เมนู

[วิธีสอบสวนสูตรและสุตตานุโลมเป็นต้น]


แต่กุลบุตร ผู้อ้างอัตโนมัตินั้นกล่าว ไม่ควรจะยึดถือให้แน่นแฟ้น
กล่าว ควรกำหนดเหตุเทียบเคียงบาลีกับเนื้อความ และเนื้อความกับบาลี
แล้วจึงกล่าว. อัตโนมัติ ควรสอบสวนดูในอาจริยวาท ถ้าลงกันและสมกัน
ในอาจริยวาทนั้นไซร้, จึงควรถือเอา ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา.
จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า อัตโนมัตินี้ ยังเป็นของทรามกำลังกว่าทุกอย่าง. อาจริยวาท
มีกำลังกว่าอัตโนมัติ. แม้อาจริยวาทก็ควรสอบสวนดู ในสุตตานุโลม เมื่อ
ลงกัน สมกันแท้ ในสุตตานุโลมนั้น จึงควรถือเอา, ฝ่ายที่ไม่ลงกัน ไม่สมกัน
ไม่ควรถือเอา. เพราะว่า สุตตานุโลม เป็นของมีกำลังกว่าอาจริยวาท. แม้
สุตตานุโลม ก็ควรสอบสวนดูในสูตร เมื่อลงกันสมกันแท้ ในสูตรนั้น จึง
ควรถือเอา, ฝ่ายที่ไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา. เพราะว่าสูตรเท่านั้น
เป็นของมีกำลังกว่าสุตตานุโลม. จริงอยู่ สูตรเป็นของอันใคร ๆ แต่งเทียม
ไม่ได้ เป็นเหมือนสงฆ์ผู้ทำ เป็นเหมือนกาลที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังทรง
พระชนม์อยู่. เพราะฉะนั้น เมื่อใดภิกษุสองรูป สากัจฉากัน, สกวาทีอ้าง
สูตรกล่าว, ปรวาทีอ้างสุตตานุโลมกล่าว เมื่อนั้น ทั้งสองรูปนั้น ไม่ควรทำ
การเพิดเพ้ยหรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวนสุตตานุโลมในสูตร ถ้าลงกัน
สมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ใน
สูตรเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสูตรกล่าว, ปรวาทีอ้างอาจริยวาทกล่าวไซร้, แม้
ทั้งสองรูปนั้น ก็ไม่ควรทำการเพิดเพ้ย หรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวน
อาจริยวาทในสูตร ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา. เมื่ออาจริยวาท ไม่ลงกัน
และไม่สมกัน ทั้งเป็นข้อที่น่าตำหนิ ก็ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น.

ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสูตรกล่าว, ปรวาที อ้างอัตโนมัติกล่าวไซร้, แม้
ทั้งสองรูปนั้น ก็ไม่ควรทำการเพิดเพ้ย หรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวน
อัตโนมัติในสูตร ถ้าลงกันสมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน
ไม่ควรถือเอา :- ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสุตตานุโลมกล่าว, ปรวาที อ้างสูตรกล่าวไซร้,
ควรสอบสวนสูตรในสุตตานุโลม ถ้าลงกันสมกัน ปรากฏมาในบาลีขึ้นสู่สังคีติ
ทั้ง 3 ครั้ง จึงควรถือเอา, ถ้าไม่ปรากฏเหมือนอย่างนั้น ไม่ลงกัน ไม่สมกัน
เป็นพาหิรกสูตร สิโลกโศลก หรือสูตรที่น่าตำหนิอื่น ๆ ซึ่งมาจากบรรดาสูตร
ทั้งหลาย มีคุฬหเวสสันตรคุฬหวินัย และคุฬหเวทัลละเป็นต้น อย่างใด
อย่างหนึ่ง ไม่ควรถือเอา; ควรตั้งอยู่ในสุตตานุโลมเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสุตตานุโลมกล่าว, ปรวาที อ้างอาจริยวาทกล่าวไซร้,
ควรสอบสวนอาจริยวาท ในสุตตานุโลม, ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา, ถ้า
ไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา; ควรตั้งอยู่ในสุตตานุโลมเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสุตตานุโลมกล่าว, ปรวาที อ้างอัตโนมัติกล่าวไซร้,
ควรสอบสวนอัตโนมัติ ในสุตตานุโลม ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา,
ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา ; ควรตั้งอยู่ในสุตตานุโลมเท่านั้น.
ก็ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอาจริยวาทกล่าว, ปรวาทีอ้างสูตรกล่าวไซร้, ควร
สอบสวนสูตรในอาจริยวาท ถ้าลงกันสมกัน ควรถือเอา. สูตรที่น่าตำหนิ
นอกนี้ ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอาจริยวาทเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอาจริยวาทกล่าว, ปรวาทีอ้างสุตตานุโลมกล่าวไซร้,
ควรสอบสวนสุตตานุโลมในอาจริยวาท เมื่อลงกัน สมกันแท้ จึงควรถือเอา.
นอกนี้ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอาจริยวาทเท่านั้น.

ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอาจริยวาทกล่าว, ปรวาทีอ้างอัตโนมัติกล่าวไซร้,
ควรสอบสวนอัตโนมัติในอาจริยวาท ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่
ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอาจริยวาทเท่านั้น. การถือเอา
(มติ) ของตนนั่นแล ควรทำให้มีกำลัง ( ให้มีหลักฐาน)
อนึ่ง ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอัตโนมัติกล่าว, ปรวาทีอ้างสูตรกล่าวไซร้,
ควรสอบสวนสูตรในอัตโนมัติ, ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา. สูตรที่น่าตำหนิ
นอกนี้ ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอัตโนมัติเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอัตโนมัติกล่าว, ปรวาทีอ้างสุตตานุโลมกล่าวไซร้
ควรสอบสวนสุตตานุโลนในอัตโนมัติ เมื่อลงกัน สมกันแท้ ควรถือเอา.
นอกนี้ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอัตโนมัติเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอัตโนมัติกล่าว, ปรวาทีอ้างอาจริยวาทกล่าวไซร้,
ควรสอบสวนอาจริยวาทในอัตโนมัติ ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา. อาจริยวาท
ที่น่าตำหนินอกนี้ ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอัตโนมัติเท่านั้น. การถือเอา
(มติ) ของตนนั่นแล ควรทำให้มีกำลัง (ให้มีหลักฐาน). อนึ่ง ไม่ควรทำการ
เพิดเพ้ย หรือตำหนิในที่ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ถ้าสกวาทีนี้ กล่าวอ้างว่า เป็นกัปปิยะ ปรวาทีกล่าวอ้างว่า
เป็นอกัปปิยะ ควรสอบสวนสิ่งนั้น ๆ ในสูตรและสุตตานุโลม ถ้าสิ่งนั้น
เป็นกัปปิยะ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ ถ้าสิ่งนั้น เป็นอกัปปิยะ, ก็ควร
ตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ.
ถ้าสกวาทีนี้ ชี้แจงเหตุและคำวินิจฉัยมากมายจากสูตรเป็นเครื่องสาธก
สิ่งที่เป็นกัปปิยะ แก่ฝ่ายปรวาทีนั้นไซร้, ปรวาทีไม่พบเหตุ, ก็ควรตั้งอยู่ใน
สิ่งที่เป็นกัปปิยะ.

