เมนู

สองบทว่า ตสฺมึ สิกฺขติ มีความว่า ภิกษุทำสิกขาบทนั้นให้เป็น
ที่พำนักแห่งจิตแล้ว สำเหนียกพิจารณาด้วยจิตว่า เราศึกษาสมควรแก่สิกขาบท
หรือไม่หนอ? ก็ภิกษุนี้ จะชื่อว่าศึกษาอยู่ในสิกขาบท กล่าวคือสาชีพนั้น
อย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในสิกขา ก็ชื่อว่าศึกษาด้วย.
ส่วนสองบทว่า ตสฺมึ สิกฺขติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจ
บทที่เรียงเป็นลำดับกันว่า เอตํ สาชีวนฺนาม นี้. บทว่า ตสฺมึ สิกฺขติ
นั้น พระองค์ตรัสอย่างนั้น ก็จริงแล, แต่ทว่า เนื้อความในบทว่า ตสฺมึ
สิกฺขติ
นี้ พึงเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อยังสิกขาให้บริบูรณ์ ชื่อว่า ศึกษาอยู่ใน
สิกขานั้น และเมื่อไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศึกษาอยู่ในสิกขาบทนั้น. ถึงบทว่า
เตน วุจฺจติ สาชีวสมาปนฺโน นี้ ก็ตรัสด้วยอำนาจแห่งบทว่าสาชีพ ซึ่ง
เป็นลำดับเหมือนกัน. ภิกษุนั้นแม้ถึงพร้อมซึ่งสิกขา เพราะเหตุใด, เพราะ
เหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยความประสงค์ว่า ถึงพร้อมด้วยสิกขา บ้าง. ด้วย
ว่า เมื่อมีความประสงค์อย่างนั้น บทภาชนะแห่งบทว่า สิกฺขาสาขีวสมา-
ปนฺโน
นี้ เป็นอันสมบูรณ์.

[อรรถาธิบายวิธีลาสิกขา]


หลายบทว่า สิกฺขํ อปจฺจกฺขาย ทุพฺพลฺยํ อนาวิกตฺวา มีความว่า
ไม่บอกคืนสิกขาด้วย ไม่ประกาศความเป็นผู้ทุรพลด้วย. แม้เมื่อทำให้แจ้ง
ความเป็นผู้ทุรพลแล้ว สิกขา ยังไม่เป็นอันบอกลาเลย, แต่เมื่อบอกลาสิกขา
แล้ว ความเป็นผู้ทุรพล ย่อมเป็นอันทำให้แจ้งด้วย, เพราะเหตุนั้น ด้วยบท
ว่า ทุพฺพลฺยํ อนาวิกตฺวา นี้ จึงไม่ได้เนื้อความพิเศษอะไร ๆ . ก็เหมือน
อย่างว่า ด้วยคำว่า สองคืน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พึงสำเร็จการ
นอนร่วม สองสามคืน ดังนี้ บัณฑิตก็ไม่ได้เนื้อความพิเศษอะไรๆ. คำว่า