เมนู

ศัพท์ว่า ทานิ ที่มีอยู่ในคำว่า โสทานิ ตฺวํ นี้ เป็นนิบาต.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า โส ปน ตฺวํ ที่แปลว่า ก็คุณนั้น (ดูซูบผอม).
หลายบทว่า กจฺจิ โน ตฺวํ คือ กจฺจิ นุ ตฺวํ ที่แปลว่า คุณ
(จะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์) หรือหนอ?
บทว่า อนภิรโต แปลว่า ผู้มีความกระสัน, อธิบายว่า ผู้ปรารถนา
ความเป็นคฤหัสถ์.
เพราะเหตุนั้น ท่านพระสุทินน์ เมื่อจะคัดค้าน ความไม่ยินดีนั้นนั่น
แล จึงกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ! ความจริง ไม่ใช่ว่าผมจะไม่ยินดี
(ประพฤติพรหมจรรย์). อธิบายว่า ก็ผมยินดีทีเดียวในการเจริญกุศลธรรม
อันยิ่ง.
หลายบทว่า อตฺถิ เม ปาปกมฺมํ กตํ ความว่า บาปกรรมอย่างหนึ่ง
ที่ผมทำไว้ มีอยู่ คือผมได้รับอยู่ ได้แก่มีปรากฏแก่ผมอยู่เป็นนิตยกาล ดุจมี
อยู่เฉพาะหน้าฉะนั้น.
ถัดจากนั้น ท่านพระสุทินน์ เมื่อจะประกาศ (เปิดเผย) บาปกรรม
ที่ตนทำแล้วนั้น (แก่เหล่าภิกษุสหาย) จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ปุราณทุต-
ยิกาย
ดังนี้.

[พวกภิกษุสหายเห็นด้วยว่ากรรมนั้นให้เกิดความรำคาญได้]


หลายบทว่า อลํ หิ เต อาวุโส สุทนฺน กุกฺกุจฺจาย ความว่า
อาวุโส สุทินน์! บาปกรรมนั่นของคุณ พอที่ คือสามารถจะให้คุณรำคาญได้.
มีคำอธิบายว่า เป็นของสามารถจะให้เกิดความรำคาญได้.
ในคำว่า ยํ ตฺวํ เป็นต้น พึงทราบการเชื่อมความดังนี้ว่า คุณจัก
ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ เพราะความชั่วใด, ความชั่วนั้นของคุณพอ
ที่จะให้คุณรำคาญได้.

ต่อจากนั้น เหล่าภิกษุสหาย เมื่อจะพร่ำสอนพระสุทินน์นั้น จึงได้
กล่าวคำเป็นต้นว่า นนุ อาวุโส ภควตา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า นนุ เป็นนิบาต ลงในอรรถอนุมัติ
และตำหนิ.
บทว่า อเนกปริยาเยน แปลว่า โดยเหตุมิใช่อย่างเดียว.
บทว่า วิราคาย แปลว่า เพื่อคายความกำหนัด.
สองบทว่า โน สราคาย ความว่า ไม่ใช่เพื่อความกำหนัดด้วยราคะ.
อธิบายว่า จริงอยู่ ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์
แห่งการคายความกำหนัดนั่นว่า สัตว์ทั้งหลาย ได้สดับธรรมของเรานี้แล้ว
จักคายความกำหนัด คือจักไม่ยินดีในภพและโภคสมบัติทั้งปวง. ในบททั้งปวง
ก็มีนัยนั่น.
ก็คำว่า วิสํโยคาติ กิเลเสหิ วิสํยุชฺชนตฺถาย นี้ ที่มีอยู่ใน
บทว่า วิสํโยคาย เป็นต้นนี้ เป็นเพียงการกล่าวโดยนัยทางอ้อม.
บทว่า วิสํโยคาย ความว่า เพื่อปราศจากความประกอบด้วยกิเลส
ทั้งหลาย.
สองบทว่า โน สํโยคาย ความว่า ไม่ใช่เพื่อความประกอบ (ด้วย
กิเลสทั้งหลาย).
บทว่า อนุปาทานาย ความว่า เพื่อความไม่ถือมั่น.
สองบทว่า โน สอุปาทานาย ความว่า ไม่ใช่เพื่อความยึดมั่น.
หลายบทว่า ตตฺถ นาม ตฺวํ ความว่า เมื่อธรรมชื่อนั้น (อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพื่อคายความกำหนัด ) คุณ (ยังจักคิดเพื่อ
ความกำหนัดอีกหรือ?).

สองบทว่า สราคาย เจเตสฺสสิ ความว่า คุณยังจักคิด คือยังจัก
ดำริ เพื่อเมถุนธรรม อันเป็นไปอยู่ พร้อมด้วยความกำหนัดหรือ ? อธิบายว่า
คุณจักยังพยายามเพื่อต้องการเมถุนธรรมนั่นหรือ ? ในบททั้งปวง ก็มีนัยนั้น.

[อรรถาธิบายชื่อพระนิพพาน 9 บท]


บททั้ง 9 มีราควิราคะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา
พระนิพพานซึ่งเป็นโลกุตรธรรมที่ปราศจากวัฏฏะนั่นแล ตรัสไว้ซ้ำอีก. เพราะ
เหตุนั้น แม้เมื่อพระองค์ตรัสว่า ราควิราคาย ก็ดี มหนิมฺมทนาย ก็ดี
บัณฑิตพึงเห็นใจความอย่างนี้เท่านั้นว่า "เพื่อประโยชน์แก่พระนิพพาน".
จริงอยู่ พระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า "ธรรมเป็นที่
สำรอกราคะ" เพราะเหตุว่าราคะมาถึง คือปรารภ สืบต่ออาศัยพระนิพพาน
นั้นแล้ว ย่อมปราศไป คือไม่มี.
อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่า ธรรมเป็นที่สร่างเมา เพราะเหตุว่า
ความเมาทั้งหลาย มีความเมาด้วยอำนาจมานะ และความเมาในบุรุษเป็นต้น
มาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อมเป็นอันสร่างไปไม่เป็นความเมา คือสาบสูญไป.
อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่า ธรรมเป็นที่คลายความกระหาย
เพราะเหตุว่า ความกระหายในกามแม้ทั้งปวง มาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อม
ถึงความคลายไป คือความพลัดตกไป.
อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่า ธรรมเป็นที่เพิกถอนอาลัย เพราะ
เหตุว่า อาลัยคือเบญจกามคุณ มาถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมถึงความเพิกถอนไป.
เพราะเหตุว่า วัฏฏะมี 3 ภูมิ มาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อมขาดเด็ดไป.