เมนู

คนอื่นซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้รู้, สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลา. ถ้าว่า ภิกษุนั้น
เจาะจงบอกเฉพาะแม้บุคคลสองคนในที่ที่คนสองคนยืนอยู่ว่า ข้าพเจ้าบอกแก่
คนสองคนนี้ ดังนี้, บรรดาคนทั้งสองนั้น เมื่อคนหนึ่งรู้ก็ตาม รู้ทั้งสองคน
ก็ตาม สิกขา ย่อมเป็นอันบอกลา. การบอกลาสิกขาแม้ในบุคคลมากมาย
บัณฑิตก็ควรทราบดังอธิบายมาแล้วนั้น.

[ภิกษุตะโกนบอกลาสิกขาก็ได้]


อนึ่ง ถ้าว่าภิกษุผู้ถูกความไม่เพลินใจบีบคั้น ระแวงสงสัยภิกษุทั้งหลาย
ผู้คุ้นเคยกันกล่าวว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ตะโกนเสียงดังด้วยหวังว่า ใคร ๆ
จงรู้, ถ้าว่า มีคนทำงานอยู่ในป่า หรือบุรุษคนอื่นผู้รู้ลัทธิศาสนา ยืนอยู่ใน
ที่ไม่ไกล ได้ยินเสียงของภิกษุนั้น ก็เข้าใจว่า สมณะผู้กระสันรูปนี้ ปรารถนา
ความเป็นคฤหัสถ์เคลื่อนจากศาสนาแล้ว ดังนี้, สิกขาย่อมเป็นอันบอกลาแท้.
แต่ว่าในขณะนั้นนั่นเอง การบอกลาสิกขาไม่ก่อนไม่หลัง เป็นข้อที่รู้ได้ยาก.
เหมือนเหล่ามนุษย์ในโลก โดยปกติธรรมดา ฟังคำพูดแล้ว ย่อมรู้ได้ฉันใด,
ถ้าว่าคนที่ทำงานอยู่ในป่าเป็นต้นนั้น ย่อมรู้ได้โดยสมัยที่คิดนึกอยู่ไซร้, สิกขา
ก็ย่อมเป็นอันบอกลาแล้วฉันนั้น. ถ้าในกาลภายหลังเขาสงสัยอยู่ว่า ภิกษุรูปนี้
พูดอะไร ? คิดนาน ๆ จึงเข้าใจ, สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลา. จริงอยู่ การ
บอกลาสิกขานี้ด้วย อภูตาโรจนสิกขาบท ทุฏฐุลวาจสิกขาบท อัตตกามสิกขาบท
ทุฏฐโทสสิกขาบท และภูตาโรจนสิกขาบททั้งหลาย ที่จะกล่าวต่อไปด้วย มี
กำหนดความอย่างเดียวกัน ย่อมถึงที่สุด ในเมื่อผู้ฟังรู้ใจความได้ โดยสมัยที่
นึกคิดนั่นเอง. เมื่อคนฟังสงสัยอยู่ว่า ภิกษุรูปนี้ พูดอะไร? คิดนาน ๆ จึง
เข้าใจความได้, สิกขาบททั้ง 5 นั้น ยังไม่ถึงที่สุด. เหมือนอย่างว่า วินิจฉัย

นี้ท่านกล่าวไว้ในบทว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ฉันใด, ในทุก ๆ บท ก็ควร
ทราบวินิจฉัย ฉันนั้น. ก็เพราะสิกขาย่อมเป็นอันภิกษุบอกลาในกาลใด, ใน
กาลนั้น แม้ภิกษุไม่กล่าวคำเป็นต้นว่า ยนฺนูนาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ
ความเป็นผู้ทุรพล ก็ย่อมเป็นอันทำให้แจ้งแล้ว; เหตุฉะนั้น ในที่สุดแห่งบท
แม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความทำให้แจ้ง
ความเป็นผู้ทุรพล และสิกขาเป็นอันบอกลา ย่อมมีแม้ด้วยอาการอย่างนี้.
ถัดจาก 14 บทนั้นไป ในบทว่า คิหีติ มํ ธาเรหิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
ถ้าว่าภิกษุผู้กระสันนั้นกล่าวว่า
คิหี ภวิสฺสามิ ข้าพเจ้าจักเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
คิหี โมมิ ข้าพเจ้าจะเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
คิหี ชาโตมฺหิ ข้าพเจ้าเกิดเป็นคฤหัสถ์แล้ว ดังนี้ก็ดี
คิหิมฺหิ ข้าพเจ้าย่อมเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
สิกขา ย่อมเป็นอันไม่บอกลา ก็ถ้ากล่าวว่า
อชฺช ปฏฺฐาย คิหีติ มํ ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงทรงจำข้าพเจ้า
ธาเรหิ ว่าเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
อชฺช ปฏฺฐาย คิหีติ มํ ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงรู้ ข้าพเจ้าว่า
ชานาหิ เป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
อชฺช ปฏฺฐาย คิหีติ มํ ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงจำหมาย
สญฺชานาหิ ข้าพเจ้าว่าเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
อชฺช ปฏฺฐาย คิหีติ มํ ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงใฝ่ใจ ข้าพเจ้า
มนสิกโรหิ ว่าเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี หรือกล่าวโดย

