เมนู

กายสุจริต วจีสุจริต และกุศลวิตก 3 ซึ่งผิดแผกจากนั้นนั่นแล ที่ชวนให้
เกิดความเลื่อมใส คือเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส สงบ เรียบร้อย, เพราะ
เหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นอาการให้เกิดความเลื่อมใส.

[ผู้ตั้งอยู่ในสังวรเป็นผู้ไม่สั่งสมกิเลสทั้งปวง]


อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร ตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็นไปเพื่อ
ปราศจากวัฏฏะ อันเกิดแต่ความไม่สั่งสมกิเลสทั้งปวง และเพื่อความบริบูรณ์
แห่งวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งวิริยารัมภะ 8 อย่าง,* เพราะเหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียก
ว่า "ความไม่สั่งสมและการปรารถนาความเพียร" ฉะนี้แล.
ข้อว่า ภิกฺขูนํ ตทนุจฺฉวิกํ ตทนุโลมิกํ ความว่า ทรงทำพระ-
ธรรมเทศนานอกท้องเรื่อง ซึ่งพ้นจากบาลี ไม่เนื่องด้วยสุตตันตะที่ปฏิสังยุต
ด้วยสังวรปหานะ อันสมควรและเหมาะแก่สิกขาบท ที่จักทรงบัญญัติในบัดนี้
ทั้งที่สมควรและเหมาะแก่สังวรที่ตรัสด้วยธรรมทั้งหลายมีความเป็นผู้เลี้ยงง่าย
เป็นต้น แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ประชุมกันแล้วในสถานที่นั้น.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเทียบผู้แต่งระเบียบดอกไม้ห้าสี
เปรียบผู้จัดพวงแก้ว เมื่อจะทรงคุกคามบุคคลทั้งหลาย ผู้พอใจนักในอสังวร
ประสงค์จะคัดค้าน ด้วยวัฏภัยซึ่งมีในสัมปรายภพ จะทรงแสดงโทษมีประการ
มากมาย จะทรงยังบุคคลผู้ใคร่ต่อการศึกษาอยู่ในสังวร บางพวกให้ประ-
ดิษฐานอยู่ในพระอรหันต์, บางพวกให้ตั้งอยู่ใน อนาคามิผล สกทาคามิผล
และโสดาปัตติผล, จะทรงยังบุคคลทั้งหลายแม้ผู้ปราศจากอุปนิสัยให้ประดิษฐาน
ในทางสวรรค์ จึงทรงทำธรรมเทศนา มีขนาดแห่งทีฆนิกายบ้าง มีขนาด
แห่งมัชฌิมนิกายบ้าง ในสถานทั้งหลายเช่นนี้. พระอุบาลีเถระ หมายเอาธรรม-
* องฺ. อฏฺ จก. 23/345.