เมนู

ชนชาวเมืองและบุรุษผู้ทำการหลอกลวง ซึ่งขวนขวายในการเล่นเนื่อง
ด้วยเมถุนก็ดี นักเลงหญิงและนักเลงสุราเป็นต้นก็ดี ชื่อว่า นักเลง. ข้าศึก
ทั้งหลาย คือ นักเลงชื่อว่า ธุตตปัจจัตถิกา (นักเลงผู้เป็นข้าศึก).
หทัย ท่านเรียกว่า คันธ.* พวกข้าศึกที่ชื่อว่า อุปปลคันธะ เพราะ
อรรถว่า ชำแหละหทัยนั้น. ข้าศึกทั้งหลาย คือ ผู้ตัดหัวใจ ชื่อว่า อุปปล-
คันธปัจจัตถิกา.

[ข้าศึกสังหารภิกษุเซ่นไหว้เทวดาเพื่อสำเร็จการงาน]


ได้ยินว่า ข้าศึกผู้ตัดหัวใจเหล่านั้น หาได้เป็นอยู่ด้วยกสิกรรม และ
พาณิชยกรรมเป็นต้นไม่ พากันทำโจรกรรมมีการปล้นคนเดินทางเป็นต้น
เลี้ยงบุตรและภรรยา. เขาเหล่านั้น เมื่อต้องการความสำเร็จแห่งการงานได้
เซ่นไหว้ต่อเหล่าเทวดาไว้ จึงได้ชำแหละหทัยของพวกมนุษย์ไป เพื่อบวงสรวง
แก่เทวดาเหล่านั้น. ก็พวกมนุษย์ เป็นผู้หาได้ยากตลอดกาลทุกเมื่อ ส่วนพวก
ภิกษุผู้พำนักอยู่ในป่า ย่อมหาได้ง่าย. เหล่านั้นจับเอาภิกษุผู้มีศีลแล้ว ได้
สำนึกอยู่ว่า ชื่อว่าการฆ่าผู้มีศีล ย่อมเป็นของหนัก เพื่อจะทำลายศีลของภิกษุ
นั้น ให้พินาศไป จึงนำมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นมา หรือนำภิกษุนั้นไปในสำนัก
ของมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นนั้น.
ในเรื่องว่าด้วยพระราชาผู้เป็นข้าศึกเป็นต้นนี้ มีความแปลกกันเท่านี้.
เรื่องที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. และพึงทราบจตุกกะ
ทั้งหลายในวาระแม้ทั้ง 4 เหล่านี้ โดยนัยดังที่กล่าวแล้วในภิกขุปัจจัตถิกาวาระ
นั่นเอง. แต่ในพระบาลี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วโดยย่อ.

จบกถาว่าด้วยประเภทแห่งจตุกกะ โดยอาการทั้งปวง.


* ฟุตโน้ต ปฐมปาราชิกวณฺณนา หน้า 321 ว่า อุปฺปลนฺติ วุจฺจติ หทยํ หทัยเรียกว่า อุบล.

เรื่องภิกษุเสพเมถุนธรรมทางมรรคและมิใช่มรรค


บัดนี้ เพื่อความไม่งมงายในคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อ
ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรคทั้ง 3 ของมนุษย์ผู้เป็นหญิง เป็นต้น พระอุบาลี-
เถระจึงกล่าวคำว่า มคฺเคน มคฺคํ เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า มคฺเคน มคฺคํ ความว่า ภิกษุ
สอดองคชาตของตนเข้าไปทางบรรดามรรคทั้ง 3 ของหญิง มรรคใดมรรคหนึ่ง.
อีกอย่างหนึ่ง บรรดามรรคทั้ง 2 ที่ระคนกัน ภิกษุสอดวัจจมรรคเข้าไปทาง
ปัสสาวมรรค หรือสอดปัสสาวมรรคเข้าไปทางวัจจมรรค.
สองบทว่า มคฺเคน อมคฺคํ ความว่า ครั้นสอดเข้าไปทางปัสสาวมรรค
เป็นต้นแล้ว จึงชักออกมาทางบาดแผล โดยรอบแห่งมรรคนั้น.
สองบทว่า อมคฺเคน มคฺคํ ความว่า ครั้นสอดเข้าไปทางบาดแผล
โดยรอบแล้ว จึงชักออกทางมรรค.
สองบทว่า อมคฺเคน อมคฺคํ บรรดาบาดแผลทั้ง 2 ที่ระคนกัน
ครั้นสอดเข้าไปทางบาดแผลที่หนึ่งแล้ว จึงชักออกทางบาดแผลที่สอง. ในการ
กำหนดว่าเป็นบาดแผล พึงทราบว่า เป็นถุลลัจจัย ในที่ทุกแห่งด้วยอำนาจ
อนุโลมตามพระสูตรนี้.

[ภิกษุเสพเมถุนธรรมในทวารของภิกษุหลับไม่พ้นอาบัติ

]
บัดนี้ เพื่อความไม่งมงายในพระดำรัสที่จักตรัสไว้ข้างหน้าว่า เมื่อภิกษุ
ไม่รู้ ไม่ยินดี ไม่เป็นอาบัติ พระอุบาลีเถระจึงกล่าวคำว่า ภิกฺขุ สุตฺตภิกฺขุมฺหิ
เป็นต้น.