เมนู

สองบทว่า ตสฺมึ สิกฺขติ มีความว่า ภิกษุทำสิกขาบทนั้นให้เป็น
ที่พำนักแห่งจิตแล้ว สำเหนียกพิจารณาด้วยจิตว่า เราศึกษาสมควรแก่สิกขาบท
หรือไม่หนอ? ก็ภิกษุนี้ จะชื่อว่าศึกษาอยู่ในสิกขาบท กล่าวคือสาชีพนั้น
อย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในสิกขา ก็ชื่อว่าศึกษาด้วย.
ส่วนสองบทว่า ตสฺมึ สิกฺขติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจ
บทที่เรียงเป็นลำดับกันว่า เอตํ สาชีวนฺนาม นี้. บทว่า ตสฺมึ สิกฺขติ
นั้น พระองค์ตรัสอย่างนั้น ก็จริงแล, แต่ทว่า เนื้อความในบทว่า ตสฺมึ
สิกฺขติ
นี้ พึงเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อยังสิกขาให้บริบูรณ์ ชื่อว่า ศึกษาอยู่ใน
สิกขานั้น และเมื่อไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศึกษาอยู่ในสิกขาบทนั้น. ถึงบทว่า
เตน วุจฺจติ สาชีวสมาปนฺโน นี้ ก็ตรัสด้วยอำนาจแห่งบทว่าสาชีพ ซึ่ง
เป็นลำดับเหมือนกัน. ภิกษุนั้นแม้ถึงพร้อมซึ่งสิกขา เพราะเหตุใด, เพราะ
เหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยความประสงค์ว่า ถึงพร้อมด้วยสิกขา บ้าง. ด้วย
ว่า เมื่อมีความประสงค์อย่างนั้น บทภาชนะแห่งบทว่า สิกฺขาสาขีวสมา-
ปนฺโน
นี้ เป็นอันสมบูรณ์.

[อรรถาธิบายวิธีลาสิกขา]


หลายบทว่า สิกฺขํ อปจฺจกฺขาย ทุพฺพลฺยํ อนาวิกตฺวา มีความว่า
ไม่บอกคืนสิกขาด้วย ไม่ประกาศความเป็นผู้ทุรพลด้วย. แม้เมื่อทำให้แจ้ง
ความเป็นผู้ทุรพลแล้ว สิกขา ยังไม่เป็นอันบอกลาเลย, แต่เมื่อบอกลาสิกขา
แล้ว ความเป็นผู้ทุรพล ย่อมเป็นอันทำให้แจ้งด้วย, เพราะเหตุนั้น ด้วยบท
ว่า ทุพฺพลฺยํ อนาวิกตฺวา นี้ จึงไม่ได้เนื้อความพิเศษอะไร ๆ . ก็เหมือน
อย่างว่า ด้วยคำว่า สองคืน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พึงสำเร็จการ
นอนร่วม สองสามคืน ดังนี้ บัณฑิตก็ไม่ได้เนื้อความพิเศษอะไรๆ. คำว่า

สองคืนนี้ พระองค์ตรัสโดยความเป็นคำสละสลวยด้วยพยัญชนะ โดยความเป็น
คำติดพระโอษฐ์ ด้วยอำนาจโลกโวหารอย่างเดียว ข้อนี้ฉันใด, แม้คำว่า ไม่
ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นี้ ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสโดยความเป็นคำกล่าวสะดวก โดยความเป็นคำสละสลวยด้วยพยัญ-
ชนะ โดยความเป็นคำติดพระโอษฐ์.
อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงธรรมพร้อมทั้ง
อรรถ ทั้งพยัญชนะ, เพราะฉะนั้น จึงทรงยังอรรถให้ถึงพร้อมด้วยบทว่า
ไม่บอกคืนสิกขา นี้ ยังพยัญชนะให้ถึงพร้อมด้วยบท ไม่ทำให้แจ้งความเป็น
ผู้ทุรพล นี้. จริงอยู่ บทใจความที่กล่าวเฉพาะบทเดียว ปราศจากบทแวด
ล้อมเสียแล้ว ย่อมไม่ไพเราะ เปรียบเหมือนพระราชาผู้ปราศจากบริวาร และ
บุรุษผู้ปราศจากผ้าและอลังการ ย่อมไม่งดงาม ฉะนั้น. แต่บทใจความนั้น
ย่อมไพเราะพร้อมด้วยบทเคียง อันเป็นบทห้อมล้อม พอเหมาะแก่ใจความ.
อีกประการหนึ่ง ความทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลบางอย่าง ย่อมเป็น
ใจความแห่งการบอกลาสิกขา; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมาย
เอาความทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลบางอย่าง ซึ่งเป็นใจความได้นั้น เมื่อจะ
ทรงไขความบทว่า ไม่บอกลาสิกขา จึงตรัสว่า ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้
ทุรพล.
ในคำว่า ไม่บอกลาสิกขา ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นั้น
หากจะพึงมีคำท้วงว่า การทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลทั้งหมด ยังไม่เป็นการ
บอกลาสิกขา; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าควรตรัสบทว่า ไม่ได้ทำให้
แจ้งความเป็นผู้ทุรพล ดังนี้เสียก่อน แล้วจึงตรัสบทว่า ไม่บอกลาสิกขา เพื่อ
จำกัดใจความแห่งบทว่า ไม่ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นั้น.

