เมนู

ส่วนในบทว่า เถโร วา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- จะเป็นผู้ใด
หรือว่าเป็นผู้นั้น ในบรรดาผู้เจริญโดยวัยเป็นต้นก็ตามที, คืออธิบายว่า จะเป็น
พระเถระ เพราะมีพรรษาครบสิบ หรือว่าเป็นผู้ใหม่ เพราะมีพรรษาหย่อนห้า
หรือว่าจะเป็นผู้ปานกลาง เพราะมีพรรษาเกินกว่าห้าก็ตามที.โดยที่แท้ บุคคล
นั้นทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในอรรถนี้ว่า โย ปน.

[อรรถาธิบายความหมายแห่งภิกษุศัพท์เป็นต้น]


ในภิกขุนิเทศ มีวินิจฉัยดังนี้:- ผู้ใดย่อมขอ เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า
ผู้ขอ. อธิบายว่า จะได้ก็ตาม ไม่ได้ก็ตาม ย่อมขอด้วยวิธีขออย่างประเสริฐ.
ชื่อว่าผู้อาศัยการเที่ยวขอ เพราะเป็นผู้อาศัยการเที่ยวขอ ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้น
ทรงอาศัยแล้ว. จริงอยู่ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งละกองโภคะน้อยหรือมาก ออกจาก
เรือนบวชไม่มีเรือน, บุคคลผู้นั้น ชื่อว่าอาศัยการเที่ยวขอ เพราะละการเลี้ยง
ชีวิตโดยกสิกรรม และโครักขกรรมเป็นต้นเสีย ยอมรับถือเพศนั่นเอง เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ.
อีกอย่างหนึ่ง แม้ฉันภัตในหาบอยู่ ในท่ามกลางวิหาร ก็ชื่อว่าอาศัย
การเที่ยวขอ เพราะมีความเป็นอยู่เนื่องด้วยผู้อื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอาศัยการเที่ยวขอ เพราะเป็นผู้เกิดอุตสาหะใน
บรรพชา อาศัยโภชนะ คือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ภิกษุ.
ผู้ใดย่อมทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว เพราะทำค่าผัสสะและสีให้เสียไป
เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า ผู้ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. บรรดาการทำค่าให้เสียไป
เป็นต้นนั้น พึงทราบการทำค่าให้เสียไป เพราะตัดด้วยศัสตรา. จริงอยู่
ผืนผ้าแม้มีราคาตั้งพัน ที่เขาเอามีดตัดให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่แล้ว ย่อมมีราคา

เสียไป คือมีค่าไม่ถึงแม้ครึ่งหนึ่งจากราคาเดิม. พึงทราบการทำผัสสะให้เสียไป
เพราะเย็บด้วยด้าย. แท้จริง ผืนผ้าแม้ที่มีสัมผัสเป็นสุขที่ถูกเย็บด้วยด้ายแล้ว
ย่อมมีผัสสะเสียไป คือถึงความเป็นผู้ที่มีผัสสะแข็งหยาบ. พึงทราบการทำสี
ให้เสียไป เพราะหม่นหมองด้วยสนิมเข็มเป็นต้น. แท้จริง ผืนผ้าแม้ที่บริสุทธิ์
ดีตั้งแต่ทำการด้วยเข็มไปแล้ว ย่อมมีสีเสียไป คือย่อมละสีเดิมไป เพราะ
สนิทเข็ม และเพราะน้ำที่เป็นมลทินอันเกิดจากเหงื่อมือ และเพราะการย้อม
และทำกัปปะในที่สุด. ผู้ใดชื่อว่า ผู้ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว เพราะทรง
ผืนผ้าที่ถูกทำลายด้วยอาการ 3 อย่าง ดังอธิบายมาแล้วนั้น เหตุนั้น ผู้นั้น
ชื่อว่า ภิกษุ.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใด ชื่อว่า ผู้ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว เพราะสักว่า
ทรงผ้ากะสาวะทั้งหลาย ซึ่งไม่เหมือนกับผ้าของคฤหัสถ์ เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า
ภิกษุ.
บทว่า สมญฺญาย ความว่า โดยบัญญัติ คือโดยโวหาร. จริงอยู่
บุคคลบางคนย่อมปรากฏว่า เป็นภิกษุ โดยสมัญญาเท่านั้น. จริงอย่างนั้น
ในกิจนิมนต์เป็นต้น มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อนับจำนวนภิกษุอยู่ นับเอากระทั่ง
พวกสามเณรเข้าด้วยแล้ว พูดว่า ภิกษุจำนวนร้อยรูป, ภิกษุจำนวนพันรูป.
บทว่า ปฏิญฺญาย คือโดยความปฏิญญาของตนเอง. จริงอยู่ บุคคล
บางคน ย่อมปรากฏว่า เป็นภิกษุ แม้โดยความปฏิญญา. พึงทราบความ
ปฏิญญาว่า เป็นภิกษุ นั้น เกิดมีได้ดังในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ถามว่า
ในที่นี้ เป็นใคร? ตอบว่า คุณ! ข้าพเจ้าเอง เป็นภิกษุ. ก็ควรปฏิญญานี้
เป็นความปฏิญญาที่ชอบธรรม ซึ่งพระอานนทเถระได้กล่าวไว้แล้ว. อนึ่ง
โดยส่วนแห่งราตรี แม้พวกภิกษุผู้ทุศีล เดินสวนทางมา เมื่อถูกถามว่า ใน

