เมนู

[เรื่องพระวินัยธร 2 รูป]


ได้ยินว่า ที่เกาะตัมพปัณณิทวีป มีพระวินัยธร 2 รูป เป็นพระเถระ
ร่วมอาจารย์เดียวกัน คือ พระอุปติสสเถระ 1 พระปุสสเทวเถระ 1. พระ
เถระทั้งสองรูปนั้น ในคราวมีมหาภัย ได้บริหารรักษาพระวินัยปิฎกไว้. บรรดา
พระเถระทั้ง 2 รูปนั้น พระอุปติสสเถระเป็นผู้ฉลาดกว่า, แม้ท่านอุปติสสเถระ
นั้น ได้มีอันเตวาสิกอยู่ 2 รูป คือ พระมหาปทุมเถระ 1 พระมหาสุมเถระ 1,
บรรดาพระเถระ 2 รูปนั้น พระมหาสุมเถระ ได้สดับพระวินัยปิฎก 9 ครั้ง
พระมหาปทุมเถระ ได้สดับถึง 18 ครั้ง คือ ได้สดับร่วมกับท่านมหาสุมเถระ
นั้น 9 ครั้ง และได้สดับเฉพาะรูปเดียวต่างหากอีก 9 ครั้ง, บรรดาท่านทั้ง 2
รูปนั้น พระมหาปทุมเถระนี้แหละ เป็นผู้ฉลาดกว่า. บรรดาท่านทั้ง 2 รูปนั้น
พระมหาสุมเถระ ครั้นสดับพระวินัยปิฎกถึง 9 ครั้งแล้ว ก็ละทิ้งอาจารย์ ได้
ไปยังแม่น้ำคงคาฟากโน้น.
คราวนั้น พระมหาปทุมเถระ กล่าวว่า พระวินัยธรผู้ละทิ้งอาจารย์
ซึ่งยังมีชีวิตทีเดียว สำคัญข้อที่ตนพึงพักอยู่ในที่อื่น นี้เป็นผู้กล้าจริงหนอ!
เมื่ออาจารย์ยังมีชีวิต เธอถึงเรียนเอาพระวินัยปิฎก และอรรถกถาหลายครั้งแล้ว
ก็ตาม ก็ไม่ควรสลัดทิ้งเสีย ควรฟังเป็นนิตยกาล ควรสาธยายทุกกึ่งปี. ใน
กาลแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้หนักในพระวินัยอย่างนั้น วันหนึ่ง พระอุปติสสเถระ
นั่งพรรณนาบาลีประเทศนี้ในปฐมปาราชิกสิกขาบท แก่เหล่าอันเตวาสิก 500
รูป ซึ่งมีพระมหาปทุมเถระเป็นประมุขอยู่.

[เรื่องอันเตวาสิกถามปัญหาวินัยพระเถระ]


พวกอันเตวาสิก ถามพระอุปติสสเถระนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ !
ในเพราะซากศพที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมาก เป็นปาราชิก. ในเพราะซากศพ

