เมนู

[เรื่องสตรีรักสวาทพระภิกษุสุนทร]


ในเรื่องพระภิกษุชื่อสุนทร มีวินิจฉัยดังนี้ :- พระภิกษุรูปนี้ชื่อสุนทร
เป็นเด็กหนุ่มของตระกูลในกรุงราชคฤห์ บวชด้วยศรัทธา เพราะความที่ท่าน
มีอัตภาพสวยงาม จึงได้นามว่า สุนทร. สตรีนางนั้น พบเห็นท่านกำลังเดิน
ไปตามทางรถ ก็เกิดฉันทราคะขึ้นแล้วได้กระทำอาการที่แปลกนี้. ส่วนพระ-
เถระเป็นพระอนาคามี; เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่ยินดี. อันสภาพคือความไม่
ยินดีนี้ ไม่ใช่วิสัยของปุถุชนเหล่าอื่น.
ใน 4 เรื่อง ถัดจากเรื่องพระสุนทรนี้ไป มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุ
เหล่านั้น เป็นผู้เซอะโง่เขลารับคำของมาตุคามแล้วทำตามอย่างนั้น ภายหลัง
จึงมีความรับเกียจขึ้น. 3 เรื่อง มีเรื่องซากศพที่สัตว์ยังมิได้กัดกินเป็นต้น มี
เนื้อความชัดเจนแล้วทั้งนั้น.

[ภิกษุเสพเมถุนธรรมทางปากศพเป็นปาราชิก]


ในเรื่องซากศพที่มีศีรษะขาด 2 เรื่อง มีวินิจฉัยดังนี้:-
สองบทว่า วฏฺฏกเต มุเข คือ ในปากที่อ้า. ภิกษุเมื่อสอดองค-
ชาตเข้าไป (ในปากที่อ้านั้น) ถ้าสอดเข้าไปในถูกข้างล่างก็ดี ข้างบนก็ดี ข้าง
ทั้งสองก็ดี เป็นปาราชิก. ครั้นสอดเข้าไปไม่ถูกทั้ง 4 ข้าง แต่ถูกเพดานข้างใน
เป็นปาราชิกเหมือนกัน. เมื่อไม่ถูกทั้ง 4 ข้างและเพดาน สอดให้เชิดไปบน
อากาศเท่านั้น และชักออก เป็นทุกกฏ. อนึ่ง ถ้าฟันปิดแนบสนิทดี ภายใน
ปาก ไม่มีช่อง และฟันถูกเนื้อริมฝีปากภายนอกปิด เมื่อภิกษุสอดเข้าไปยัง
ช่องที่เปียกชุ่ม ซึ่งลมไม่ถูกต้อง ในปากที่มีเนื้อริมฝีปากปิดไว้นั้น แม้ชั่ว
เมล็ดงาเดียวเป็นปาราชิกเหมือนกัน. แต่เมื่อพยายามเฉพาะที่ฟัน ซึ่งมีเนื้อริม
ฝีปากที่เขาเฉือนออกไปแล้ว เป็นถุลลัจจัย. แม้ฟันซี่ใด ที่ยื่นออกไปข้างนอก

ไม่อาจจะปิดริมฝีปากได้, เมื่อภิกษุพยายามที่ฟันนั้นก็ดี พยายามที่ลิ้นซึ่งยื่น
ออกไปข้างนอกก็ดี เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. แม้ในสรีระที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อ
พยายามที่ลิ้นซึ่งยื่นออกไปข้างนอก เป็นถุลลัจจัยเหมือนกับ. แต่ถ้าฟันที่ลิ้น
ซึ่งยื่นออกไปข้างนอกไว้มิดชิดแล้วจึงสอดเข้าไปในปาก เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
เมื่อสอดองคชาตเข้าไปบนคอทางส่วนล่างแม้แห่งซากศพที่มีศีรษะขาด ถูกเพ-
ดาน เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
ในเรื่องกระดูก มีวินิจฉัยดังนี้ :- แม้เมื่อภิกษุกำลังเดินไปยัง
สุสาน เป็นทุกกฏ เมื่อรวบรวมกระดูกมาไว้ก็ดี กองไว้ก็ดี พยายามที่นิมิต
ด้วยความกำหนัดในเมถุนก็ดี พยายามด้วยความกำหนัดในอันเคล้าคลึงกายก็ดี
อสุจิจะเคลื่อนออกหรือไม่ก็ตาม เป็นทุกกฏทั้งนั้น แต่เมื่อพยายามด้วยความ
กำหนัดในอันปล่อย เมื่อสุจิเคลื่อนออกเป็นสังฆาทิเสส เมื่อไม่เคลื่อนออก
เป็นถุลลัจจัย.
ในเรื่องนาคตัวเมีย มีวินิจฉัยดังนี้ :- เมื่อภิกษุเสพเมถุนธรรม ใน
จำพวกสัตว์ทั้งปวง จะเป็นนางนาคมาณวิกา หรือบรรดานางกินรีเป็นต้น
ตนใดตนหนึ่งก็ตาม เป็นปาราชิก.
ในเรื่องนางยักษิณี มีวินิจฉัยดังนี้ :- เทวดาแม้ทั้งหมด ก็คือนาง
ยักษิณีนั่นเอง.

[ภิกษุเสพเมถุนธรรมในหญิงเปรตเป็นต้นเป็นปาราชิก]


ในเรื่องหญิงเปรต มีวินิจฉัยดังนี้ :- เปรตทั้งหลายมีนิชฌามตัณหิก-
เปรตเป็นต้น ใคร ๆ ไม่สามารถแม้จะแตะต้องได้. แต่นางวิมานเปรตทั้งหลาย
มีอยู่ อกุศลกรรมของนางวิมานเปรตเหล่าใดให้ผลอยู่ในข้างกาฬปักข์ นาง
วิมานเปรตเหล่านั้นย่อมได้เสวยสมบัติ ในข้างชุณหปักข์ เหมือนเทวดา ฉะนั้น.