เมนู

เหมือน. ภิกษุเมื่อเสพเมถุนธรรมสอดองคชาติของตนเข้าไปในบรรดามรรค
ที่รู้กันว่าเป็นนิมิตเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง แม้เพียงเมล็ดงาเดียว ย่อม
ต้องปาราชิก. แต่เพราะเมื่อจะต้อง ย่อมต้องด้วยเสวนจิตเท่านั้น เว้นจาก
เสวนจิตนั้นหาต้องไม่ ; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดง
ลักษณะนั้น จึงตรัสพระดำรัสว่า ภิกฺขุสฺส เสวนจิตฺตํ อุปฏฺฐิเต ดังนี้
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขุสฺส ได้แก่ ภิกษุผู้เสพเมถุน. ใน
คำว่า เสวนจิตฺตํ อุปฏฺฐิเต นี้ เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ.
อธิบายว่า เมื่อเสวนจิตปรากฏแล้ว.
หลายบทว่า วจฺจมคฺคํ องฺคชาตํ ปเวเสนฺตสฺส ความว่า เมื่อ
ภิกษุสอดองคชาต คือ ปุริสนิมิตของตนเข้าไปทางมรรคที่อุจจาระออกไปนั้น
แม้เพียงเมล็ดงาเดียว.
สองบทว่า อาปตฺติ ปาราชิกสฺส ความว่า อาบัติปาราชิกย่อมมี
แก่ภิกษุนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อาปตฺติ แปลว่า ย่อมมีการต้อง.
บทว่า ปาราชิกกสฺส ได้แก่ ธรรมคือปาราชิก. ในทุก ๆ บท ก็
นัยนี้นั้นแล.

[ภิกษุถูกผู้อื่นข่มขืนแล้วยินดีเป็นปาราชิก]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอาบัติของภิกษุผู้สอด (องคชาต
ของตน) เข้าไปด้วยเสวนจิตอย่างเดียวอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงรักษา
เหล่ากุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ไม่ยินดีแม้ในเมื่อมีการสอด
(องคชาต) เข้าไป (ในองคชาตของตน) ด้วยความพยายามของผู้อื่น เพราะ