เฉลยว่า ก็คำนั้น หาควรกล่าวไม่ เพราะเหตุไร ? เพราะไม่มีลำดับ
แห่งเนื้อความ. จริงอยู่ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สิกฺขาสาชีว-
สมาปนฺโน ดังนี้ เนื้อความ ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัสแล้วตามลำดับ ใน
เมื่อตรัสว่า ตนถึงพร้อมซึ่งสิกขาใด, ไม่บอกลาสิกขานั้น หาใช่โดยประการ
อื่นไม่ เพราะเหตุนั้น คำว่า สิกฺขํ อปจฺจกฺขาย นี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสก่อน
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความในสองบทว่า ไม่บอกลาสิกขา, ไม่
ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นี้ ตามสมควรแก่ลำดับบ้าง
พึงทราบอย่างไร?
พึงทราบอย่างนี้ ในบทว่า ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ นี้ ภิกษุ
ถึงพร้อมซึ่งสิกขาใด, ไม่บอกคืนสิกขานั้น และถึงพร้อมซึ่งสาชีพใด, ไม่ทำ
ให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลในสาชีพนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความแปลกกันและความ
ไม่แปลกกันแห่งการบอกลาสิกขา และความทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล และ
ลักษณะแห่งการบอกลาสิกขา จึงตรัสคำว่า อตฺถิ ภิกฺขเว เป็นอาทิ. ในคำ
นั้น 2 บทว่า อตฺถิ ภิกฺขเว เป็นต้น เป็นบทมาติกา. พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงจำแนกบทมาติกา 2 นั้น จึงตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เป็นต้น.
ในคำว่า กถญฺจ เป็นต้นนั้น มีการพรรณนาบทที่ยังไม่ชัดเจนดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กถํ ได้แก่ ด้วยอาการไร ?
บทว่า ทุพฺพลฺยาวิกมฺมญฺจ ได้แก่ ความทำให้แจ้งความเป็นผู้
ทุรพลด้วย.
บทว่า อิธ คือในศาสนานี้.