ถ้าปรวาที ชี้แจงเหตุและคำวินิจฉัยมากมายจากสูตรเป็นเครื่องสาธก
สิ่งที่เป็นอกัปปิยะแก่ฝ่ายสกวาทีนั้นไซร้, สกวาทีนั้น ไม่ควรถือมั่นตั้งอยู่ว่า
การถือเอามติของตน (ถูกฝ่ายเดียว) ควรยอมรับว่า ดีละ แล้วตั้งอยู่ในสิ่ง
ที่เป็นอกัปปิยะเท่านั้น. ถ้าว่า เงาแห่งเหตุแม้ของทั้งสองฝ่าย ย่อมปรากฏชัด
ไซร้, ข้อที่ทั้งสองฝ่ายคัดค้านนั่นแล เป็นการดี, แต่ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็น
อกัปปิยะ. ความจริงครั้นมาถึงวินัยแล้ว อันภิกษุบริษัท ควรอาศัยการวิจารณ์
ถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรป้องกันไว้ ควรทำการยึดถือให้มั่นคง ควรตัดกระแส
เสีย, ควรตั้งอยู่ในความเป็นผู้หนักนั่นแล.
อนึ่ง ถ้าสกวาทีนี้ กล่าวอ้างว่า เป็นอกัปปิยะ, ปรวาทีกล่าวอ้างว่า
เป็นกัปปิยะ, ควรสอบสวนสิ่งนั้น ๆ ในสูตรและสุตตานุโลม ถ้าสิ่งนั้นเป็น
กัปปิยะ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ, ถ้าสิ่งนั้นเป็นอกัปปิยะ, ควรตั้งอยู่
ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ.
ถ้าสกวาทีนี้ ชี้แจงถึงสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ ด้วยสูตรคำวินิจฉัยและเหตุ
มากมายไซร้, ปรวาทีไม่ได้พบเหตุ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ.
ถ้าปรวาที ชี้แจงถึงสิ่งที่เป็นกัปปิยะ ด้วยสูตรคำวินิจฉัยและเหตุ
มากมายไซร้, สกวาทีนี้ มิได้พบเหตุ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ. ถ้าว่า
เงาแห่งเหตุ แม้ของทั้งสองฝ่ายย่อมปรากฏชัดไซร้, ไม่ควรสละการถือเอา
(มติ) ของตน. เหมือนอย่างว่า ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ และในสิ่ง
ที่เป็นอกัปปิยะและกัปปิยะ ท่านกล่าววินิจฉัยนี้ไว้แล้ว ฉันใด, ในวาทะว่า
เป็นอนาบัติและอาบัติก็ดี ในวาทะว่าเป็นอาบัติและอนาบัติก็ดี ในวาทะว่าเป็น
ลหุกาบัติและครุกาบัติก็ดี ในวาทะว่าเป็นครุกาบัติและลหุกาบัติก็ดี ก็ควรทราบ
วินิจฉัย ฉันนั้น.

จริงอยู่ ในวาทะที่ว่าเป็นอนาบัติและอาบัติเป็นต้นนี้ มีความต่างกัน
ในเพราะเหตุสักว่าชื่อเท่านั้น, ในนัยแห่งการประกอบความหามีความต่างกัน
ไม่, เพราะฉะนั้น การประกอบความ ท่านจึงไม่ทำให้พิสดาร. เมื่อเกิดคำ
วินิจฉัยถึงสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะเป็นต้นอย่างนี้แล้ว ฝ่ายใด ได้พบเหตุ
มากมาย ในสูตร สุตตานุโลม อาจริยวาท และอัตโนมัติ, ควรตั้งอยู่ในวาทะ
ของฝ่ายนั้น. อนึ่ง ทั้งสองฝ่าย เมื่อไม่ได้พบเหตุและคำวินิจฉัย โดยประการ
ทั้งปวง ไม่ควรละทิ้งสูตร ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น ฉะนี้แล. พระวินัยธร
ผู้ปรารถนาความเป็นผู้ฉลาดในสิกขาบท วิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น และวินัย
วินิจฉัยทั้งสิ้น ควรทราบวินัย 4 อย่างนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.

[พระวินัยธรประกอบด้วยลักษณะ 3 อย่าง]


ก็แล บุคคลผู้ทรงวินัย แม้ครั้นทราบวินัย 4 อย่างนี้แล้ว ก็ควร
เป็นผู้ประกอบด้วยลักษณะ 3. จริงอยู่ ลักษณะแห่งพระวินัยธร 3 อย่าง
ควรปรารถนา. ลักษณะ 3 อย่าง เป็นไฉน? ลักษณะ 3 อย่าง คือ:-
คำว่า ก็สูตรของพระวินัยธรนั้น เป็นพุทธพจน์ที่มาถูกต้องคล่องแคล่วดี
วินิจฉัยดี โดยสูตร โดยพยัญชนะ1 นี้เป็นลักษณะอันหนึ่ง. คำว่า ก็พระ-
วินัยธรนั้น เป็นผู้มั่นคง ไม่ง่อนแง่นในวินัยแล นี้เป็นลักษณะที่สอง. คำว่า
ก็ลำดับอาจารย์แล เป็นลำดับที่พระวินัยธรนั้นจำได้ถูกต้อง ทำให้ขึ้นใจไว้ดี
ใคร่ครวญถูกต้องดีแล้ว2 นี้เป็นลักษณะที่สาม.

[อรรถาธิบายลักษณะ 3 ของพระวินัยธร]


ในคำว่า สุตฺตญฺจ เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- วินัยปิฎกทั้งสิ้น
ชื่อว่าสูตร, สูตรนั้นของพระวินัยธรนั้น เป็นพุทธพจน์ที่มาถูกต้อง คือมา
ด้วยดี
1-2. นย. วิ. ปริวาร. 8/329.