เมนู

[ลิงตัวเมียแสดงของลับแก่ภิกษุอาคันตุกะ]


หลายบทว่า เยน เต ภิกฺขู เตนุปสงฺกมิ มีความว่า ธรรมดา
สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย ครั้นได้ทำความคุ้นเคยกับภิกษุรูปหนึ่งแล้ว ก็ยังความ
คิดเช่นนั้นนั่นเอง ให้เกิดขึ้น แก้ในภิกษุเหล่าอื่นด้วย เพราะฉะนั้น ลิง
ตัวเมียนั้น จึงได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น จนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ก็ได้แสดง
วิการนั้นแม้แก่ภิกษุเหล่านั้น เหมือนกับแสดงแก่ภิกษุที่ตนคุ้นเคย ฉะนั้น
บทว่า เฉปฺปํ แปลว่า หาง
บทว่า โอทฺทิสิ* แปลว่า วางไว้ตรงหน้า
สองบทว่า นิมิตฺตมฺปิ อกาสิ ความว่า ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น
ย่อมรู้ความต้องการเมถุน ด้วยความกำหนดอย่างใด ด้วยกิริยาอย่างใด ลิง
ตัวเมียนั้น ก็ได้ทำนิมิตนั้น ด้วยความกำหนดและกิริยานั้น ๆ
สองบทว่า โส ภิกฺขุ ความว่า นี้เป็นวิหาร (ที่อยู่) ขอภิกษุใด
(ภิกษุนั้น ย่อมเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้ ไม่ต้องสงสัยแล)
สองบทว่า เอกมนฺตํ นิลียึสุ ความว่า ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น
ได้แอบซ่อนอยู่ ณ โอกาสแห่งหนึ่ง
สองบทว่า สจฺจํ อาวุโส ความว่า ภิกษุรูปนั้น เพราะถูกพวก
ภิกษุอาคันตุกะเห็นกรรมที่เธอทำนั้นอย่างประจักษ์ตาทักท้วงขึ้น เหมือนจับโจร
ได้พร้อมกับของกลางฉะนั้น เมื่อไม่สามารถจะพูดคำเป็นต้นว่า ผมทำกรรมชั่ว
อะไรหรือ จึงพูดรับว่า จริง ขอรับ
หลายบทว่า นนุ อาวุโส ตเถว ตํ โหติ ความว่า คุณ แม้ใน
เพราะสัตว์เดียรัจฉานตัวเมีย สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นเหมือนในหญิงมนุษย์
* บาลี โอฑฺฑิ ได้แอ่นตะโพก.

มิใช่หรือ (คุณ เมื่อภิกษุสุทินน์เสพเมถุนธรรมในหญิงมนุษย์ สิกขาบท
ย่อมมีฉันใด เมื่อคุณเสพเมถุนธรรมแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย สิกขาบทนั้น
ก็ย่อมเป็นเหมือนกันฉันนั้น มิใช่หรือ) จริงอยู่ การมองดูก็ดี จับต้องก็ดี
ลูกคลำก็ดี แตะต้องก็ดี กระทบก็ดี แม้ซึ่งสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็น
ความชั่วหยาบเหมือนกัน ในหญิงมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียนี้ จะมี
ความแปลกกันอะไร ท่านได้อ้างเลศในฐานที่มิใช่เลศแล
หลายบทว่า อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ ปาราชิโก โหติ
อสํวาโส
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงทำสิกขาบทให้มั่นขึ้นอีกว่า
ภิกษุเสพเมถุนธรรม แม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ก็เป็นปาราชิกเหมือนกัน

[สิกขาบททั้งหมด มีโทษ 2 อย่าง]


จริงอยู่ สิกขาบทมี 2 อย่าง คือ โลกวัชชะ (มีโทษทางโลก) 1
ปัณณัตติวัชชะ มีโทษทางพระบัญญัติ) 1
บรรดาโทษ 2 อย่างนั้น สิกขาบทใด ในฝ่ายสจิตตกะ มีจิตเป็น
อกุศลล้วน ๆ สิกขาบทนั้นชื่อว่า เป็นโลกวัชชะ ที่เหลือเป็นปัณณัตติวัชชะ
บรรดาโทษ 2 อย่างนั้น อนุบัญญัติในสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะ เมื่อ
เกิดขึ้น กั้น ปิดประตู ตัดกระแส ทำให้ตึงขึ้นกว่าเดิม ย่อมเกิดขึ้น ส่วน
อนุบัญญัตินี้ว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ1 เว้นไว้แต่ฝัน2 พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ เพราะไม่มีการล่วงละเมิด และเพราะเป็นอัพโพหาริก ในสิกขาบท
ที่เป็นปัณณัตติวัชชะ เมื่อภิกษุยังไม่ได้ทำการล่วงละเมิด อนุบัญญัติ เมื่อ
เกิดขึ้นทำให้เพลาลง ปลดเปลื้องออก เปิดประตูให้ ทำไม่ให้เป็นอาบัติต่อ ๆ
1. วิ มหา. 1/172. 2. วิ.มหา. 1/224