บทว่า อุกฺกณฺฐิโต ความว่า ผู้ถึงความเป็นผู้อยู่ยากในศาสนานี้
เพราะความเบื่อหน่าย. อีกประการหนึ่ง มีคำอธิบายว่า ผู้มีจิตฟุ้งซ่านไม่มี
อารมณ์แน่วแน่ ชูคออยู่ด้วยคิดว่า เราจะไปวันนี้ เราจะไปพรุ่งนี้ เราจะไป
จากนี้ เราจะไป ณ ที่นี้.
บทว่า อนภิรโต ได้แก่ ผู้ปราศจากความเพลินใจในศาสนา.
สองบทว่า สามญฺญา จวิตุกาโม ได้แก่ ผู้อยากจะหลีกออกไป
จากความเป็นสมณะ.
บทว่า ภิกฺขุภาวํ คือ ด้วยความเป็นภิกษุ. บทว่า ภิกฺขุภาวํ นี้
เป็นทุติยาวิภัตติ เป็นไปในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. ส่วนลักษณะที่สมควร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ด้วยตติยาวิภัตติทีเดียว ในคำว่า พึงสะอิดสะเอียน
ด้วยซากศพ อันคล้องไว้ที่คอ ดังนี้เป็นต้น
บทว่า อฏฺฏิยมาโน มีความว่า ประพฤติตน เหมือนระอา คือ
ถูกบีบคั้น ถึงความลำบาก. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ผู้อันความเป็นภิกษุนั้น
รบกวนอยู่ บีบคั้นอยู่.
บทว่า หรายมาโน ได้แก่ กระดากอยู่.
บทว่า ชิคุจฺฉมาโน ได้แก่ ผู้เกลียดชังความเป็นภิกษุนั้น เหมือน
เกลียดของสกปรก ฉะนั้น.
บทว่า คิหิภาวํ ปฏฺฐยมาโน เป็นต้น มีใจความชัดเจนทีเดียว.
ศัพท์ว่า ยนฺนูน ในคำว่า ยนฺนูนาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ นี้
เป็นนิบาตแสดงความรำพึง. มีคำอธิบายดังนี้ว่า หากเราพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า
เสีย, การบอกคืนพระพุทธเจ้านี้ พึงเป็นความดีของเราหนอ.
สองบทว่า วทติ วิญฺญาเปติ มีความว่า ภิกษุมีความกระสันนั้น
สั่นวาจากล่าวเนื้อความนี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ หรือเหล่าอื่น และยังบุคคล
ซึ่งตนบอกให้รู้แจ้ง คือให้เข้าใจ.

ปิ อักษรในบทว่า เอวมฺปิ นี้ มีอันประมวลเนื้อความข้างบนมาเป็น
อรรถ. การทำให้แจ้งทำความเป็นผู้ทุรพล และสิกขาไม่เป็นอันบอกลา ย่อมมี
แม้ด้วยประการอย่างนี้, การทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลและสิกขาไม่เป็นอัน
บอกลา แม้ด้วยประการอื่น ก็ยังมีอีก.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความทำให้แจ้งความเป็น
ผู้ทุรพล และการไม่บอกลาสิกขา แม้ด้วยประการอย่างอื่นนั้น จึงตรัสคำว่า
อถวา ปน เป็นอาทิ. คำนั้นทั้งหมด โดยเนื้อความชัดเจนทีเดียว. แต่พึง
ทราบวินิจฉัยโดยบทดังนี้:- ตั้งแต่ต้นไป 14 บทเหล่านี้ คือ:-
พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน พระพุทธเจ้า
ธมฺมํ " " พระธรรม
สงฺฆํ " " พระสงฆ์
สิกฺขํ " " สิกขา
วินยํ " " วินัย
ปาฏิโมกฺขํ " " ปาฏิโมกข์
อุทฺเทสํ " " อุทเทส
อุปชฺฌายํ " " พระอุปัชฌายะ
อาจริยํ " " พระอาจารย์
สทฺธิวิหาริกํ " " พระสัทธิวิหาริก
อนฺเตวาสิกํ " " พระอันเตวาสิก
สมานูปชฺฌายกํ " " พระผู้ร่วมอุปัชฌายะ
สมานาจริยกํ " " พระผู้ร่วมอาจารย์
สพฺรหฺมจารึ " " พระเพื่อนพรหมจรรย์

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในวาระว่าด้วยทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลนี้ ด้วยอาการ
คือ การบอกลา.
8 บทเหล่านี้ คือ:-
คิหี อสฺสํ ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์
อุปาสโก " ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก
อารามิโก " ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิกะ
สามเณโร " ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร
ติตฺถิโย " ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์
ติตฺถิยสาวโก " ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์
อสฺสมโณ " ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ
อสกฺยปุตฺติโย " ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอาการคือกำหนดภาวะ ด้วยบทว่า อสฺสํ นี้ แห่ง
บรรดาบททั้งหลายมีบทว่า คิหี อสฺสํ เป็นต้น.
22 บทที่ประกอบด้วยบทว่า ยนฺนูนาหํ นี้ พระองค์ตรัสแล้ว ดัง
พรรณนามาฉะนี้. เหมือนอย่างว่า 22 บท ที่ประกอบด้วยบทว่า ยนฺนูนาทิ
นี้ พระองค์ตรัสแล้วฉันใด 22 บท ที่ประกอบด้วยบทหนึ่ง ๆ ในบรรดา
บทเหล่านี้คือ:-

