เมนู

ต้องอาบัติปาราชิก,1 เสพเมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมาก ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.2 เธอ ครั้นนำสูตรจากบทภาชนีย์มาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์
นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูติกปริจเฉท ย่อมเห็นการกำหนดติกสังฆาทิเสส
บ้าง ติกปาจิตตีย์บ้าง ติกทุกกฏบ้าง อาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง. เธอ ครั้น
นำสูตรมาจากบาลีติกปริจเฉทนั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูอันตราบัติ จะเห็นอันตราบัติ ซึ่งมีอยู่ในระหว่าง
แห่งสิกขาบทอย่างนี้ คือ ภิกษุ ยักคิ้ว ต้องอาบัติทุกกฏ. เธอ ครั้นนำสูตร
นั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูอนาบัติ จะเห็นอนาบัติที่ท่านแสดงไว้แล้วใน
สิกขาบทนั้น ๆ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ! ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่มี
ไถยจิต ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่มีความประสงค์จะอวด ไม่มีความ
ความประสงค์จะปล่อย ไม่แกล้ง ไม่รู้ เพราะไม่มีสติ. เธอ ครั้นนำสูตร
นั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
จริงอยู่ ภิกษุใด เป็นผู้ฉลาดในวินัย 4 อย่าง สมบูรณ์ด้วยลักษณะ 3
ได้ตรวจดูฐานะ 6 อย่างนี้แล้ว จักระงับอธิกรณ์ได้. การวินิจฉัย (อธิกรณ์)
ของภิกษุนั้นใคร ๆ ให้เป็นไปทัดเทียมไม่ได้ ย่อมเป็นเช่นกับวินิจฉัยที่พระ-
พุทธเจ้าประทับนั่งวินิจฉัยเสียเอง.

[วิธีวินิจฉัยอธิกรณ์]


ถ้าภิกษุบางรูป ผู้ทำการล่วงละเมิดสิกขาบทแล้ว เข้าไปหาภิกษุผู้ฉลาด
ในการวินิจฉัยนั้น อย่างนั้นแล้ว พึงถามถึงข้อรังเกียจสงสัยของตนไซร้, ภิกษุ
1-2. วิ. มหา. 1/68-8.

ผู้ฉลาดในการวินิจฉัยนั้น ควรกำหนดให้ดี ถ้าเป็นอนาบัติ, ก็ควรบอกว่า
เป็นอนาบัติ แต่ถ้าเป็นอาบัติ, ก็ควรบอกว่า เป็นอาบัติ ถ้าอาบัตินั้น
เป็นเทศนาคามินี, ก็ควรบอกว่า เป็นเทศนาคามินี ถ้าเป็นวุฏฐานคามินี,
ก็ควรบอกว่า เป็นวุฏฐานคามินี ถ้าฉายาปาราชิกปรากฏ แก่ภิกษุผู้ฉลาด
ในการวินิจฉัยนั้นไซร้,ไม่ควรบอกว่า เป็นอาบัติปาราชิก. เพราะเหตุไร?
เพราะเหตุว่า การล่วงละเมิดเมถุนธรรม และการล่วงละเมิดอุตตริมนุษยธรรม
เป็นของหยาบคาย. ส่วนการละเมิดอทินนาทานและมนุสสวิคคหะเป็นของสุขุม
มีจิตเปลี่ยนแปลงเร็ว, ภิกษุย่อมต้องวีติกกมะทั้งสองนั้นด้วยอาการสุขุมทีเดียว
(และ) ย่อมรักษาไว้ด้วยอาการสุขุม (เหมือนกัน). เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้
ถูกถามความรังเกียจสงสัย ซึ่งมีความละเมิดนั้นเป็นที่ตั้งโดยพิเศษไม่ควรพูด
ว่า ต้องอาบัติ ถ้าอาจารย์เธอยังมีชีวิตอยู่ไซร้, หลังจากนั้น ภิกษุผู้ฉลาด
ในการวินิจฉัยนั้น ควรส่งภิกษุนั้นไปว่า เธอจงถามอาจารย์ของข้าพเจ้าดูเถิด.
ถ้าเธอกลับมาอีกบอกว่า อาจารย์ของท่าน ค้นดูจากพระสูตร พระวินัยแล้ว
บอกผมว่า เป็นสเตกิจฉา (ยังพอแก้ไขได้), ในกาลนั้น ภิกษุผู้ฉลาดใน
การวินิจฉัยนั้น ควรพูดกะเธอว่า ดีละ ๆ, เธอจงทำอย่างที่อาจารย์พูด. ก็ถ้า
อาจารย์ของเธอไม่มีไซร้, แต่พระเถระผู้เล่าเรียนร่วมกัน มีตัวอยู่, พึงส่งเธอ
ไปยังสำนักของพระเถระนั้น ด้วยสั่งว่า พระเถระผู้เล่าเรียนร่วมกับข้าพเจ้า
เป็นคณปาโมกข์ มีตัวอยู่, เธอจงไปถามท่านดูเถิด. แม้เมื่อพระเถระนั้น
วินิจฉัยว่า เป็นสเตกิจฉา ก็ควรบอกกะเธอว่า ดีละ, เธอจงทำตามคำของ
พระเถระนั้นให้ดีทีเดียว. ถ้าแม้พระเถระผู้เล่าเรียนร่วมกัน ของเธอไม่มีไซร้,
มีแต่ภิกษุผู้เป็นอันเตวาสิก ซึ่งเป็นบัณฑิต, พึงส่งเธอไปยังสำนักของภิกษุ

