เมนู

อรรถาธิบายสิกขาบทวิภังค์ปฐมปาราชิก


บัดนี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาเนื้อความวิภังค์แห่งสิกขาบทต่อไป. ในคำ
ว่า โย ปนาติ โย ยาทิโส เป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้:-
สองบทว่า โย ปน เป็นบทที่ควรจำแนก. บทเป็นต้นว่า โย ยาทิโส
เป็นบทจำแนกแห่งบทว่า โย ปน นั้น. ก็ในสองบทว่า โย ปน นี้ ศัพท์ว่า
ปน สักว่าเป็นนิบาต, บทว่า โย เป็นบทบอกเนื้อความ, และบทว่า โย
นั้น แสดงบุคคลโดยไม่กะตัว; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ
ทรงแสดงอรรถแห่งบทว่า โย นั้น จึงตรัสเฉพาะ โย ศัพท์ ซึ่งแสดงบุคคล
โดยไม่กะตัว. เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบทว่า โย ปน
นี้อย่างนี้.
บทว่า โย ปน มีคำอธิบายว่า โยโกจิ แปลว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง.
ก็บุคคลที่ชื่อว่า ผู้ใดผู้หนึ่งนั้น ย่อมปรากฏด้วยอาการอันหนึ่ง ในเพศ ความ
ประกอบ ชาติ ชื่อ โคตร ศีล ธรรมเครื่องอยู่ โคจร และวัย แน่แท้;
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศประเภทนั้น เพื่อให้
รู้จักบุคคลนั้น โดยอาการอย่างนั้น จึงตรัสคำว่า ยาทิโส เป็นต้น. ในคำว่า
ยาทิโส เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า ยาทิโส มีความว่า ว่าด้วยอำนาจเพศ จะเป็นบุคคลเช่นใด
หรือเช่นนั้นก็ตามที คือจะเป็นคนสูงหรือคนเตี้ย คนดำหรือคนขาว หรือคน
มีผิวเหลือง คนผอมหรือคนอ้วนก็ตามที.

บทว่า ยถายุตฺโต มีความว่า ว่าด้วยอำนาจความประกอบจะเป็น
คนประกอบด้วยการงานเช่นใดเช่นหนึ่งก็ตามที คือจะเป็นคนประกอบด้วย
นวกรรม หรือจะประกอบด้วยอุเทศ หรือจะประกอบด้วยธุระในที่อยู่ก็ตามที.
บทว่า ยถาชจฺโจ มีความว่า ว่าด้วยอำนาจชาติ จะเป็นคนมีชาติ
อย่างใดหรือเป็นคนมีชาตินั้นก็ตามที คือจะเป็นกษัตริย์ หรือเป็นพราหมณ์
หรือเป็นแพศย์ เป็นศูทรก็ตามที.
บทว่า ยถานาโม มีความว่า ว่าด้วยอำนาจชื่อ จะเป็นคนมีชื่อ
อย่างใด หรือมีชื่ออย่างนั้นก็ตามที คือชื่อว่า พุทธรักขิต หรือชื่อธรรมรักขิต
หรือชื่อสังฆรักขิตก็ตามที.
บทว่า ยถาโคตฺโต มีความว่า ว่าด้วยอำนาจโคตร จะเป็นผู้มี
โคตรอย่างใดหรือมีโคตรอย่างนั้น หรือว่าด้วยโคตรเช่นใดเช่นหนึ่งก็ตามที
คือจะเป็นกัจจานโคตร หรือวาเสฏฐโคตร หรือโกสิยโคตรก็ตามที.
บทว่า ยถาสีโล มีความว่า ในปกติทั้งหลาย จะเป็นผู้มีอย่างใด
เป็นปกติหรือว่าเป็นผู้มีอย่างนั้นเป็นปกติก็ตามที คือว่าจะเป็นผู้มีนวกรรม
เป็นปกติ หรือมีอุเทศเป็นปกติ หรือมีธุระในที่อยู่เป็นปกติ ก็ตามที.
บทว่า ยถาวิหารี มีความว่า แม้ในธรรมเครื่องอยู่ทั้งหลาย จะเป็น
ผู้มีอย่างใดเป็นเครื่องอยู่ หรือว่าเป็นผู้มีอย่างนั้นเป็นเครื่องอยู่ก็ตามที คือว่า
จะเป็นผู้มีนวกรรมเป็นเครื่องอยู่ หรือมีอุเทศเป็นเครื่องอยู่ หรือว่ามีธุระใน
ที่อยู่ เป็นเครื่องอยู่ก็ตามที.
บทว่า ยถาโคจโร มีความว่า ถึงในโคจรทั้งหลายเล่า จะเป็นผู้มี
อย่างใดเป็นโคจรหรือว่ามีอย่างนั้นเป็นโจรก็ตามที คือว่าจะเป็นผู้มีนวกรรม
เป็นโคจรหรือมีอุเทศเป็นโคจร หรือมีธุระในที่อยู่เป็นโคจรก็ตามที.

ส่วนในบทว่า เถโร วา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- จะเป็นผู้ใด
หรือว่าเป็นผู้นั้น ในบรรดาผู้เจริญโดยวัยเป็นต้นก็ตามที, คืออธิบายว่า จะเป็น
พระเถระ เพราะมีพรรษาครบสิบ หรือว่าเป็นผู้ใหม่ เพราะมีพรรษาหย่อนห้า
หรือว่าจะเป็นผู้ปานกลาง เพราะมีพรรษาเกินกว่าห้าก็ตามที.โดยที่แท้ บุคคล
นั้นทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในอรรถนี้ว่า โย ปน.

[อรรถาธิบายความหมายแห่งภิกษุศัพท์เป็นต้น]


ในภิกขุนิเทศ มีวินิจฉัยดังนี้:- ผู้ใดย่อมขอ เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า
ผู้ขอ. อธิบายว่า จะได้ก็ตาม ไม่ได้ก็ตาม ย่อมขอด้วยวิธีขออย่างประเสริฐ.
ชื่อว่าผู้อาศัยการเที่ยวขอ เพราะเป็นผู้อาศัยการเที่ยวขอ ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้น
ทรงอาศัยแล้ว. จริงอยู่ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งละกองโภคะน้อยหรือมาก ออกจาก
เรือนบวชไม่มีเรือน, บุคคลผู้นั้น ชื่อว่าอาศัยการเที่ยวขอ เพราะละการเลี้ยง
ชีวิตโดยกสิกรรม และโครักขกรรมเป็นต้นเสีย ยอมรับถือเพศนั่นเอง เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ.
อีกอย่างหนึ่ง แม้ฉันภัตในหาบอยู่ ในท่ามกลางวิหาร ก็ชื่อว่าอาศัย
การเที่ยวขอ เพราะมีความเป็นอยู่เนื่องด้วยผู้อื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอาศัยการเที่ยวขอ เพราะเป็นผู้เกิดอุตสาหะใน
บรรพชา อาศัยโภชนะ คือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ภิกษุ.
ผู้ใดย่อมทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว เพราะทำค่าผัสสะและสีให้เสียไป
เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า ผู้ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. บรรดาการทำค่าให้เสียไป
เป็นต้นนั้น พึงทราบการทำค่าให้เสียไป เพราะตัดด้วยศัสตรา. จริงอยู่
ผืนผ้าแม้มีราคาตั้งพัน ที่เขาเอามีดตัดให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่แล้ว ย่อมมีราคา