เมนู

เหมือน. ภิกษุเมื่อเสพเมถุนธรรมสอดองคชาติของตนเข้าไปในบรรดามรรค
ที่รู้กันว่าเป็นนิมิตเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง แม้เพียงเมล็ดงาเดียว ย่อม
ต้องปาราชิก. แต่เพราะเมื่อจะต้อง ย่อมต้องด้วยเสวนจิตเท่านั้น เว้นจาก
เสวนจิตนั้นหาต้องไม่ ; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดง
ลักษณะนั้น จึงตรัสพระดำรัสว่า ภิกฺขุสฺส เสวนจิตฺตํ อุปฏฺฐิเต ดังนี้
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขุสฺส ได้แก่ ภิกษุผู้เสพเมถุน. ใน
คำว่า เสวนจิตฺตํ อุปฏฺฐิเต นี้ เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ.
อธิบายว่า เมื่อเสวนจิตปรากฏแล้ว.
หลายบทว่า วจฺจมคฺคํ องฺคชาตํ ปเวเสนฺตสฺส ความว่า เมื่อ
ภิกษุสอดองคชาต คือ ปุริสนิมิตของตนเข้าไปทางมรรคที่อุจจาระออกไปนั้น
แม้เพียงเมล็ดงาเดียว.
สองบทว่า อาปตฺติ ปาราชิกสฺส ความว่า อาบัติปาราชิกย่อมมี
แก่ภิกษุนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อาปตฺติ แปลว่า ย่อมมีการต้อง.
บทว่า ปาราชิกกสฺส ได้แก่ ธรรมคือปาราชิก. ในทุก ๆ บท ก็
นัยนี้นั้นแล.

[ภิกษุถูกผู้อื่นข่มขืนแล้วยินดีเป็นปาราชิก]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอาบัติของภิกษุผู้สอด (องคชาต
ของตน) เข้าไปด้วยเสวนจิตอย่างเดียวอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงรักษา
เหล่ากุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ไม่ยินดีแม้ในเมื่อมีการสอด
(องคชาต) เข้าไป (ในองคชาตของตน) ด้วยความพยายามของผู้อื่น เพราะ

เหตุที่ ชื่อว่าการสอด (องคชาต) เข้าไปนั้น ไม่ใช่จะมีได้ด้วยความพยายาม
ของตนอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมมีได้แม้ด้วยความพยายามของผู้อื่น และเมื่อ
ภิกษุยินดีในการสอด (องคชาต) เข้าไปด้วยความพยายามของผู้อื่นแม้นั้น
ก็เป็นอาบัติ, คือเมื่อภิกษุมีความพร้อมเพรียงด้วยปฏิเสวนจิตก็เป็นอาบัติ นอกนี้
ไม่เป็นอาบัติ จึงตรัสพระดำรัสว่า ภิกฺขุปจฺจตฺถิกา มนุสฺสิตฺถึ เป็นต้น.
ในคำว่า ปจฺจตฺถิกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- เหล่าชนผู้
ชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่าต้องการ คือ ปรารถนาเป็นปฏิปักษ์. ข้าศึก
ทั้งหลาย คือ พวกภิกษุ ชื่อว่า ภิกฺขุปจฺจตฺถิกา (ภิกษุผู้เป็นข้าศึก). คำว่า
ภิกขุปัจจัตถิกานั่น เป็นชื่อของพวกภิกษุผู้ก่อเวร ซึ่งเป็นวิสภาคกัน.
หลายบทว่า มนุสฺสิตฺถึ ภิกฺขุโน สนฺติเก อเนตฺวา ความว่า
พวกภิกษุผู้มีความริษยาปรารถนาจะทำให้ภิกษุนั้นฉิบหาย เอาอามิสหลอกล่อ
หรือพูดด้วยอำนาจมิตรสันถวะว่า ท่านจงทำกิจนี้ของพวกเราเถิด แล้วพาเอา
หญิงมนุษย์บางคนมายังโอกาส ซึ่งเป็นที่อยู่ของภิกษุนั้น ในเวลาราตรี.
หลายบทว่า วจฺจมคฺเคน องฺคชาตํ อภินีสีเทนฺติ ความว่า
จับภิกษุรูปนั้นที่อวัยวะมี มือ เท้า และศีรษะเป็นต้นอย่างมั่น คือให้ดิ้นรน
ไม่ได้ แล้วให้นั่งคร่อม คือให้ประกอบองคชาตของภิกษุรูปนั้น ด้วยวัจจมรรค
ของหญิง.
ในคำว่า โส เจ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ถ้าภิกษุรูปนี้นั้นยินดี
คือยอมรับการสอสดองคชาตของตนเข้าไปร่วมในแห่งวัจจมรรค (ของหญิง)
คือเธอให้เสวนจิตปรากฏขึ้นในขณะนั้น ยินดี คือยอมรับการเข้าไปแล้ว, ใน
เวลาที่เข้าไปแล้ว เธอก็ให้เสวนจิตปรากฏขึ้นทั้งยินดี คือยอมรับการหยุดอยู่,
ในเวลาที่องคชาตถึงที่ เธอก็ให้เสวนจิตปรากฏขึ้นในเวลาที่หลั่งน้ำสุกกะ ทั้ง

