เมนู

หลายบทว่า เตหิ อากาเรหิ เตหิ ลิงฺเคหิ เตหิ นิมิตฺเตหิ
ความว่า (ภิกษุย่อมกล่าวให้ผู้อื่นรู้) ด้วยคำไวพจน์แห่งพระรัตนตรัย มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น คือ ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า คำไวพจน์แห่ง
พระพุทธเจ้าก็ดี. จริงอยู่ คำไวพจน์ทั้งหลาย ท่านเรียกว่า อาการ เพราะ
เป็นเหตุแห่งการบอกลาสิกขา, เรียกว่า เพศ เพราะแสดงทรวดทรงแห่ง
พระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือ เพราะความเหมาะสมแก่การบอกลาสิกขานั่นเอง,
เรียกว่า นิมิต เพราะเป็นเหตุให้รู้การบอกลาสิกขา เหมือนจุดดำทั้งหลายมีมูล
แมลงวันเป็นต้น (ไฝ) ของพวกมนุษย์ฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกำหนดแน่นอนลงไปว่า เอวํ โข ภิกฺขเว
ดังนี้เป็นต้น เพราะเหตุแห่งการบอกลาสิกขาอย่างอื่น นอกจากเหตุที่กล่าว
แล้วนี้ไม่มี. จริงอยู่ ในคำว่า เอวํ โข นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ความในให้แจ้ง
ความเป็นผู้ทุรพล และการบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล เหตุอื่น
นอกจากนี้ หามีไม่.

[ลาสิกขากับคนวิกลจริตเป็นต้นไม่เป็นอันบอกลา]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงลักษณะแห่งการบอกลาสิกขาอย่าง
นี้แล้ว เพื่อความไม่เลอะเลือนในการไม่บอกลา เพื่อแสดงความวิบัติแห่ง
ลักษณะการบอกลาสิกขานั้นนั่นเอง ด้วยอำนาจแห่งบุคคลเป็นต้น จึงตรัสคำว่า
กถญฺจ ภิกฺขเว อปจฺจกฺขาตา ดังนี้เป็นต้น. ในคำว่า อปจฺจกฺขาตา
เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
คำว่า เยหิ อากาเรหิ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง.