เมนู

ทั้ง 3 มรรคใดมรรคหนึ่ง ประมาณเท่าเมล็ดงา เป็นวัตถุแห่งปาราชิก, ที่เหลือ
พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. สัตว์ที่เกิดในนา ต่างโดยประเภทมี ปลา
เต่า และกบเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย มัจฉะ ศัพท์. ใน
สัตว์ที่เกิดในน้ำแม้นั้น พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิก และเป็นวัตถุแห่ง
ทุกกฏ โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในทีฆชาตินั่นเอง. ส่วนความแปลกกัน มีดัง
ต่อไปนี้ :-
ขึ้นชื่อว่ากับเป็นสัตว์มีปากแข็ง, กบเหล่านั้น มีสัณฐานปากกว้าง
แต่มีช่องปากแคบ; ในสัณฐานปากนั้น จึงไม่เพียงพอที่จะสอดองคชาตเข้า
ไปได้, แต่สัณฐานปาก ย่อมถึงความนับว่าแผล, เพราะฉะนั้น พึงทราบมุข
สัณฐานนั้นว่า เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย.
ปักษีชาติ ต่างโดยประเภทมี กาก์และลูกนกสาลิกาเป็นต้นแม้ทั้งหมด
ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย กุกกุฏี ศัพท์. ในปักษีชาติแม้นั้น พึงทราบว่า เป็น
วัตถุแห่งปาราชิกและวัตถุแห่งทุกกฏ โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จตุปทชาติ (สัตว์มีสี่เท้า) ต่างโดยประเภทที่กระแต* พังพอน และ
เหี้ยเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย มัชชารี ศัพท์. ในจตุปทชาติ
แม้นั้นก็พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิก และเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ โดยนัย
ดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.

[ปาราชิกศัพท์เป็นไปในสิกขาบทเป็นต้น]


บทว่า ปาราชิโก แปลว่า พ่ายแพ้แล้ว คือ ถึงแล้วซึ่งความพ่ายแพ้.
จริงอยู่ ปาราชิก ศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปทั้งในสิกขาบท อาบัติและบุคคล. ใน
3 อย่างนั้น ปาราชิกศัพท์ ที่เป็นไปในสิกขาบท พึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า
* บางท่านว่า สุนัขต้นไม้, มีชุกทางอินเดียภาคเหนือ.

ดูก่อนอานนท์! มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส มีตถาคตจะพึงถอนปาราชิกสิกขาบท
ที่ได้บัญญัติไว้แล้ว เพื่อสาวกทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งพวกภิกษุชาววัชชี หรือ
พวกวัชชีบุตรเลย1.
ที่เป็นไปในอาบัติพึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า ภิกษุ! เธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว2 ที่เป็นไปในบุคคล พึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า พวกเรา
มิได้เป็นปาราชิก, ผู้ใดลัก, ผู้นั้น เป็นปาราชิก. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ปาราชิกศัพท์นี้ ยังเป็นไปในธรรมได้อีก เช่นในที่มามีคำว่า (ภิกษุ) ตามกำจัด
(ภิกษุ) ด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก ดังนี้เป็นต้น.3
แต่เพราะเหตุที่ในอาบัติและสิกขาบททั้ง 2 นั้น ในที่บางแห่งพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพระประสงค์อาบัติว่า ธรรม บางแห่งก็ทรงพระประสงค์
สิกขาบททีเดียว เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรจะกล่าวธรรมนั้นไว้อีกแผนกหนึ่ง.
บรรดาสิกขาบท อาบัติและบุคคลนั้น, สิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ปาราชิก เพราะเหตุที่ยังบุคคลผู้ละเมิดให้พ่าย, ส่วนอาบัติตรัสว่า
ปาราชิก เพราะเหตุที่ยังบุคคลผู้ต้องให้พ่าย, บุคคลตรัสว่า เป็นการปาราชิก
เพราะเหตุที่เป็นผู้พ่าย คือ ถึงความแพ้. จริงอยู่ แม้ในคัมภีร์บริวาร พระผู้มี
พระภาคเจ้า ก็หมายเฉพาะเนื้อความนี้ ตรัสว่า
อาบัติใด เราเรียกว่าปาราชิก, ท่าน
จงฟังอาบัตินั้นตามที่กล่าว, บุคคลผู้ต้อง
ปาราชิก ย่อมเป็นผู้เคลื่อน ผิด ตกไป
และเหินห่างจากสัทธรรมแล, แม้ธรรมเป็น
ที่อยู่ร่วมกันในบุคคลนั้น ย่อมไม่มี, ด้วย
เหตุนั้น อาบัตินั้น เราจึงเรียกอย่างนั้น.
4
1. วิ. มหา. 1/41. 2. วิ. มหา. 1/62. 3. วิ มหา. 1/376. 4. วิ ปริวาร. 8/368.

[อรรถาธิบายความในพระคาถา]


ก็ในปริวารคาถานี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :- บุคคลผู้ละเมิดสิกขาบท
นั้น และต้องอาบัตินั้น ย่อมเป็นผู้เคลื่อน (จากสัทธรรม), คำทั้งปวงอัน
บัณฑิตพึงประกอบอย่างนี้.
สองบทว่า เตน วุจฺจติ มีความว่า บุคคล ย่อมเป็นผู้ไม่ใช่สมณะ
ไม่ใช่เหล่ากอแห่งศากยบุตร พลัดตกไป ขาดไป คือพ่ายแพ้จากศาสนา ด้วย
เหตุใด, ด้วยเหตุนั้น บุคคลนั้น เราจึงกล่าว. ถามว่า กล่าวว่าอย่างไร ?
แก้ว่า กล่าวว่าเป็นผู้พ่าย.
ภิกษุทั้งหลาย ย่อมอยู่ร่วมกันในธรรมนี้ เหตุนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
สังวาส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สํวาโส นาม ดังนี้แล้ว จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า เอกกมฺมํ ก็เพื่อแสดงสังวาสนั้น.
ในคำว่า เอกกมฺมํ เป็นต้นนั้น มีคำอธิบายพร้อมทั้งโยชนา ดัง
ต่อไปนี้ :- สังฆกรรมทั้ง 4 อย่าง ชื่อว่า กรรมอันเดียวกัน เพราะความ
เป็นกรรมที่ภิกษุทั้งหลายผู้ปกตัตตะ กำหนดด้วยสีมา จึงพึงทำร่วมกัน. อนึ่ง
ปาฏิโมกขุทเทสทั้ง 5 อย่าง ชื่อว่าอุเทศเดียวกัน เพราะความเป็นอุเทศที่จะ
พึงสวดด้วยกัน. ส่วนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว ชื่อว่า สมสิกขาตา เพราะ
ความเป็นสิกขาที่ลัชชีบุคคลแม้ทั้งปวงจะศึกษาเท่ากัน. ลัชชีบุคคลแม้ทั้งปวง
ย่อมอยู่ร่วมกันในกรรมเป็นต้นเหล่านี้, บุคคลแม้ผู้เดียวจะปรากฏในภายนอก
จากกรรมเป็นต้นนั้นหามิได้; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงรวม
เอาสิ่งเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ตรัสว่า นี้ชื่อว่า สังวาส ในพระบาลีนี้. ก็แลสังวาส
เอาประการดังกล่าวแล้วนั้น ไม่มีกับบุคคลนั้น; เพระเหตุนั้น บุคคลผู้พ่าย
พระองค์จึงตรัสว่า ผู้หาสังวาสมิได้ ฉะนี้แล.