ที่สัตว์กัดกินโดยมาก เป็นถุลลัจจัย, ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่ง
พึงเป็นอาบัติอะไร ?
พระเถระ กล่าวว่า อาวุโส! ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อ
จะทรงบัญญัติปาราชิก หาทรงบัญญัติให้มีส่วนเหลือไว้ไม่ ทรงรวบเอาเขต
ปาราชิกทั้งหมดไม่ให้มีส่วนเหลือเลย ทรงตัดช่องทางแล้วบัญญัติปาราชิกใน
วัตถุแห่งปาราชิกทีเดียว, จริงอยู่ สิกขาบทนี้ เป็นโลกวัชชะ ไม่ใช่เป็น
ปัณณัตติวัชชะ ; เพราะเหตุนั้น ถ้าว่า ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่ง
พึงเป็นปาราชิกไซร้, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็พึงทรงบัญญัติปาราชิกไว้, แต่
ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่งนี้ ฉายาปาราชิก ย่อมไม่ปรากฏ ปรากฏ
เฉพาะแต่ถุลลัจจัยเท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงบัญญัติปาราชิกไว้ในเพราะ
สรีระที่ตายแล้ว ก็ทรงตั้งปาราชิกไว้ในเพราะซากศพที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดย
มาก, ต่อจากซากศพที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมากนั้นไป ทรงบัญญัติถุลลัจจัย
เพื่อแสดงว่า ไม่มีปาราชิก จึงทรงตั้งถุลลัจจัยไว้ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกิน
แล้วโดยมาก, ถัดจากซากศพที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมากนั้นไป พึงทราบว่า
เพื่อแสดงว่า ไม่มีถุลลัจจัย.
ก็ขึ้นชื่อว่า ซากศพที่สัตว์กัดกินและยังมิได้กัดกินนั้น ควรเข้าใจ
เฉพาะในสรีระที่ตายแล้วเท่านั้น ไม่ควรเข้าใจในสรีระที่ยังเป็นอยู่. เพราะว่า
ในสรีระที่ยังเป็นอยู่ เมื่อเนื้อหรือเอ็น แม้มีประมาณเท่าหลังเล็บยังมีอยู่ ย่อม
เป็นปาราชิกทีเดียว. แม้หากว่า นิมิตถูกสัตว์กัดกินแล้วโดยประการทั้งปวง
ผิวหนังไม่มี, แต่สัณฐานนิมิต ยังปรากฏอยู่, สำเร็จการสอด (องคชาต) เข้า
ไป, เป็นปาราชิกเหมือนกัน. ก็เมื่อสัปเหร่อตัดที่นิมิตทั้งหมดออกไม่ให้มี

สัณฐานนิมิตเหลือเลย ถากเถือชำแหละออกโดยรอบ ย่อมเป็นถุลลัจจัย ด้วย
อำนาจสังเขปว่าเป็นแผล. เมื่อภิกษุพยายามที่ชิ้นเนื้อ ซึ่งตกไปจากนิมิตนั้น
เป็นทุกกฏ.
ส่วนในสรีระที่ตายแล้ว หากว่าสรีระทั้งหมด ถูกสัตว์กัดกินแล้วบ้าง,
ยังมิได้กัดกินบ้าง, แต่มรรคทั้ง 3 สัตว์ยังมิได้กัดกิน, เมื่อภิกษุพยายามใน
มรรคทั้ง 3 นั้น ย่อมเป็นปาราชิก. ในเพราะสรีระที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมาก
เป็นปาราชิกทีเดียว. ในเพราะสรีระที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่งและที่กัดกินแล้วโดย
มาก เป็นถุลลัจจัย. เมื่อภิกษุสอดองคชาตเข้าไปที่ตา จมูก ช่องหู หัวไส้
และฝักองคชาต หรือที่บาดแผลซึ่งถูกฟันด้วยศัสตราเป็นต้น ในสรีระที่ยัง
เป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยความกำหนัดในเมถุน แม้เพียงเมล็ดงาเดียว
ก็เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. เมื่อสอดเข้าไปในอวัยวะทั้งหลายมีรักแร้ เป็นต้น
ในสรีระที่เหลือ เป็นทุกกฏ. เมื่อสอดเข้าไปในซากศพที่สรีระยังสดอยู่ ในเขต
แห่งปาราชิก เป็นปาราชิก, ในเขตแห่งถุลลัจจัย เป็นถุลลัจจัย, ในเขตแห่งทุกกฏ
เป็นทุกกฏ. แต่ในกาลใด สรีระเป็นของขึ้นพอง สุกปลั่ง มีแมลงวันหัวเขียว
ไต่ตอม มีหมู่หนอนคราคร่ำ ใคร ๆ ไม่อาจแม้จะเข้าไปใกล้ได้ เพราะเป็น
ซากศพที่มีหนองไหลออกทั่วไปจากปากแผลทั้ง 9 แห่ง, ในกาลนั้น วัตถุแห่ง
ปาราชิกและวัตถุแห่งถุลลัจจัย ย่อมละไป, เมื่อภิกษุพยายามในสรีระเช่นนั้น
แห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นทุกกฏอย่างเดียว. เมื่อพยายามในจมูกของสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้งหลาย (ที่ตายแล้ว) มีช้าง ม้า โค แพะ อูฐ และกระบือเป็นต้น เป็นถุลลัจจัย.
เมื่อพยายามในหัวไส้และฝัก องคชาตเป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. เมื่อพยายามใน
ตา หู และบาดแผลของสัตว์ดิรัจฉานแม้ทั้งหมด (ที่ตายแล้ว) เป็นทุกกฏ,
แม้ในสรีระที่เหลือนี้ ก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน. เมื่อพยายามในสรีระที่ยังสดของ