ที่นี้เป็นใคร? ก็ตอบว่า พวกข้าพเจ้า เป็นภิกษุ ดังนี้ เพื่อประโยชน์แก่
ปฏิญญาที่ไม่ชอบธรรม ไม่เป็นความจริง.
บทว่า เอหิภิกฺขุ ความว่า ผู้ถึงความเป็นภิกษุ คืออุปสมบทด้วย
เอหิภิกขุ ด้วยเพียรพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างนี้ว่า เธอ จงมา
เป็นภิกษุเถิด ชื่อว่าภิกษุ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทอดพระเนตรเห็น
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เพื่อเป็นเอหิภิกษุ จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้อง
ขวา ซึ่งมีสีดุจทอง ออกจากระหว่างบังสุกุลจีวรอันมีสีแดง เปล่งพระสุรเสียง
กังวานดังเสียงพรหม ตรัสเรียกว่า เธอ จงมาเป็นภิกษุเถิด, จงประพฤติ
พรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พร้อมกับพระดำรัสของพระผู้มี
พระภาคเจ้านั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ (ของผู้เพ่งอุปสมบทนั้น) อันตรธานไป,
บรรพชาและอุปสมบทก็สำเร็จ, ผู้นั้นเป็นผู้ปลงผมนุ่งห่มผ้ากาสาวะ คือนุ่ง
(ผ้าอันตรวาสก) ผืนหนึ่ง ห่ม (ผ้าอุตราสงค์) ผืนหนึ่ง พาด (ผ้าสังฆาฏิ)
ไว้บนจะงอยบ่าผื่นหนึ่ง มีบาตรดินที่มีเหมือนดอกอุบลเขียวคล้องไว้ที่บ่าข้าง
ซ้าย. ภิกษุนั้นท่านกำหนดเฉพาะด้วยบริขาร 8 ที่สวมสอดเข้าที่ร่างกาย อัน
พระโบราณจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
บริขารเหล่านี้คือ ไตรจีวร บาตร
มีดน้อย เข็ม และผ้ารัดประคดเอว เป็น 8
ทั้งผ้ากรองน้ำ ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบ
ความเพียร

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ เหมือนพระเถระตั้งร้อยพรรษา มีพระพุทธเจ้า
เป็นพระอาจารย์ มีพระพุทธเจ้าเป็นพระอุปัชฌายะ ยืนถวายบังคมพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าอยู่ทีเดียว.

จริงอยู่ ครั้งปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้กุลบุตร
อุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทานั่นแล ในกาลชั่วระยะหนึ่ง. และภิกษุผู้
อุปสมบท ด้วยวิธีอย่างนี้ มีจำนวน 1,341 รูป. คืออย่างไร ? คือมีจำนวน
ดังนี้:- พระปัญจวัคคิยเถระ 5 ยสกุลบุตร 1 สหายผู้เป็นบริวารของท่าน
54 ภัททวัคคีย์ 30 ปุราณชฏิล 1,000 ปริพาชกรวมกับพระอัครสาวกทั้ง
สอง 250 พระอังคุลิมาลเถระ 1 (รวมเป็น 1,341 รูป) สมจริงดังคำที่
พระอรรถกถาจารย์ กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า
ภิกษุ 1,300 รูป และเหล่าอื่นอีก
40 รูป ทั้งพระเถระผู้มีปัญญาอีก 1 รูป,
ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ท่านกล่าวว่า เป็น
เอหิภิกขุ.

