย้อม. จริงอยู่ ท่านั้น เรียกว่า ลานตากผ้าของช่างย้อม เพราะที่ท่านั้นเป็น
ที่พวกช่างย้อมลาดผ้าตากไว้.
บทว่า รชกภณฺฑิกํ ได้แก่ ห่อสิ่งของ ๆ พวกช่างย้อม. เวลาเย็น
พวกช่างย้อม เมื่อจะกลับเข้าไปยังเมือง ผูกผ้ามากผืนรวมกันเป็นห่อๆ ไว้, พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ เมื่อช่างย้อมเหล่านั้นไม่เห็น เพราะความเลินเล่อ ก็ได้ลัก
อธิบายว่า ขโมยเอาห่อหนึ่งจากห่อนั้นไป.

[

อรรถาธิบายบ้านที่มีกระท่อมหลังเดียวเป็นต้น

]
คำมีอาทิอย่างนี้ว่า คาโม นาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพื่อ
แสดงประเภทแห่งบ้านและป่า ที่พระองค์ตรัสไว้แล้วในคำนี้ว่า จากบ้านก็ดี
จากป่าก็ดี. ในคำว่า บ้านแม้มีกระท่อมหลังเดียว เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ : -
ในหมู่บ้านใดมีกระท่อมหลังเดียวเท่านั้น ชื่อว่ามีเรือนหลังเดียว
เหมือนในมลัยชนบท บ้านนี้ ชื่อว่า บ้านมีกระท่อมหลังเดียว. บ้านเหล่าอื่น
ก็ควรทราบโดยนัยนั้น. บ้านใดเป็นถิ่นที่ยักษ์หวงแหน เพราะไม่มีพวกมนุษย์
โดยประการทั้งปวง หรือพวกมนุษย์อยากจะกลับมาแม้อีกด้วยเหตุบางอย่าง
ทีเดียว ก็หลีกไปเสียจากบ้านใด, บ้านนั้น ชื่อว่าไม่มีมนุษย์. บ้านใด ที่เขา
ทำกำแพงก่อด้วยอิฐเป็นต้นไว้ โดยที่สุด แม้ล้อมไว้ด้วยหนามและกิ่งไม้,
บ้านนั้น ชื่อว่ามีเครื่องล้อม. บ้านใดที่พวกมนุษย์ไม่ได้ตั้งอาศัยอยู่ ด้วยอำนาจ
เป็นสถานที่พักอยู่รวมกัน ซึ่งใกล้ถนนเป็นต้น แต่สร้างเรือนไว้ 2-3 ตัว หลัง
แล้วเข้าอาศัยอยู่ในที่นั้น ๆ ดุจโคนอนเจ่าอยู่ในที่นั้น ๆ 2-3 ตัว ฉะนั้น

บ้านนั้น ชื่อว่าที่อยู่อาศัยดุจเป็นที่โคจ่อมเป็นต้น. บรรดาหมู่ต่าง และหมู่
เกวียนเป็นต้น หมู่ใดหมู่หนึ่ง ชื่อว่าสัตถะ. อนึ่ง ในสิกขาบทนี้ นิคมก็ดี
บ้านก็ดี พึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วย คามศัพท์ทั้งนั้น.

[

อรรถาธิบายเขตอุปจารบ้านและเรือนเป็นต้น

]
คำว่า อุปจารบ้าน เป็นต้น พระองค์ตรัส เพื่อแสดงการกำหนดป่า.
สองบทว่า อินฺทขีเล ฐิตสฺส ความว่า ได้แก่บุรุษผู้ยืนอยู่ที่เสา
เขื่อนร่วมในแห่งบ้านที่มีเสาเขื่อน 2 เสา ดุจอนุราธบุรี ฉะนั้น. จริงอยู่
เสาเขื่อนภายนอก แห่งอนุราธบุรีนั้น โดยอภิธรรมนัย ย่อมถึงการนับว่า
เป็นป่า. อนึ่ง ได้แก่ บุรุษผู้ยืนอยู่ที่ท่ามกลางแห่งบ้านที่มีเสาเขื่อนเสาเดียว
หรือผู้ยืนอยู่ที่ท่ามกลางแห่งบานประตูบ้าน. แท้จริง ในบ้านใด ไม่มีเสาเขื่อน,
ตรงกลางแห่งบานประตูบ้าน ในบ้านนั่นแล เรียกว่า เสาเขื่อน. เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า ได้แก่ บุรุษผู้ยืนอยู่ที่ท่ามกลาง แห่งบานประตูบ้าน.
บทว่า มชฺฌิมสฺส ความว่า ได้แก่ บุรุษมีกำลังปานกลาง หาใช่
บุรุษขนาดกลางผู้มีกำลังพอประมาณไม่ คือ บุรุษผู้มีกำลังน้อยหามิได้เลย ทั้ง
ไม่ใช่บุรุษมีกำลังมาก, มีคำอธิบายว่า ได้แก่ บุรุษผู้มีกำลังกลางคน.
บทว่า เลฑฺฑุปาโต ได้แก่ สถานที่ตกแห่งก้อนดินที่เขา
ไม่ได้ขว้างไป เหมือนอย่างมาตุคาม จะให้พวกกาบินหนีไป จึงยกมือขึ้นโยน
ก้อนดินไปตรง ๆ เท่านั้น และเหมือนอย่างพวกภิกษุวักน้ำสาดไปในโอกาสที่
กำหนดเขตอุทกุกเขป แต่ขว้างไปเหมือนคนหนุ่ม ๆ จะประลองกำลังของตน
จึงเหยียดแขนออกขว้างก้อนดินไป ฉะนั้น. แต่ไม่ควรกำหนดเอาที่ซึ่งก้อนดิน
ตกแล้วกลิ้งไปถึง.