ผู้เป็นอันเตวาสิกนั้น ด้วยสั่งว่า เธอจงไปถามภิกษุหนุ่มรูปโน้นดูเถิด. แม้เมื่อ
ภิกษุผู้เป็นอันเตวาสิกนั้น วินิจฉัย เป็นสเตกิจฉา ก็ควรพูดกะเธอว่า ดีละ,
เธอจงทำตามคำของภิกษุนั้นให้ดี. ถ้าฉายาปาราชิกนั่นแล ปรากฏแม้แก่ภิกษุ
หนุ่มไซร้, แม้อันภิกษุหนุ่มนั้น ก็ไม่ควรบอกภิกษุผู้ต้องอาบัติว่า เธอเป็น
ปาราชิก.

[ภิกษุผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์กรรมฐานย่อมไม่เจริญ]


จริงอยู่ ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า เป็นของได้ด้วยยาก, การ
บรรพชาและการอุปสมบท เป็นของได้ด้วยยากยิ่งกว่านั้น. แต่พระวินัยธร
ควรพูดอย่างนี้ว่า เธอ จงปัดกวาดโอกาสที่เงียบสงัด แล้วนั่งพักกลางวัน
ชำระศีล ให้บริสุทธิ์ จงมนสิการอาการ 32 ดูก่อน. ถ้าศีลของภิกษุนั้น
ไม่ด่างพร้อยไซร้, กรรมฐาน ย่อมสืบ, สังขารทั้งหลาย ก็เป็นของปรากฏ
ชัดขึ้น, จิตก็เป็นเอกัคคตา ดุจได้บรรลุอุปจาระและอัปปนาสมาธิ ฉะนั้น,
ถึงวันจะล่วงเลยไปแล้วก็ตาม เธอก็ไม่ทราบ. ในเวลาวันล่วงเลยไป เธอมา
สู่ที่อุปัฏฐากแล้ว ควรพูดอย่างนี้ว่า ความเป็นไปแห่งจิตของเธอ เป็นเช่นไร?
ก็เมื่อเธอบอกความเป็นไปแห่งจิตแล้ว ควรพูดกะเธอว่า ขึ้นเชื่อว่าบรรพชา
มีความบริสุทธิ์แห่งจิตเป็นประโยชน์, เธออย่าประมาท บำเพ็ญสมณธรรมเถิด.
ส่วนภิกษุใด มีศีลขาด, กรรมฐานของภิกษุนั้น ย่อมไม่สืบต่อ, จิตย่อมปั่น
ป่วน คือถูกไฟคือความเดือดร้อนแผดเผาอยู่ ดุจถูกทิ่มแทงด้วยปฏัก ฉะนั้น,
ภิกษุนั้น ย่อมลุกขึ้นในขณะนั้นทีเดียว เหมือนนั่งอยู่บนก้อนหินที่ร้อน ฉะนั้น.
เธอมาแล้วถามว่า ความเป็นไปแห่งจิตของท่าน เป็นอย่างไร" เมื่อเธอ
บอกความเป็นไปแห่งจิตแล้ว ควรพูดว่า ขึ้นชื่อว่าความลับของผู้กระทำกรรม