เมนู

หมดเปลืองไป เหมือนน้ำมันราชสีห์ที่ใส่ไว้ในภาชนะทองคำ ไม่ถึงความสิ้น
ไปฉะนั้น, บุคคลนี้ ท่านเรียกว่า ผู้ไม่ง่อนแง่น.
หลายบทว่า อาจริยปรมฺปรา โข ปนสฺส สุคฺคหิตา โหติ
ความว่า ลำดับแห่งพระเถระ คือลำดับวงศ์ เป็นลำดับที่พระวินัยธรนั้น
จำได้อย่างถูกต้อง.
บทว่า สุมนสิกตา ได้แก่ ทำให้ขึ้นใจอย่างดี แต่พอนึก ก็ปรากฏ
ได้ คล้ายประทีปที่ลุกโชน ฉะนั้น.
บทว่า สูปธาริตา ได้แก่ ใคร่ครวญโดยดี คือใคร่ครวญโดยความ
สืบเนื่องกันแห่งเบื้องต้นและเบื้องปลาย โดยผลและโดยเหตุ.

[ลำดับอาจารย์ตั้งแต่พระอุบาลีเถระเป็นต้นมา]


บุคคลละมติของตนแล้วเป็นผู้กล่าวความบริสุทธิ์แห่งอาจารย์ คือนำ
ลำดับอาจารย์ ได้แก่ระเบียบแห่งพระเถระทั้งหมดอย่างนี้ คือพระอาจารย์ของ
ข้าพเจ้าเรียนเอาในสำนักของอาจารย์ชื่อโน้น, อาจารย์นั้นเรียนเอาในสำนัก
อาจารย์ชื่อโน้น, ไปตั้งไว้จนให้ถึงคำว่า "พระอุบาลีเถระ เรียนเอาในสำนัก
ของพระพุทธเจ้า."
พระอาจารย์รูปต่อ ๆ มา ได้นำแม้จากพระอุบาลีเถระนั้นมา คือได้
นำลำดับแห่งพระอาจารย์ ได้แก่ระเบียบแห่งพระเถระทั้งหมด จนให้ถึงพระ-
อาจารย์ของตน แล้วตั้งไว้อย่างนี้ว่า "พระอุบาลีเถระเล่าเรียนมาในสำนักของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระทาสนกเถระ เล่าเรียนมาในสำนักของพระอุบาลีเถระ
ผู้เป็นอุปัชฌายะของตน, พระสิคควเถระ เล่าเรียนมาในสำนักของพระโสณก-
เถระ ผู้เป็นอุปัชฌายะของตน, พระโมคคลีบุตรติสสเถระ เล่าเรียนมาใน

สำนักของพระสิคควเถระ และพระจัณฑวัชชีเถระ ผู้เป็นอุปัชฌายะของตน."
แท้จริง ลำดับแห่งพระอาจารย์ อันพระวินัยธรเรียนเอาแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น
อันเธอจำได้อย่างถูกต้อง แต่เมื่อไม่สามารถจะเรียนเอาอย่างนั้น ก็ควรเรียน
เอาเพียง 2-3 ลำดับก็พอ. จริงอยู่ โดยนัยอย่างหลังที่สุด ควรทราบเหมือน
อย่างพระอาจารย์ และอาจารย์ของอาจารย์ กล่าวบาลีและปริปุจฉา ฉะนั้น.

[พระวินัยธรจะวินิจฉัยอธิกรณ์ควรตรวจดูฐานะ 6 อย่างก่อน]


ก็แล พระวินัยธรผู้ประกอบพร้อมด้วยลักษณะ 3 อย่างนี้แล้ว เมื่อ
สงฆ์ประชุมกันเพื่อวินิจฉัยเรื่อง และเรื่องที่หยั่งลงแล้ว ทั้งโจทก์แลจำเลยก็ให้
การแล้ว เมื่อจะพูดไม่ควรด่วนตัดสินทีเดียว ควรตรวจดูฐานะทั้ง 6 เสียก่อน.
ฐานะ 6 อย่าง เป็นไฉน? ฐานะ 6 อย่างนั้นคือ:- ควรตรวจดู
เรื่อง 1 ตรวจดูมาติกา 1 ตรวจดูบทภาชนีย์ 1 ตรวจดูติกปริจเฉท 1
ตรวจดูอันตราบัติ 1 ตรวจดูอนาบัติ 1.

[อรรถาธิบายฐานะ 6 อย่าง]


จริงอยู่ พระวินัยธร แม้เมื่อตรวจดูเรื่อง ย่อมเห็นอาบัติบางอย่าง
อย่างนี้คือ ภิกษุผู้มีจีวรหาย ควรเอาหญ้าหรือใบไม้ปกปิดจึงมา, แต่ไม่
ควรเปลือยกายมาเลย, ภิกษุใดพึงเปลือยกายมา, ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ.1
พระวินัยธรนั้น ครั้นนำสูตรนั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูมาติกา ย่อมเห็นบรรดาอาบัติ 5 กอง กองใด
กองหนึ่ง โดยนัยมีอาทิว่า "เป็นปาจิตตีย์" ในเพราะสัมปชานมุสาวาท.2"
เธอครั้นนำสูตรนั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูบทภาชนีย์ ย่อมเห็นบรรดาอาบัติ 7 กอง กอง
ใดกองหนึ่ง โดยนัยมีอาทิว่า "ภิกษุเสพเมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์ยังมิได้กัดกิน
1. วิ. มหา. 2/38. 2. วิ. มหา. 2/154.