ยทิ ปนาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระ-
พุทธเจ้า ฯลฯ1
อถาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระ-
พุทธเจ้า ฯลฯ1
หนฺทาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระ-
พุทธเจ้า ฯลฯ1
โหติ เม พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้า
พึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ฯลฯ1
พระองค์ก็ตรัสแล้วฉันนั้น, รวมทั้งหมด จึงเป็น 110 บาท ด้วยประการฉะนี้
ต่อจากบทว่า โหติ เม เป็นต้นนั้นไป มี 17 บท มีอาทิว่า มาตรํ
สรามิ
ข้าพเจ้าระลึกถึงมารดา ซึ่งเป็นไปโดยนัยแสดงวัตถุที่ตนควรระลึกถึง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขตฺตํ ได้แก่ ไร่ข้าวสาลีเป็นต้น.
บทว่า วตฺถุ ได้แก่ สถานที่เกิดขึ้นแห่งหญ้า ใบไว้ ผักดอง และ
ผลไม้น้อยใหญ่
บทว่า สิปฺปํ ได้แก่ ศิลปะของช่างหม้อและช่างหูกเป็นต้น.
ต่อจาก 17 บทนั้นไป มี 9 บท มีอาทิว่า มาตา เม อตฺถิ,
สา มยา โปเสตพฺพา
มารดาของข้าพเจ้ามีอยู่, มารดานั้น ข้าพเจ้าต้อง
เลี้ยงดู ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแสดงความเป็นผู้กังวล และมีความเกี่ยวข้อง.
1. ที่เปยยาลไว้ทั้ง 4 แห่งนั้น ให้เติมเหมือนในบาลีวินัยปิฏก มหาวิภังค์ 1/44-45 ดังนี้
คือ :- ยทิ ปนาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยยํ, ยทิ ปนาหํ ธมฺมํ ปจฺจกฺเขยยํ จนถึง ยทิ ปนาหํ
อสกฺยปิตฺติโย อสฺสํ (22 บท) อถาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ, อถาหํ ธมฺมํ ปจฺจกฺเขยฺยํ จนถึง
อถาหํ อสกฺยปุตฺติโย อสฺสสํ (22 บท) หนฺทาหํ พุทฺธํ ปจจกฺเขยฺยํ, หนฺทาหํ ธมฺมํ
ปจฺจกฺเขยฺยํ จนถึง หนฺทาหํ อสกฺยปุตฺยิโย อสฺสํ (22 บท) โหติ เม พุทฺธํ ปจฺจกฺเขจฺยํ,
โหติ เม ธมฺมํ ปจฺจกฺเขยฺยํ จนถึง โหติ เม อสกฺยปตฺติโย อสฺสํ (22 บท).

ต่อจาก 9 บทนั้นไป มี 16 บท มีอาทิว่า มาตา เม อตฺถิ,
สา มํ โปเสสฺสติ
มารดาของข้าพเจ้ามีอยู่, มารดานั้นจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า
ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแสดงถึงบุคคลผู้เป็นที่อาศัย และผู้เป็นที่พำนัก.
ต่อจาก 16 บทนั้นไป มี 8 บท มีอาทิว่า ทุกฺกรํ พรหมจรรย์เป็น
ภาวะที่ทำได้ยาก ซึ่งเป็นไปด้วยการแสดงถึงความที่พรหมจรรย์ มีการฉัน
หนเดียวและนอนหนเดียวเป็นภาวะที่ทำได้ยาก.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ทุกฺกรํ ภิกษุกระสันนั้น ย่อมแสดง
ความที่พรหมจรรย์ทำได้ยาก เพราะทำกิจวัตรทั้งหลาย มีการฉันหนเดียว
เป็นต้น.
ด้วยบทว่า น สุกรํ ย่อมค้านความที่พรหมจรรย์เป็นภาวะที่ทำได้ง่าย.
ในสองคำว่า ทุจฺจรํ น สุจรํ นี้ พึงทราบนัยอย่างนั้น.
ด้วยบทว่า น อุสฺสหามิ ย่อมแสดงความที่ตนไม่มีความอุตสาหะ
คือ ข้อที่ตนไม่มีความสามารถ ในการทำกิจวัตรมีการฉันหนเดียวเป็นต้นนั้น.
ด้วยบทว่า น วิสหามิ ย่อมแสดงถึงข้อที่ตนไม่มีความอดทน (ใน
เพราะทำกิจวัตรมีการฉันหนเดียวเป็นต้นนั้น).
ด้วยบทว่า น รมามิ ย่อมแสดงความไม่มีแห่งความยินดี.
ด้วยบทว่า นาภิรมานิ ย่อมแสดงความไม่มีแห่งความเพลินใจ.
ก็ 50 บทเหล่านี้ และ 110 บทเบื้องต้น จึงรวมเป็น 160 บท
พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ในวาระว่าด้วยทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล
โดยนัยดังกล่าวมาแล้วนั้น. คำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เป็นต้นทั้งหมด แม้ใน
วาระว่าด้วยการบอกลาสิกขา โดยเนื้อความชัดเจนแล้วทีเดียว แต่ควรทราบ
วินิจฉัยโดยบทดังนี้:-