โวหารของชาวอริยกะ หรือโวหารของชาวมิลักขะก็ดี เมื่อเธอกล่าวเนื้อความ
นั้นอย่างนี้แล้ว ถ้าผู้ที่ตนบอกเข้าใจ, สิกขาก็ย่อมเป็นอันบอกลา
ใน 7 บท มีว่า อุปาสโก เป็นต้นแม้ที่เหลือ ก็นัยนั่น. ก็ 8 บท
เหล่านี้ และ 14 บทเบื้องต้น จึงรวมเป็น 22 บท ฉะนี้แล. ถัดจาก 8 บท
นั้นไป ท่านกล่าวประมวล 14 บทเบื้องต้นนั่นแลเข้าด้วย 4 บทเหล่านั้น คือ
อลมฺเม, กินฺนุเม, ม มมตฺโถ, สุมุตฺตาหํ, จึงเป็น 56 บท.
พระบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลํ แปลว่า ช่างเถิด, อธิบายว่า
พอละ.
บทว่า กินฺนุเม ความว่า กิจอะไรของข้าพเจ้า ? คือกิจอะไรที่
ข้าพเจ้าควรทำ? อธิบายว่า กิจอะไร ที่ข้าพเจ้าจะพึงทำให้สำเร็จ?
บทว่า น มมตฺโถ ความว่า ข้าพเจ้าไม่มีความต้องการ.
บทว่า สุมุตฺตาหํ ตัดเป็น สุมุตฺโต อหํ แปลว่า ข้าพเจ้าพ้น
ดีแล้ว (จากพระพุทธเจ้า).
คำที่เหลือใน 56 บทนี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้วทีเดียว. ก็ 56 บท
เหล่านี้ และ 22 บทข้างต้น จึงรวมเป็น 78 บท ท่านกล่าวไว้โดยสรุป
เท่านั้น ด้วยประการอย่างนี้. ก็เพราะการบอกลาสิกขาย่อมมีได้แม้ด้วยคำเป็น
ไวพจน์แห่งบทอันเป็นเขตเหล่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส
คำว่า ยานิ วาปนญฺญนิปิ เป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยานิ วาปนญฺญานิปิ ความว่ายกเว้น
บทซึ่งมาในบาลีว่า พุทฺธํ เป็นต้นเสียแล้ว คำไวพจน์เหล่าอื่นใดเล่า ยังมี
อยู่อีก.

บทว่า พุทฺธเววจนานิ วา ได้แก่ พระนามโดยปริยายแห่งพระ-
พุทธเจ้า ฯลฯ หรือนามโดยปริยายแห่งผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร.
บรรดาพระนามที่เป็นไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น พระ-
นามตั้งพันมาแล้วในวรรณปัฏฐาน1 พระนามร้อยหนึ่งมาแล้วในอุบาลีคาถา2
และพระนามอย่างอื่นที่ได้อยู่โดยพระคุณ พึงทราบว่า เป็นไวพจน์แห่งพระ-
พุทธเจ้า. ชื่อแห่งพระธรรมแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เป็นไวพจน์แห่งพระธรรม.
ในไวพจน์แห่งพระสงฆ์เป็นต้นทั้งหมด ก็นัยนั่น.

[การบอกลาสิกขาระบุพระนามที่เป็นไวพจน์ของพระพุทธเจ้า]


ก็ในพระนามที่เป็นไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้นนี้ มีโยชนาดังต่อ
ไปนี้:-
การบอกลาด้วยคำว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วย
ไวพจน์ตามที่กล่าวเลย. การบอกลาเป็นต้นอย่างนี้ คือ:-
สมฺมาสมฺพุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า
ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง.
อนนฺตพุทฺธึ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า ผู้มี
ความตรัสรู้ไม่มีที่สุด.
อโนมพุทฺธึ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้มี
ตรัสรู้ไม่ต่ำทราม.
โพธึปฺปญฺญาณํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้มี
ความตรัสรู้เป็นเครื่องปรากฏ
1. วรรณปัฏฐาน เป็นคัมภีร์แสดงพุทธคุณฝ่ายมหาสังฆิก พวกมหายาน. 2. อุบาลีวาทสูตร
ม.ม. 13/17-8.