เมนู

สองบทว่า วิญฺญุสฺส น สาเวติ ความว่า ไม่ประกาศแก่ผู้ฉลาด
ซึ่งสามารถจะเข้าใจได้.
หลายบทว่า สพฺพโส วา ปน ความว่า สิกขา ย่อมเป็นอันบอก
ลาแล้ว โดยปริยายใด ในบรรดาคำว่า พุทฺธํ ปจฺจจฺขามิ เป็นต้น แต่เธอ
หาได้ทำแม้ปริยายอย่างหนึ่งจากปริยายนั้น คือลั่นวาจาประกาศให้ได้ยินไม่.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงกำหนดลักษณะแห่งการไม่บอกลาไว้ ด้วยคำว่า
เอวํ โข เป็นต้น. จริงอยู่ในคำว่า เอขํ โข เป็นต้นนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า
สิกขาย่อมเป็นอันภิกษุไม่บอกลา ด้วยอาการอย่างนี้แล หามีได้ด้วยเหตุ
อย่างอื่นไม่.

[อรรถาธิบายความหมายแห่งเมถุนธรรม]


บัดนี้ เพื่อทรงแสดงใจความแห่งบทว่า เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสเวยฺย
เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้น.
ในคำว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
คำว่า เมถุนธมฺโม นาม นี้ เป็นบทอุเทศแห่งเมถุนแห่งธรรมที่ควร
อธิบาย.
ธรรมของพวกอสัตบุรุษทั้งหลาย คือคนต่ำช้า ชื่อว่า อสัทธรรม.
ธรรมเป็นที่เสพของพวกชาวบ้านชื่อว่า คามธรรม. ธรรมของพวกคนถ่อย
ชื่อวสลธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชื่อว่าถ่อยเองนั่นแล เพราะเป็นที่ไหลออก
แห่งกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วสลธรรม.
บท ทุฏฺฐุลฺลํ มีความว่า ชื่อว่าเป็นธรรมชั่ว เพราะเป็นธรรม
อันกิเลสทั้งหลายประทุษร้ายแล้ว และชื่อว่าเป็นธรรมหยาบ เพราะเป็นธรรม
ไม่ละเอียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าธรรมชั่วหยาบ.