14 บท ที่เป็นไปกับด้วยความสัมพันธ์คำบอกลาสิกขาเหล่านี้ คือ :-
พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า
ธมฺมํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรม
สงฺฆํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์
สิกฺขํ " ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขา
วินยํ " ข้าพเจ้าบอกคืนวินัย
ปาฏิโมกฺขํ " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกข์
อุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศ
อุปชฺฌายํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระอุปัชฌายะ
อาจริยํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระอาจารย์
สทฺธิวิหาริกํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสัทธิวิหาริก
อนฺเตวาสิกํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระอันเตวาสิก
สมานูปชฺฌายกํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ
สมานาจริยกํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์
สพฺรหฺมจารึ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจรรย์
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว แม้ในวาระว่าด้วยการบอกลาสิกขานี้.
อนึ่ง คำว่า วทติ วิญฺญาเปติ ในทุก ๆ บท มีเนื้อความดังต่อ
ไปนี้ :-
ภิกษุผู้กระสันนั้น ลั่นวาจากล่าว และยังบุคคลซึ่งตนบอกให้รู้แจ้ง
คือ ประกาศให้ได้ยิน ได้แก่ให้เข้าใจ ด้วยการลั่นวาจานั้นนั่นเองว่า ภิกษุนี้
มีความประสงค์จะละศาสนา จะพ้นจากศาสนาจะละความเป็นภิกษุ จึงเปล่ง
ถ้อยคำนี้.

ก็ถ้าภิกษุนี้ มีความประสงค์จะกล่าวว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ แต่ทำ
บทกลับกันเสียแล้ว พึงกล่าวว่า ปจฺจกฺขามิ พุทฺธํ หรือพึงกล่าวเนื้อความนั้น
ด้วยบรรดาภาษาของชนชาวมิลักขะภาษาใดภาษาหนึ่ง, หรือมีความประสงค์
จะกล่าวว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ แต่พึงกล่าวโดยข้ามลำดับว่า ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ
หรือว่า สพฺรหฺม ปจฺจกฺขามิ ข้อนี้เปรียบเหมือนในวิภังค์แห่งอุตตริ-
มนุษยธรรม คือ ภิกษุผู้มีความประสงค์จะกล่าวว่า ปฐมํ ฌานํ สมาปชฺชามิ
ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน แต่กล่าวเสียว่า ทุติยํ ฌานํ สมาปชฺชามิ ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าทุติยฌาน ดังนี้ แม้ฉันใด, ถ้าภิกษุผู้กระสันนั้นจะบอกแก่ผู้ใด, ผู้นั้น
ย่อมรับรู้คำพูดแม้มีประมาณเท่านี้ว่า ภิกษุนี้มีความประสงค์จะละความเป็นภิกษุ
จึงได้กล่าวเนื้อความนี้, ขึ้นชื่อว่า การกล่าวผิดพลาด ย่อมไม่มี, การกล่าว
เช่นนั้น ก็หยั่งลงสู่เขตทีเดียว, สิกขาก็ย่อมเป็นอันบอกลาแล้ว ฉันนั้น. ภิกษุ
นั้นย่อมเป็นผู้เคลื่อนจากศาสนาทีเดียว เหมือนสัตว์ผู้เคลื่อนจากความเป็น
ท้าวสักกะ หรือจากความเป็นพรหม ฉะนั้น.
อนึ่ง ถ้าภิกษุกล่าวด้วยคำกำหนดอดีตกาล และอนาคตกาลว่า พุทฺธํ
ปจฺจกฺขึ ก็ดี พุทฺธํ ปจฺจกฺขิสฺสามิ ก็ดี พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ
ก็ดี ส่งทูต
ไปก็ดี ส่งข่าวสาสน์ไปก็ดี สลัก (เขียน) อักษรไว้ก็ดี บอกใจความนั้นด้วย
หัวแม่มือ ก็ดี สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกลา. ส่วนการอวดอุตตริมนุษยธรรม
ย่อมถึงที่สุดแม้ด้วยหัวแม่มือ. การบอกลาสิกขา ย่อมถึงที่สุด ก็ต่อเมื่อภิกษุผู้
ลั่นวาจา ซึ่งสัมปยุตด้วยจิตในสำนักของสัตว์เป็นชาติมนุษย์เท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุ เมื่อลั่นวาจาประกาศให้คนอื่นรู้ ถ้าเจาะจงบอก
เฉพาะบุคคลคนหนึ่งว่า บุคคลนี้เท่านั้นจงรู้ และบุคคลนั้นนั่นเอง รู้ความ
ประสงค์ของเธอนั้นไซร้, สิกขาย่อมเป็นอันบอกลา. ถ้าบุคคลนั้นไม่รู้, แต่


