เมนู

บทว่า คามธมฺมํ ได้แก่ เรื่องของชาวบ้าน , มีคำอธิบายว่า เป็น
ธรรมของพวกชนชาวบ้าน.
บทว่า วสลธมฺมํ ความว่า เป็นมรรยาทของเหล่าชนผู้เป็นคนชั้นต่ำ
เพราะอรรถว่า หลั่งออก คือปล่อยออก ซึ่งบาปธรรม ได้แก่ ของพวกบุรุษ
เลวทราม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเป็นเหตุไหลออกแห่งกิเลส ชื่อว่า วสลธรรม.
บทว่า ทุฏฺฐุลฺลํ ได้แก่เป็นของชั่ว และเป็นของหยาบ ซึ่งถูกกิเลส
ประทุษร้าย, มีคำอธิบายว่า เป็นของไม่สุขุม คือไม่ละเอียด.
บทว่า โอทกนฺติกํ ความว่า เมถุนธรรม ชื่อว่ามีน้ำเป็นที่สุด
เพราะอรรถว่า กิจเนื่องด้วยน้ำเป็นที่สุด คือ เป็นอวสานแห่งเมถุนธรรมนั้น.
ซึ่งเมถุนธรรมอันมีน้ำเป็นที่สุดนั้น.
บทว่า รหสฺสํ ได้แก่เป็นกรรมลับ คือเกิดขึ้นในโอกาสอันปิดบัง.
จริงอยู่ ธรรมนี้ ใครๆ ไม่อาจจะทำให้เปิดเผย คือไม่อาจจะทำในวิสัยที่
บุคคลเหล่าอื่นจะเห็นได้ เพราะเป็นกรรมน่าเกลียด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นกรรมลับ.
บทว่า ทฺวยทฺวยสมปตฺตึ แปลว่า อันชนสองคน ๆ พึงประพฤติ
รวมกัน บาลีว่า ทฺวยํ ทฺวยํ สมาปตฺตึ ก็มี อาจารย์บางพวกสวดกันว่า
ทยทยสมาปตฺตึ ดังนี้บ้าง. คำนั้น ไม่ดี พึงประกอบบทว่า สมาปสฺสิสฺสสิ
นั้น เข้าด้วยนามศัพท์ที่ท่านกล่าวไว้ในบทว่า ตตฺถ นาม ตฺวํ นี้ว่า
สมาปสฺสิสฺสสิ นาม (เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม).

[พระสุทินน์เป็นคนแรกในการเสพเมถุนธรรม]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมุ่งหมายเอาพระศาสนา ตรัสว่า ดูก่อน
โมฆบุรุษ! ท่านเป็นตัวอย่าง เป็นหัวหน้าแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายมากแล.