เมนู

วินีตวัตถุปฐมปาราชิก


[

อุทานคาถา

]
ปุจฉาว่า คำประพันธ์เป็นพระคาถาว่า
เรื่องลิงตัวเมีย 1 เรื่อง เรื่องภิกษุ
วัชชีบุตร 1 เรื่อง เรื่องปลอมเป็นคฤหัสถ์ 1
เรื่อง เรื่องเปลือยกาย 1 เรื่อง เรื่องปลอม
เป็นเดียรถีย์ 7 เรื่อง เรื่องเด็กหญิง 1 เรื่อง
เรื่องภิกษุณีชื่ออุบลวรรณา 1 เรื่อง เรื่อง
เพศกลับ 2 เรื่อง เรื่องมารดา 1 เรื่อง เรื่อง
ธิดา 1 เรื่อง เรื่องพี่น้องหญิง 1 เรื่อง เรื่อง
ภรรยา 1 เรื่อง เรื่องภิกษุมีหลังอ่อน 1 เรื่อง
เรื่องภิกษุมีองคชาตยาว 1 เรื่อง เรื่องบาด
แผล 2 เรื่อง เรื่องรูปปั้น 1 เรื่องตุ๊กตา
ไม้ 1 เรื่อง เรื่องภิกษุชื่อสุนทร 1 เรื่อง
เรื่องสตรี 5 เรื่อง เรื่องป่าช้า 5 เรื่อง เรื่อง
กระดูก 1 เรื่อง เรื่องนาคตัวเมีย 1 เรื่อง
เรื่องนางยักษิณี 1 เรื่อง เรื่องหญิงเปรต 1
เรื่อง เรื่องบัณเฑาะก์ 1 เรื่อง เรื่องภิกษุมี
อินทรีย์พิการ 1 เรื่อง เรื่องจับต้อง 1 เรื่อง
เรื่องพระอรหันต์ในเมืองภัททิยะหลับ 1 เรื่อง
เรื่องภิกษุเมืองสาวัตถี 4 เรื่อง เรื่องภิกษุ

ชาวมัลละเมืองไพศาลี 3 เรื่อง เรื่องเปิด
ประตูนอน 1 เรื่อง เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุ-
กัจฉะฝัน 1 เรื่อง เรื่องอุบาสิกาชื่อว่าสุปัพพา
9 เรื่อง เรื่องอุบาสิกาชื่อว่า สัทธา 9 เรื่อง
เรื่องนางภิกษุณี 1 เรื่อง เรื่องนางสิกขมานา
1 เรื่อง เรื่องนางสามเณรี 1 เรื่อง เรื่องหญิง
แพศยา 1 เรื่อง เรื่องบัณเฑาะก์ 1 เรื่อง
เรื่องสตรีคฤหัสถ์ 1 เรื่อง เรื่องให้ผลัดกัน
1 เรื่อง เรื่องภิกษุผู้เฒ่า 1 เรื่อง เรื่องลูก
เนื้อ 1 เรื่อง,
นี้เป็นอย่างไร ?*
วิสัชนาว่า พระคาถาเหล่านี้ ชื่ออุทานคาถาแห่งวินีตวัตถุ คือเรื่อง
นั้น ๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง ซึ่งพระธรรมสังคาหา-
เถระทั้งหลายได้ใฝ่ใจไว้ว่า พระวินัยธรทั้งหลายจักเรียนเอาเรื่องเหล่านั้นได้
สะดวก จึงได้ตั้งไว้. ส่วนวัตถุคาถาพระอุบาลีเถระได้ใฝ่ใจไว้ว่า พระวินัยธร
ทั้งหลาย จักวินิจฉัยวินัยต่อไป (ในอนาคต) ด้วยลักษณะนี้ จึงได้ตั้งไว้ใน
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั่นเอง. เพราะฉะนั้น พระวินัยธร
ควรกำหนดลักษณะที่ตรัสไว้ในวินีตวัตถุนี้ให้ดี แล้วจึงวินิจฉัยปฐมสิกขาบท.
อนึ่ง ทุติยปาราชิกเป็นต้น ก็ควรวินิจฉัยด้วยลักษณะแห่งทุติยปาราชิกเป็นต้น
ที่ตรัสไว้แล้วในวินีตวัตถุทั้งหลาย, จริงอยู่ วินีตวัตถุทั้งหลาย ย่อมเป็นเรื่อง
สำหรับเทียบเคียง ของพระวินัยธรทั้งหลาย ดุจรูปที่เป็นหลักเทียบเคียงของ
พวกนักศิลปิน ฉะนั้น.
* อุทานคาถานี้ ได้แปลไว้เต็มสมบูรณ์ ตามมหาวิภังค์ วินัยปิฎก 1/62 เพื่อเรืองปัญญาของ
ผู้ใคร่ต่อการศึกษา.

บรรดาเรื่องเหล่านั้น สองเรื่องข้างต้น มีเนื้อความดังที่ตรัสไว้แล้ว
ในอนุบัญญัตินั่นเอง.
ในเรื่องที่ 3 มีวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า คิหิลิงฺเคน คือ เป็นผู้นุ่ง
ห่มผ้าขาวอย่างคฤหัสถ์.
ในเรื่องที่ 4 ไม่มีคำอะไร ๆ ที่ควรกล่าวไว้.
ในผ้า 7 ชนิด ถัดจากเรื่องที่ 4 นั่นไป มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ผ้าที่เขาร้อยหญ้าคาทำ ชื่อว่า ผ้าคากรอง. ผ้าเปลือกไม้ของพวกดาบส
ชื่อว่าผ้าเปลือกปอ. ผ้าที่เขาเย็บทำติดกันเป็นแผ่น มีสัณฐานดังแผ่นกระดาน
ชื่อว่าผ้าทอเป็นแผ่น. ผ้ากัมพลที่เขาเอาเส้นผม (มนุษย์) ทำเป็นเส้นด้ายทอ
ชื่อว่าผ้ากัมพลทำด้วยเส้นผม. ผ้ากัมพลที่เขาทอทำด้วยขนหางสัตว์จามรี ชื่อว่า
ผ้ากัมพลทำด้วยขนหางสัตว์. ผ้านุ่งที่เขาเอาขนปีกนกเค้าทำ ชื่อว่าผ้านุ่งทำ
ด้วยขนปีกนกเค้า. หนังเสือและมฤคพร้อมทั้งขนและกีบเล็บ ชื่อว่าผ้าหนังเสือ.
ในเรื่องที่ 12 มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า สารตฺโต ได้แก่ ผู้มีความกำหนัดด้วยความกำหนัดในอัน
เคล้าคลึงกาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความกำหนัดนั้นแล้ว จึงตรัสว่า
เป็นอาบัติสังฆาทิเสส.

[เรื่องนันทมาณพเสพเมถุนธรรมในนางอุบลวรรณาเถรี]


ในเรื่องที่ 13 มีวินิจฉัยดังนี้ :- พระเถรีนั้น ชื่อว่าอุบลวรรณา
เป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองสาวัตถี สมบูรณ์ด้วยอภินิหารตั้งแสนกัลป์. แม้
โดยปกติ พระเถรีนั้น มีผิวกาย สีคล้ายดอกอุบลเขียว น่าดูยิ่งนัก. ก็พระเถรีนั้น
ย่อมรุ่งเรืองยิ่งนัก เพราะไม่มีความเร่าร้อนด้วยกิเลสในภายใน. นางได้ชื่อว่า
อุบลวรรณา เพราะความที่นางมีผิวงดงามนั่นเอง.