สัตว์ดิรัจฉานที่ตายแล้ว ในเขตแห่งปาราชิก เป็นปาราชิก, ในเขตแห่งถุลลัจ-
จัย เป็นถุลลัจจัย, ในเขตแห่งทุกกฏ เป็นทุกกฏ. เมื่อพยายามในซากศพที่
สุกปลั่ง เป็นทุกกฏ ในที่ทุกแห่งโดยนัยดังกล่าวแล้วในเบื้องต้นนั่นเอง. ภิกษุ
เมื่อไม่ได้สอดหัวไส้และฝักองคชาตของบุรุษผู้ยังเป็นอยู่เข้าไป ด้วยความกำ-
หนัดในอันเคล้าคลึงกายหรือด้วยความกำหนัดในเมถุน แต่ทำนิมิตถูกต้องที่
นิมิต เป็นทุกกฏ. เมื่อไม่ได้สอด (องคชาตของตน) เข้าไปในนิมิตของหญิง
ด้วยความกำหนัดในเมถุน แต่ทำนิมิตกับนิมิตถูกต้องกัน เป็นถุลลัจจัย.
ส่วนในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวว่า ภิกษุถูกต้องนิมิตของหญิงด้วย
ปาก ด้วยความกำหนัดในเมถุน เป็นถุลลัจจัย. เพราะความไม่แปลกกันแห่ง
เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ จับแม่โคทั้งหลายกำลังข้ามแม่น้ำอจิรวดี
ที่เขาบ้าง ที่หูบ้าง ที่คอบ้าง ที่หางบ้าง ขึ้นขี่หลังบ้าง มีจิตกำหนัดถูกต้อง
องคชาตโคบ้าง* ดังนี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส ในจัมมขันธกะว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! อนึ่ง องคชาตอันภิกษุมีจิตกำหนัด ไม่พึงถูกต้อง, ภิกษุใด
พึงถูกต้อง, ภิกษุนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย. บัณฑิตควรเทียบเคียงคำนั้นแม้ทั้ง
หมดดูแล้ว ถือเอาโดยอาการที่ไม่ผิดเถิด.
ก็คำนั้น ไม่ผิดอย่างไร ? ไม่ผิดอย่างนี้ คือ :- ได้ยินว่า ในคำที่
ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาก่อนว่า ถูกต้องด้วยปาก ด้วยความกำหนัดใน
เมถุน ปากคือนิมิต ท่านประสงค์ว่า ปาก. ก็เนื้อความนี้แล บัณฑิตพึง
ทราบว่า เป็นความประสงค์ในมหาอรรถกถานั้น แม้เพราะท่านกล่าวว่า ด้วย
ความกำหนัดในเมถุน. จริงอยู่ ความพยายามในเมถุน ด้วยปากธรรมดาใน
นิมิตของหญิงหามีไม่. บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
* วิ. มหา. 5/23-24

ทรงหมายเอาภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้ขี่หลัง (แม่โค) แล้วถูกต้ององคชาตโค ด้วย
องคชาต (ของตน) ด้วยความกำหนัดในเมถุน จึงตรัสถุลลัจจัยไว้แม้ในขันธกะ.
อันที่จริงเมื่อถูกต้องโดยประสงค์อย่างอื่น เป็นทุกกฏ.
ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวไว้ว่า แม้ในขันธกะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาการถูกต้องด้วยปากธรรมดา จึงตรัสว่า เป็นถุลลัจจัย เพราะความ
เป็นกรรมที่หยาบ, แม้ในอรรถกถา ท่านก็ถือพระสูตรที่ตรัสหมายถึงกรรม
หยาบนั้นแล จึงกล่าวว่า ภิกษุถูกต้องด้วยปากธรรมดา ด้วยความกำหนัดใน
เมถุน เป็นถุลลัจจัย ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ในคำวินิจฉัยทั้งสองควรกำหนด
ให้ดีแล้วเชื่อถือแต่คำวินิจฉัยที่ถูกต้องกว่า.
แต่นักปราชญ์ทั้งหลายผู้รู้พระวินัย ย่อมสรรเสริญคำวินิจฉัยข้อแรก.
ก็เมื่อภิกษุผู้ถูกต้องนิมิตของหญิง ด้วยปากธรรมดาก็ดี ด้วยปากคือนิมิตก็ดี
ด้วยความกำหนัดในอันเคล้าคลึงกาย เป็นสังฆาทิเสส. เมื่อถูกต้องปัสสาวมรรค
ของสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ด้วยปากคือนิมิตเป็นถุลลัจจัย โดยนัยดังที่กล่าวแล้ว
นั่นแล เมื่อถูกต้องด้วยความกำหนัดในอันเคล้าคลึงกาย เป็นทุกกฏ ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยจตุกกะ 269 จตุกกะที่เหลือ.

กถาว่าด้วยองคชาตมีเครื่องลาดและไม่มี


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงนำ 270 จตุกกะมาแล้ว เพื่อรักษา
ภิกษุผู้ปฏิบัติ ด้วยประการอย่างนี้ บัดนี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นว่า บาปภิกษุ
เหล่าใดในอนาคต จักแกล้งอ้างเลศว่า อุปาทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่มีชีวิต)
อะไร ๆ อันอุปมทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่มีชีวิต) จะถูกต้ององคชาตที่ลาด
แล้วนี้ หามีไม่, ในการที่ไม่ถูกต้องนี้จะมีโทษอย่างไรเล่า?, บาปภิกษุเหล่านั้น
จักไม่มีที่พึ่งในศาสนาอย่างนี้ ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแยกแสดง บรรดาจตุกกะ
270 จตุกกะเหล่านั้น แต่ละจตุกกะ โดยความต่างแห่งองคชาตที่ลาดแล้ว
เป็นต้น 4 อย่าง จึงตรัสคำว่า พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาใน
สำนักของภิกษุ แล้วให้นั่งทับองคชาตด้วยวัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค
ของหญิงที่มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น ในสองบทเป็นต้นว่า สนฺถตาย อสนฺถตตสฺส
พึงทราบโยชนาโดยนัยนี้ว่า ให้นั่งทับองคชาตของภิกษุที่ไม่มีเครื่องลาด ด้วย
วัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค ของหญิงที่มีเครื่องลาด. บรรดามรรค
ทั้ง 3 มรรคใดมรรคหนึ่งของหญิง ที่ชื่อว่ามีเครื่องลาด ในบรรดามรรคที่มี
เครื่องลาดและไม่มีเครื่องลาดเหล่านั้น ได้แก่มรรคที่เขาเอาผ้าหรือใบไม้
เปลือกปอหรือหนัง หรือแผ่นดีบุกและสังกะสีเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง พัน
หรือสอดเข้าไปสวมไว้ในภายใน. องคชาตของชาย ที่ชื่อว่ามีเครื่องลาดนั้น
ได้แก่ องคชาตที่เขาเอาบรรดาวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง มีผ้าเป็นต้นเหล่านั้น
นั่นเองมาสวมไว้.