คนอื่นซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้รู้, สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลา. ถ้าว่า ภิกษุนั้น
เจาะจงบอกเฉพาะแม้บุคคลสองคนในที่ที่คนสองคนยืนอยู่ว่า ข้าพเจ้าบอกแก่
คนสองคนนี้ ดังนี้, บรรดาคนทั้งสองนั้น เมื่อคนหนึ่งรู้ก็ตาม รู้ทั้งสองคน
ก็ตาม สิกขา ย่อมเป็นอันบอกลา. การบอกลาสิกขาแม้ในบุคคลมากมาย
บัณฑิตก็ควรทราบดังอธิบายมาแล้วนั้น.

[ภิกษุตะโกนบอกลาสิกขาก็ได้]


อนึ่ง ถ้าว่าภิกษุผู้ถูกความไม่เพลินใจบีบคั้น ระแวงสงสัยภิกษุทั้งหลาย
ผู้คุ้นเคยกันกล่าวว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ตะโกนเสียงดังด้วยหวังว่า ใคร ๆ
จงรู้, ถ้าว่า มีคนทำงานอยู่ในป่า หรือบุรุษคนอื่นผู้รู้ลัทธิศาสนา ยืนอยู่ใน
ที่ไม่ไกล ได้ยินเสียงของภิกษุนั้น ก็เข้าใจว่า สมณะผู้กระสันรูปนี้ ปรารถนา
ความเป็นคฤหัสถ์เคลื่อนจากศาสนาแล้ว ดังนี้, สิกขาย่อมเป็นอันบอกลาแท้.
แต่ว่าในขณะนั้นนั่นเอง การบอกลาสิกขาไม่ก่อนไม่หลัง เป็นข้อที่รู้ได้ยาก.
เหมือนเหล่ามนุษย์ในโลก โดยปกติธรรมดา ฟังคำพูดแล้ว ย่อมรู้ได้ฉันใด,
ถ้าว่าคนที่ทำงานอยู่ในป่าเป็นต้นนั้น ย่อมรู้ได้โดยสมัยที่คิดนึกอยู่ไซร้, สิกขา
ก็ย่อมเป็นอันบอกลาแล้วฉันนั้น. ถ้าในกาลภายหลังเขาสงสัยอยู่ว่า ภิกษุรูปนี้
พูดอะไร ? คิดนาน ๆ จึงเข้าใจ, สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลา. จริงอยู่ การ
บอกลาสิกขานี้ด้วย อภูตาโรจนสิกขาบท ทุฏฐุลวาจสิกขาบท อัตตกามสิกขาบท
ทุฏฐโทสสิกขาบท และภูตาโรจนสิกขาบททั้งหลาย ที่จะกล่าวต่อไปด้วย มี
กำหนดความอย่างเดียวกัน ย่อมถึงที่สุด ในเมื่อผู้ฟังรู้ใจความได้ โดยสมัยที่
นึกคิดนั่นเอง. เมื่อคนฟังสงสัยอยู่ว่า ภิกษุรูปนี้ พูดอะไร? คิดนาน ๆ จึง
เข้าใจความได้, สิกขาบททั้ง 5 นั้น ยังไม่ถึงที่สุด. เหมือนอย่างว่า วินิจฉัย