เมนู

แก้ว่า ในอรรถกถามหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ก่อนว่า ผู้ที่จำวัดโดยพับ
ไปข้างเดียวนั่นแลย่อมพ้น, ส่วนที่ยกเท้าพ้นจากพื้นดินแล้วจำวัด จะเป็นผู้ที่
ถูกยักษ์เข้าสิงก็ตาม เป็นผู้ปราศจากสัญญา (หมดสติ) ก็ตาม ย่อมไม่พ้น.
ในอรรถกาถากุรุนที ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่ถูกมัดให้นอนเท่านั้น ย่อมพ้น. ส่วน
ในมหาอรรถกถา พระมหาปทุมเถระ กล่าวไว้ว่า ภิกษุรูปใดเดินจงกรมอยู่
สลบล้มลง แล้วหลับอยู่ในสถานที่นั้นนั่นเอง, อาบัติย่อมไม่ปรากฏแก่ภิกษุ
รูปนั้น เพาะเธอไม่มีอำนาจ, แต่พระอาจารย์ทั้งหลายมิได้กล่าวว่า ; เพราะ
ฉะนั้น จึงเป็นอาบัติทีเดียว. ส่วนภิกษุ 2 รูป คือ ผู้ที่ยักษ์เข้าสิง 1 ผู้ที่ถูก
มัดให้นอน 1 ย้อมพ้นจากอาบัติแท้แล.

[เรื่องภิกษุฝันได้เสพเมถุนธรรม]


ในเรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า อนาปตฺติ สุปินนฺเตน ความว่า ชื่อว่าไม่เป็นอาบัติ
เพราะความฝันด้วยอาการอย่างนี้ เพราะไม่ใช่วิสัย ; เหตุดังนั้น พระอุบาลีเถระ
จึงได้วินิจฉัยเรื่องนี้ แม้ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เคยทรงวินิจฉัยเลย โดย
ความถือเอาตามนัย. และแม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับ (เรื่องที่ท่าน
พระอุบาลีเถระวินิจฉัยนั้นแล้ว) ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อุบาลีกล่าวไว้
ชอบแล้ว, อุบาลีกล่าวแก้ปัญหานี้ ดุจทำรอยเท้าไว้ในที่ไม่มีรอยเท้า ดุจแสดง
รอยเท้าไว้ในอากาศ ฉะนั้น ดังนี้แล้ว จึงทรงตั้งพระเถระไว้ในเอตทัคคะว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงวินัย อุบาลีนี้เป็นเยี่ยม.1
เรื่องทั้งหลายมีเรื่องนางสุปวาสาเป็นต้น2 ถัดจากเรื่องภิกษุชาวเมือง
ภารุกัจฉะนี้ไป มีเนื้อความชัดเจนแล้วทีเดียว.
1. องฺ. เอก. 20/32. 2. บาลีเดิมเป็น สุปัพพา.

ในเรื่องทั้งหลายมีเรื่องชักนำให้ภิกษุขืนเสพเมถุนธรรมในนางภิกษุณี
เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านั้น เป็นผู้ทรงขวนขวายในการเล่น ได้ทำอย่าง
นั้นเพราะอนาจารของตน. ตั้งแต่กาลนั้นมา ความพินาศจึงได้เกิดมีขึ้นแก่
เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย เพราะทรงทำเหตุอย่างนั้น.
ในเรื่องภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า ทสฺสนํ อคมาสิ ความว่า ภิกษุผู้เฒ่านั้นคิดว่า จัก
เยี่ยมภรรยาเก่านั้น จึงได้ไปยังเรือน เพราะความอนุเคราะห์. ขณะนั้น นาง
ได้ชี้แจงถึงข้อที่ตนและพวกเด็ก ๆ ไม่มีที่พึ่ง ให้ท่านฟังโดยประการต่าง ๆ และ
ทราบว่าภิกษุเฒ่านั้นไม่มีความไยดี จึงโกรธแล้วพูดว่า ท่านจงมาสึกเสียเถิด
จึงได้จับท่านโดยพลการ. ท่านผู้เฒ่าได้ถอยกลับไปเพื่อเปลื้องตน จึงได้ล้ม
หงายลง เพราะความชราทุพลภาพ. ขณะนั้น นางได้ทำตามใจของตนแล้ว.
แต่ภิกษุรูปนั้นเป็นพระอนาคามี ตัดกามราคะได้เด็ดขาดแล้ว; เพราะฉะนั้น
ท่านจึงไม่ยินดี ฉะนี้แล.
เรื่องลูกเนื้อ มีเนื้อความชัดเจนแล้วทีเดียว ฉะนี้แล.
ปฐมปาราชิกวรรณนา แห่งวินัยสังวรรณนา
ชื่อสมันตปาสาทิกาจบ.


ในข้อที่อรรถกถาชื่อสมันตปาสาทิกา
ในวินัยนั้น ชวนให้เกิดความเลื่อมใสรอบ
ด้าน มีคำอธิบายดังจะกล่าวต่อไปดังนี้ว่า

เมื่อวิญญูชนทั้งหลาย สอดส่องอยู่
โดยลำดับแห่งอาจารย์ โดยการแสดงประ-
เภทแห่งนิทานและวัตถุ โดยความเว้นลัทธิ
อื่น โดยความหมดจดแห่งลัทธิของตน โดย
การชำระพยัญชนะให้เรียบร้อย โดยเนื้อ
ความเฉพาะบท โดยลำดับแห่งบาลีและ
โยชนาแห่งบาลี โดยการวินิจฉัยสิกขาบท
และโดยการชี้ความต่างแห่งวินัยในวิภังค์,
คำน้อยหนึ่งซึ่งไม่ชวนให้เกิดความเลื่อมใส
ย่อมไม่ปรากฏในสมันตปาสาทิกานี้; เพราะ
เหตุนั้น สังวรรณนาแห่งวินัยที่พระโลกนาถ
ผู้อนุเคราะห์โลก ฉลาดในการฝึกเวไนย ได้
ตรัสไว้นี้ จึงเป็นไปโดยชื่อว่า สมันตปาสา-
ทิกา แล.