ภิกษุเหล่านั้น เป็นเอหิภิกขุ จำพวกเดียวก็หามิได้, แม้เหล่าอื่นก็ยัง
มีอีกมาก. คืออย่างไร? คือมีจำนวนเป็นต้นอย่างนี้ว่า เสลพราหมณ์ทั้งบริวาร
มีจำนวน 300 พระมหากัปปินทั้งบริวารมีจำนวน 1,000 กุลบุตรชาวเมือง
กบิลพัสดุ์มีจำนวน 10,000 พวกปารายนิกพราหมณ์ (พราหมณ์ผู้แสวงหาที่
พึ่งในภพข้างหน้า) มีจำนวน 16,000 (รวม 27,300 รูป) แต่ภิกษุเหล่านั้น
พระอรรถกถาจารย์มิได้กล่าวไว้ เพราะท่านพระอุบาลีเถระ มิได้แสดงไว้ใน
บาลีพระวินัยปิฎก. ภิกษุเหล่านี้ พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ ก็เพราะท่าน
พระอุบาลีเถระแสดงไว้ ในบาลีพระวินัยปิฎกนั้นแล้ว. (พระอรรถกถาจารย์
กล่าวคำไว้ในอรรถกถา) ว่า
ภิกษุทั้งหมดแม้เหล่านี้ คือ 27,000
รูป และ 300 รูป, ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด
ท่านกล่าวว่า เป็นเอหิภิกขุ.


[วิธีอุปสมบทมี 8 อย่าง]


หลายบทว่า ตีหิ สรณคมเนหิ อุปสมฺปนฺโน มีความว่า ผู้
อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ซึ่งลั่นวาจากล่าว 3 ครั้ง โดยนัยเป็นต้นว่า พุทฺธํ
สรณํ คจฺฉามิ. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า อุปสัมปทา นี้มี 8 อย่าง คือ เอหิภิกขุ
อุปสัมปทา 1 สรณคมนอุปสัมปทา 1 โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา 1 ปัญหา-
พยากรณอุปสัมปทา 1 ครุธัมมปฏิคคหณอุปสัมปทา 1 ทูเตนอุปสัมปทา 1
อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา 1 ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา 1.

[อรรถาธิบายอุปสัมปทา 8 อย่าง]


ในอุปสัมปทา 8 อย่างนั้น เอหิภิกขุอุปสัมปทา และสรณคมนอุป-
สัมปทา ข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้วแล.
ที่ชื่อว่า โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา ได้แก่อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาต
แก่พระมหากัสสปเถระ ด้วยการรับโอาวาทนี้ว่า เพราะเหตุนั้นแล กัสสป !
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอาย และความเกรงไว้ในภิกษุ
ทั้งที่เป็นผู้เฒ่า ทั้งที่เป็นผู้ใหม่ ทั้งที่เป็นผู้ปานกลาง อย่างแรงกล้า, เธอพึง
ศึกษาอย่างนี้แหละ กัสสป! เพราะเหตุนั้นแล กัสสป ! เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราจักฟังธรรมอันใดอันหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยกุศล, เราเงี่ยหูลงฟังธรรมนั้น
ทั้งหมด ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ รวบรวมไว้ทั้งหมดด้วยใจ, เธอพึงศึกษา
อย่างนี้แล กัสสป! เพราะเหตุนั้นแล กัสสป ! เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ก็สติ
ที่เป็นไปในกายของเรา ซึ่งประกอบด้วยความรำคาญ จักไม่ละเราเสีย, เธอ
พึงศึกษาอย่างนี้แล กัสสป* !
* สํ. นิทาน. 16/260. บาลีเดิมเป็น กายคตาสติ น วิชหิสฺสติ ไม่มี มํ ศัพท์.