เมนู

ไว้ว่า ภิกษุกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า !, พระองค์
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ! เมื่อไม่ยินดี ไม่เป็นอาบัติ.

[ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุบ้าและมีจิตฟุ้งซ่าน]


ภิกษุเป็นบ้าเพราะดี (กำเริบ) ชื่อว่า เป็นบ้า. จริงอยู่ ดีมี 2 อย่าง
คือ ดีที่มีฝัก 1 ดีที่ไม่มีฝัก 1. ดีที่ไม่มีฝัก ซึมซาบไปทั่วสรรพางค์ ดุจ
โลหิตฉะนั้น. เมื่อดีที่ไม่มีฝักนั้นกำเริบ พวกสัตว์ ย่อมมีสรีระสั่นเทาไป
เพราะหิดเปื่อยและหิดตอเป็นต้น. หิดเปื่อยและหิดตอเป็นต้นเหล่านั้น จะหาย
ได้เพราะการทายา. ส่วนดีที่มีฝักตั้งอยู่ในฝักของดี. เมื่อดีที่มีฝักนั้นกำเริบ
พวกสัตว์ย่อมเป็นบ้า.
ภิกษุผู้มีสัญญาวิปลาส (มีความจำคลาดเคลื่อน) ละทิ้งหิริและโอต-
ตัปปะเสียแล้ว ย่อมเที่ยวประพฤติกรรมที่ไม่ควร. แม้ย่ำยีสิกขาบททั้งเบา
และหนักอยู่ ก็ไม่รู้สึกตัว. ชื่อว่าเป็นผู้แก้ไขไม่ได้ แม้เพราะการเยียวยา;
ภิกษุผู้เป็นบ้าเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ.
ภิกษุชื่อว่า มีจิตฟุ้งซ่าน ได้แก่ ผู้ปล่อยจิต (ไปตามอารมณ์) ท่าน
เรียกว่า เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิง. ได้ยินว่า พวกยักษ์แสดงอารมณ์ทั้งหลาย
ที่น่ากลัว หรือสอดมือเข้าทางปากแล้ว บีบคั้นหทัยรูป กระทำพวกสัตว์ให้มี
ความจำคลาดเคลื่อน. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่านเห็นปานนั้นไม่เป็นอาบัติ.
ส่วนความแปลกกันแห่งภิกษุผู้เป็นบ้าสองพวกนั้น มีดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุเป็นบ้าเพราะดี (กำเริบ) จัดว่าเป็นบ้าตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว ไม่ได้
สัญญาตามปกติ. ผู้เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิง ยังกลับได้สัญญาตามปกติในบาง
ครั้งบางคราวบ้าง. แต่ในปฐมปาราชิกสิกขาบทนี้ ผู้เป็นบ้าเพราะดี (กำเริบ)
ก็ดี ผู้เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิงก็ดี จะยกไว้, ภิกษุรูปใด หลงลืมสติโดย