ยินดี คือยอมรับการถอนออก, ในเวลาที่ชักออก เธอก็ให้ปฏิเสวนจิตปรากฏ
ขึ้น; ภิกษุเมื่อยินดีในฐานะ 4 อย่าง ดังอธิบายมาแล้วนี้ ย่อมไม่ได้เพื่อจะ
พูด (แก้ตัว) ว่า อันสมณะผู้ก่อเวรทั้งหลาย ทำกรรมนี้แก่เราแล้ว, ย่อมต้อง
อาบัติปาราชิกทีเดียว. เหมือนอย่างว่า ภิกษุเมื่อยินดีฐานะทั้ง 4 เหล่านี้ ย่อม
ต้องอาบัติ ฉันใด, เธอไม่ยินดีฐานะข้อหนึ่งซึ่งเป็นข้อแรก แต่ยินดี 3 ฐานะ
อยู่ก็ดี ไม่ยินดี 2 ฐานะ แต่ยินดี 2 ฐานะอยู่ก็ดี ไม่ยินดี 3 ฐานะ แต่ยินดี
ฐานะเดียวอยู่ก็ดี ย่อมต้องอาบัติเหมือนกัน ฉันนั้น.
ส่วนภิกษุ เมื่อไม่ยินดีโดยประการทั้งปวง สำคัญขององคชาตเหมือนเข้า
ไปยังปากอสรพิษ หรือเข้าไปที่หลุมถ่านเพลิง หาต้องอาบัติไม่. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ภิกษุไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่เป็นอาบัติ.1
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงรักษาบุคคล ผู้เจริญวิปัสสนา
เห็นปานนี้ ๆ ไม่มีความห่วงใยในกายและชีวิต เล็งเห็นอายตนะทั้งปวง ดุจ
ถูกไฟ 11 อย่าง ให้ลุกโชนทั่วแล้ว ทั้งเล็งเห็นเบญจกามคุณ เป็นเหมือน
เพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้นแล้ว ฉะนั้น และเมื่อจะทรงทำการกำจัดมโนรถแห่ง
พวกที่เป็นข้าศึกของบุคคลผู้ไม่ยินดีนั้น จึงทรงนำจตุกะมีอาทิว่า ภิกษุผู้ไม่
ยินดีการเข้าไป2 นี้มาตั้งไว้ ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยจตุกกะแรก
1-2 วิ. มหา. 1/45.

กถาว่าด้วยจตุกกะ 269 ที่เหลือ


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงปฐมจตุกะอย่างนั้นแล้ว บัดนี้
เมื่อจะทรงแสดงจตุกกะแม้อย่างอื่น ด้วยอำนาจมรรคทั้ง 3 เหล่านั้น เพราะ
เหตุที่ภิกษุผู้เป็นข้าศึกนำหญิงมาแล้ว ให้นั่งทับโดยทางวัจจมรรคอย่างเดียว
เท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้ ให้นั่งทับโดยทางปัสสาวมรรคบ้าง โดยทางปากบ้าง,
และแม้เมื่อภิกษุผู้เป็นข้าศึกนำหญิงมา บางพวกนำหญิงผู้ตื่นอยู่มา บางพวก
นำหญิงผู้หลับมา บางพวกนำหญิงเมามา บางพวกนำหญิงผู้เป็นบ้ามา บาง
พวกนำหญิงผู้ประมาทมา, อธิบายว่า นำหญิงผู้ส่งใจไปในอารมณ์อื่น คือผู้
ฟุ้งซ่านมา, บางพวกนำหญิงผู้ตายแล้วที่สัตว์ยังมิได้กัดกินมา, อธิบายว่า นำ
หญิงผู้ตายซึ่งมีนิมิต อันสัตว์ทั้งหลายมีสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นยังมิได้กัดกินมา,
บางพวกนำหญิงผู้ตายแล้วที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมากมา; หญิงตายที่ชื่อว่าสัตว์
ยังมิได้กัดกินโดยมาก คือที่วัจจมรรคก็ดี ปัสสาวมรรคก็ดี ปากก็ดี อันเป็น
นิมิต มีโอกาสที่สัตว์ยังมิได้กัดกินมากกว่า; บางพวกนำหญิงผู้ตายที่สัตว์กัด
กินแล้วโดยมากมา; หญิงตายที่ชื่อว่าสัตว์กัดกินแล้วโดยมาก คืออวัยวะที่นิมิต
มีวัจจมรรคเป็นต้นถูกสัตว์กัดกินเป็นส่วนมาก ที่ยังมิได้กัดกินมีน้อย; และจะ
นำมาแต่หญิงมนุษย์อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้ นำหญิงอมนุษย์บ้าง
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียบ้างมา; ทั้งจะนำมาเฉพาะหญิงมีประการดังกล่าวแล้ว
อย่างเดียวหามิได้; นำอุภโตพยัญชนกบ้าง บัณเฑาะก์บ้าง ผู้ชายบ้างมา;
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ภิกษุผู้เป็นข้าศึกนำหญิงมนุษย์ผู้ตื่นอยู่มา.*
* วิ. มหา. 1/57.