เมนู

อนุปัญญัติวาร


[กำหนดสัตว์ที่เป็นวัตถุแห่งปาราชิกเป็นต้น]


ในวาระแห่งอนุบัญญัติ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า อนฺตมโส แปลว่า โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดทั้งหมด.
บทว่า ติรจฺฉานคตายปิ ความว่า ในประชาสัตว์ผู้ในแล้ว (คือ
ผู้เกิดแล้ว) ในเหล่าสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยอำนาจปฏิสนธิ.
สองบทว่า ปเคว มนุสฺสิตฺถิยา ความว่า (ภิกษุเสพเมถุนธรรม)
ในหญิงผู้เป็นชาติมนุษย์ก่อนกว่า. ก็สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ซึ่งเป็นวัตถุแห่ง
ปาราชิกนั่นแล ควรถือเอาว่า สัตว์ดิรัจฉาน ในปฐมปาราชิกนี้ ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมียทั้งหมด (สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ไม่ใช่วัตถุแห่งปาราชิกทั้งหมด).
ในคำว่า สัตว์ดิรัจฉาน นั้น มีกำหนด (ประเภทสัตว์) ดังนี้
บรรดาพวกสัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ งู
และปลา, และบรรดาพวกสัตว์มีสองเท้า
ได้แก่ แม่ไก่, บรรดาพวกสัตว์มีสี่เท้า ได้แก่
แมวตัวเมีย, สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียเหล่านี้
เป็นวัตถุแห่งปาราชิก.

[อรรถาธิบายประเภทสัตว์ต่าง ๆ ]


บรรดาสัตว์มีงูเป็นต้นนั้น ทีฆชาติต่างโดยประเภท มีงูเหลือมและงู
ขว้างค้อนเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย อหิ ศัพท์. เพราะฉะนั้น
บรรดาทีฆชาติทั้งหลาย ทีฆชาติที่ภิกษุอาจสอดองคชาตเข้าไปในบรรดามรรค

ทั้ง 3 มรรคใดมรรคหนึ่ง ประมาณเท่าเมล็ดงา เป็นวัตถุแห่งปาราชิก, ที่เหลือ
พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. สัตว์ที่เกิดในนา ต่างโดยประเภทมี ปลา
เต่า และกบเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย มัจฉะ ศัพท์. ใน
สัตว์ที่เกิดในน้ำแม้นั้น พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิก และเป็นวัตถุแห่ง
ทุกกฏ โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในทีฆชาตินั่นเอง. ส่วนความแปลกกัน มีดัง
ต่อไปนี้ :-
ขึ้นชื่อว่ากับเป็นสัตว์มีปากแข็ง, กบเหล่านั้น มีสัณฐานปากกว้าง
แต่มีช่องปากแคบ; ในสัณฐานปากนั้น จึงไม่เพียงพอที่จะสอดองคชาตเข้า
ไปได้, แต่สัณฐานปาก ย่อมถึงความนับว่าแผล, เพราะฉะนั้น พึงทราบมุข
สัณฐานนั้นว่า เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย.
ปักษีชาติ ต่างโดยประเภทมี กาก์และลูกนกสาลิกาเป็นต้นแม้ทั้งหมด
ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย กุกกุฏี ศัพท์. ในปักษีชาติแม้นั้น พึงทราบว่า เป็น
วัตถุแห่งปาราชิกและวัตถุแห่งทุกกฏ โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จตุปทชาติ (สัตว์มีสี่เท้า) ต่างโดยประเภทที่กระแต* พังพอน และ
เหี้ยเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย มัชชารี ศัพท์. ในจตุปทชาติ
แม้นั้นก็พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิก และเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ โดยนัย
ดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.

[ปาราชิกศัพท์เป็นไปในสิกขาบทเป็นต้น]


บทว่า ปาราชิโก แปลว่า พ่ายแพ้แล้ว คือ ถึงแล้วซึ่งความพ่ายแพ้.
จริงอยู่ ปาราชิก ศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปทั้งในสิกขาบท อาบัติและบุคคล. ใน
3 อย่างนั้น ปาราชิกศัพท์ ที่เป็นไปในสิกขาบท พึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า
* บางท่านว่า สุนัขต้นไม้, มีชุกทางอินเดียภาคเหนือ.